มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
จังหวัดนครปฐม จัดงานทับแก้ววิชาการ ครั้งที่ 3 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ 70 ปี
9 มิถุนายน 2559
เมื่อ 29 สิงหาคม 2559 ที่บริเวณลานอเนกประสงค์ สำนักหอสมุดกลาง
มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
นายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานเปิดงาน “ทับแก้ววิชาการ ครั้งที่ 3” Silpakorn Next Step โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 - 31 สิงหาคม 2559 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ 70 ปี
9 มิถุนายน 2559 อีกทั้งเพื่อแสดงศักยภาพและอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
โดยกิจกรรมภายในงานมีการแสดงศักยภาพของแต่ละคณะวิชา กิจกรรมเวทีกลางอีกหลายรายการ
อาทิ การเสวนาแนะนำการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา “สายวิทย์ฯพิชิตฝัน” “สายศิลป์อินไซต์” พร้อมทั้งบริการรถไฟฟ้า “SMO
Silpakorn on the way” นำชมเส้นทางทับแก้ว
รวมทั้งยังมีรถศูนย์ข้อมูลดนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ 70 ปี
จากคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย
การแสดงจากชมรมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร
นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค
และศูนย์อาหารเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มาร่วมงานอีกด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
กล่าวว่า มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นสถาบันอุดมศึกษา
ที่รับใช้สังคมด้วยปณิธานที่มุ่งมั่น“สร้างสรรค์ศิลปะวิทยาการ และภูมิปัญญา เพื่อสังคม” โดยมีวิสัยทัศน์ว่า“มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งการสร้างสรรค์” ด้วยการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีความโดดเด่น
ด้วยความเป็นรากเหง้าแห่งศิลปะ ที่รวบรวมองคาพยพทางด้านศิลปะ
และการออกแบบที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งการพัฒนาองค์ความรู้โดยการประยุกต์ศาสตร์
และศิลป์เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ก่อเกิดคุณค่าวิชาการความรู้ใหม่อย่างมากมาย
ด้วยความเป็นเอกภาพที่อยู่บนความหลากหลายของคณะวิชา ที่มีผลงานอย่างมากมาย
จนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งด้านการเรียนการสอน ตลอดจนด้านการวิจัย
ซึ่งมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีคุณธรรม
และทักษะที่ทันยุค ทันสมัย คงดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ความเป็นไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างบัณฑิต ที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ให้เหมาะสม
เข้ากับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสังคม และสิ่งแวดล้อม
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น