เมื่อ 11 ม.ค.59 เวลา 13.00
น. ณ ห้องจูปิเตอร์ ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิล
แกรนด์ คอนเวนชั่นกรุงเทพมหานคร นายกฤษฎา บุญราช
ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานการสัมมนาเพื่อรายงานสรุปผลการประเมินระดับการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยจัดขึ้น
เพื่อทบทวนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
และขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมฯ ประกอบด้วย อธิบดีทุกกรม
หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด
รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าสำนักงานจังหวัดทุกจังหวัด ทั้งนี้
ได้มีการถ่ายทอดสดการประชุมฯ ผ่านระบบ Video conference ไปยังทุกจังหวัดด้วย
โอกาสนี้
ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้ให้ข้อแนะนำวิธีบริหารงานในพื้นที่ตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาลให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ดังนี้
1.
เรื่องระบบการทำงานของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีภารกิจสำคัญ 3 ภารกิจ คือ 1) งานตามนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(Agenda) 2) งานตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยรวมทั้งงานในฐานะหัวหน้าส่วนราชการภูมิภาคที่ต้องกำกับดูแลหน่วยงานส่วนภูมิภาคในจังหวัด
(Function)
3) งานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในระดับพื้นที่ (Area)โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรและคนยากจนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง
ภายใต้มาตรการต่าง ๆ
ซึ่งสิ่งสำคัญ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ จะต้องทราบและ
เข้าใจยุทธศาสตร์ของรัฐบาลทั้ง 6 ด้าน
และสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่
และถ่ายทอดภารกิจลงไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม
2. วิธีการนำยุทธศาสตร์ของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ หากจังหวัดมีงบประมาณไม่เพียงพอ
ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้นำกลไก "ประชารัฐ " มาใช้ในการบริหารจัดการ
เพื่อลดภาระของทางราชการ สร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และภาคประชาชน
3.
การรวมกลุ่ม "ประชารัฐ" สามารถทำได้ทั้ง 3 แบบ คือ แบบทางการ กึ่งทางการ และไม่เป็นทางการ เพื่อให้เข้าถึงประชาชนมากที่สุด
ขอให้เร่งสร้างการรับรู้ สร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน -
ประชาชนให้เข้ามาร่วมสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ
และให้ใช้ความเป็นผู้นำของผู้ว่าราชการจังหวัดในการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนด้วยความรวดเร็ว
ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชน
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
บูรณาการการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามสภาพปัญหาแต่ละเรื่อง
โดยพิจารณาว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานใด เพื่ออำนวยการ
สั่งการแก้ไขปัญหาให้ได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์
สำหรับการเผชิญและแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนมีเรื่องสำคัญที่ได้มอบแนวทางการปฏิบัติงานในพื้นที่
ดังนี้
1. การบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับปัญหาภัยแล้ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องทราบข้อมูลแหล่งน้ำและปริมาณน้ำในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยให้บูรณาการการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมทุกหน่วยงาน
2. การกำจัดผักตบชวา
ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพหลักในการกำจัดผักตบชวาอย่างเป็นระบบ
จึงขอให้จังหวัดเร่งรัดดำเนินการให้เต็มที่ โดยบูรณาการการปฏิบัติ
ร่วมกับฝ่ายทหารในพื้นที่ และให้นำแนวทางการกำจัดผักตบชวาของจังหวัดนครนายก
มาใช้ประกอบการดำเนินงาน
3.
การเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในช่วงเดือนมกราคม
- เมษายน ในพื้นที่ 65 จังหวัด โดยเฉพาะ 9
จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือให้นำกลไก "ประชารัฐ"
มาใช้ในการแก้ไขปัญหา และสร้างความตระหนักถึงปัญหาให้กับประชาชน
สุดท้าย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ำ
เรื่องการขยายผลโครงการพระราชดำริในพื้นที่ให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม
ซึ่งขณะนี้กระทรวงมหาดไทยได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการขับเคลื่อนงานโครงการพระราชดำริทั้งในส่วนกลางและระดับจังหวัด
จึงขอเน้นย้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นกลไกหลักในการบูรณาการ
ทุกภาคส่วนในพื้นที่ กำกับดูแลการขับเคลื่อนงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นรูปธรรม
โดยน้อมนำและประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาจังหวัด
กลุ่มจังหวัดให้เป็นไปอย่างสมดุลและเกิดความยั่งยืน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น