เมื่อ 16
ม.ค.59 นายชยพล ธิติศักดิ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะโฆษกกระทรวงมหาดไทย
เปิดเผยว่า ขณะนี้การดำเนิ นงานโครงการตามมาตรการส่งเสริ มความเป็นอยู่ระดับตำบล
(ตำบลละ 5 ล้านบาท) ได้มีการกระจายเม็ดเงินลงพื้นที ่ โดยจังหวัดได้เสนอขอรับการจั ดสรรงบประมาณจากสำนักจั ดทำงบประมาณเขตพื้นที่
1-18 แล้ว จำนวน 129,246 โครงการ
ได้รับการอนุมัติงบประมาณแล้ว จำนวน 110,962 โครงการ
คิดเป็นร้อยละ 85.85 เป็นเงินงบประมาณ 33,253.515 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 91.67 และได้มีการเบิกจ่ายแล้ว 632.084 ล้านบาท
และก่อหนี้ผูกพันแล้ว 1,232.341 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.83
(ข้อมูล ณ วันที่ 11 ม.ค. 59)
โดยการดำเนิ นงานโครงการตามมาตรการฯ
ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ เกิดการลงทุน การจ้างงาน
หรือก่อให้เกิดการจัดซื้อจัดจ้ างสินค้าและบริการในจังหวัด เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มี รายได้น้อยในต่างจังหวัดที่ได้ รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ
และราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยมาตรการดังกล่าวจะช่วยให้เกิ ดการจ้างงาน
การบริโภคและการลงทุ นในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ซึ่งรูปแบบการเสนอโครงการเป็ นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
และเป็นโครงการตามความต้ องการของหมู่บ้าน/ชุมชน โดยผ่านการพิ จารณาจากคณะกรรมการหมู่บ้าน
(กม.) และผ่านการพิจารณากลั่ นกรองโครงการจากคณะกรรมการระดั บอำเภอและระดับจังหวัดแล้ว
เพื่อขออนุมัติจากสำนักจั ดทำงบประมาณเขตพื้นที่ 1-18
รวมทั้งมีการตรวจสอบจากหน่ วยงานภายในและภายนอก เช่น สำนักการตรวจเงินแผ่นดิน
(สตง.) และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกั นและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
เป็นต้น ทั้งนี้สามารถจำแนกลั กษณะการดำเนินงานโครงการได้ดั งนี้
1.พัฒนาสิ่งแวดล้อม จำนวน 6,649 โครงการ (ร้อยละ 2.89)
2.ต่อยอดโครงการพระราชดำริ จำนวน 12,695 โครงการ (ร้อยละ
5.55) 3.ปรับปรุงแหล่งน้ำ จำนวน 32,005 โครงการ (ร้อยละ 13.93)
4.ถนน/โครงสร้างพื้นฐาน จำนวน 32,102 โครงการ (ร้อยละ 13.98)
5.การจ้างงาน/อาชีพ จำนวน 41,547 โครงการ (ร้อยละ 18.09)
6.ซ่อมแซม/บูรณะทรัพย์สิน จำนวน 45,591 โครงการ (ร้อยละ
19.85) และ 7.สร้างความเข้มแข็งหมู่บ้าน/ชุ มชน จำนวน 59,045 โครงการ (ร้อยละ 25.71)
สำหรับความคืบหน้าของการดำเนิ นงานตามมาตรการดังกล่าว
โครงการที่ได้รับอนุมัติจากสำนั กจัดทำงบประมาณเขตพื้นที่แล้ว
จะต้องดำเนินการตามระเบี ยบทางราชการ โดยเข้าสู่กระบวนการจัดหาตัวผู้ รับจ้าง
ทั้งนี้ถ้าเป็นโครงการที่มี วงเงินต่ำกว่า 5 แสนบาท จะใช้เวลาในการซื้อหรือจ้างด้ วยวิธีตกลงราคาประมาณ
10 วัน และใช้เวลาดำเนินโครงการประมาณ 20-40 วัน หากมีวงเงินมากกว่า 5 แสน
แต่ไม่เกิน 2 ล้านบาท จะใช้เวลาในการซื้อหรือจ้ างโดยวิธีสอบราคา/ ประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์/e- bidding/e-marketประมาณ 30 วัน และถ้าเป็นโครงการที่มีวงเงิ นเกินกว่า 2 ล้านบาท
จะใช้เวลาในการประกวดราคาทางอิ เล็กทรอนิกส์/e-bidding/e- market ประมาณ 40 วัน
และเมื่อได้ผู้รับจ้างแล้วก็ จะต้องใช้เวลาดำเนินการอี กระยะหนึ่ง
จึงจะเบิกจ่ายเงินได้
โฆษกกระทรวงมหาดไทย
กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจข้อมูล โดยกรมการปกครอง
ปรากฏว่ามีจำนวนโครงการที่มี วงเงินต่ำกว่า 5 แสนบาท ประมาณร้อยละ 90
ของโครงการทั้งหมด ซึ่งได้ดำเนินการโครงการเสร็ จแล้วอยู่ระหว่างการเบิกจ่าย
ซึ่งพบว่าระบบการเบิกจ่ายเป็นปั ญหาที่ทำให้ผลการเบิกจ่ายล่าช้ านั้น
กระทรวงมหาดไทยและกรมบัญชี กลางได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิ ดขึ้น
เพื่อทำให้งานตามนโยบายของรั ฐบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้ อยและมีประสิทธิภาพ
คาดว่าในสัปดาห์ต่อไปผลการเบิ กจ่ายจะสูงมากยิ่งขึ้น
และเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้เร่งรัดดำเนิ นการโครงการตามมาตรการดังกล่าว
และพร้อมดูแลให้เกิดความโปร่ งใสในทุกโครงการ และได้เน้นย้ำให้ทุกจังหวัดเร่ งขับเคลื่อนงานในพื้นที่ให้เห็ นผลอย่างเป็นรูปธรรม
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น