เมื่อ
10 ม.ค. 59
นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า
ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือสั่งการให้จังหวัดเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในช่วงเดือนมกราคม
- เมษายน
โดยเฉพาะในพื้นที่ 65 จังหวัด เน้นหนัก 9
จังหวัดในภาคเหนือที่มักเกิดปัญหาวิกฤติหมอกควันไฟป่าทุกปี ได้แก่
เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ พะเยาแม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง และตาก
ซึ่งภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่แอ่งกระทะ
โดยสาเหตุของปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการเผาวัชพืชและวัสดุการเกษตร
เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกหรือการเผาเพื่อประกอบอาชีพ การเผาวัชพืชริมทาง ไฟป่า
และการเผาในชุมชน
ดังนั้น
เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน
กระทรวงมหาดไทย จึงได้กำหนดแนวทางให้จังหวัดใช้กลไก
"ประชารัฐ" ในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
และนายอำเภอ ทำหน้าที่บูรณาการความร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งฝ่ายพลเรือน หน่วยทหารในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำรวจตระเวนชายแดน
และภาคเอกชน
อาทิ องค์กรมูลนิธิ สมาคมที่สนับสนุนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม NGO ด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท ห้างร้านเอกชนในพื้นที่
ที่มีความประสงค์จะช่วยเหลือสังคม
และภาคประชาชนในพื้นที่
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ชรบ. อาสาสมัครป้องกันไฟป่า
โดยมีการทำงานในรูปแบบ "ทีมประชารัฐ"
ให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เริ่มตั้งแต่การแบ่งหน้าที่
และพื้นที่รับผิดชอบ ตามข้อตกลงร่วมกัน การเฝ้าระวัง
ลาดตระเวนในแต่ละพื้นที่รับผิดชอบ ประสานระดมกำลังคน
บูรณาการเครื่องมืออุปกรณ์ในการเฝ้าระวัง ควบคุม
และระงับการเผาป่าหรือวัสดุการเกษตรอื่นๆ รวมทั้งดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผล
กระทบจากหมอกควันแก่ประชาชนในพื้นที่
และเร่งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบจากปัญหาหมอกควันที่เกิดจากการเผาป่าและวัสดุการเกษตรอื่นเพื่อสร้างจิตสำนึกร่วมกันในการป้องกันปัญหา
โดยจะแบ่งพื้นที่รับผิดชอบที่ชัดเจน ภายใต้การบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันทุกภาคส่วน
ดังนี้
1. ในพื้นที่เกษตรกรรม มีกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก
ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเน้นสร้างความตระหนัก
การรับรู้
การมีส่วนร่วมในการควบคุมการเผาวัสดุการเกษตรในพื้นที่โดยรณรงค์ให้มีการไถกลบตอซังและใช้สารย่อยสลายแทนการเผา
ใช้กลไกของมหาดไทยในการเฝ้าระวังป้องกันการเผา
และรณรงค์ให้ผู้นำท้องที่สร้างกติกาขึ้นมาเพื่อควบคุมกันเองในหมู่บ้าน/ตำบล เช่น
ประกาศเขตห้ามเผา 90 วัน เป็นต้น
2. ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติ
มีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลัก กระทรวงมหาดไทย
ตำรวจตระเวนชายแดน หน่วยงานทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนภาคประชาชน
ร่วมสนับสนุน
เน้นการป้องกันควบคุมไฟป่าโดยจัดทำแนวป้องกันไฟและจัดกำลังลาดตระเวนในพื้นที่ป่า
และบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดโดยเคร่งครัด
และ 3. ในพื้นที่ริมทางหลวง
มีกระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานหลักและกระทรวงมหาดไทยตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสนับสนุน
เน้นการรณรงค์ขอความร่วมมือและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดในพื้นที่และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบถึงกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามเผาในพื้นที่เขตทางหลวง
และจัดกำลังอาสาสมัครประชาชน ร่วมกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลาดตระเวนเฝ้าระวังการเผา
ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า
ปัญหาหมอกควันถือเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและการใช้ชีวิตของพี่น้องประชาชนเป็นวงกว้าง
อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความเสียหายต่อการเดินทาง
และการท่องเที่ยวทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียรายได้อย่างมหาศาล ดังนั้น
จึงได้กำชับให้จังหวัดเร่งดำเนินการตามแผนและมาตรการต่างๆในการแก้ไขปัญหาหมอกควันที่วางไว้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันของทุกหน่วยงาน
เน้นการป้องกันปัญหาเชิงรุก และการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว
เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
พร้อมติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่อย่างใกล้ชิด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น