ในโอกาสนี้ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มอบนโยบาย 7 ประเด็นสำคัญ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่
ดังนี้ 1. การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยเน้นย้ำถึงบทบาทของข้าราชการฝ่ายปกครองที่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและวางตัวเป็นกลางไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย หากเกิดความขัดแย้งต้องสามารถไกล่เกลี่ยและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายได้
รวมทั้งต้องชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจถึงปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นที่จะส่งผลเสียต่อประเทศชาติ 2. การให้บริการของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ ซึ่งได้มีการพัฒนางานบริการมาอย่างต่อเนื่อง
เช่น การเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นๆ
การนำระบบApplication และเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้
ในส่วนของการทำงานในพื้นที่จึงขอให้อำเภอทำงานเชิงรุกมากขึ้น
โดยค้นหาปัญหาในพื้นที่และร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เข้าไปแก้ไขให้โดยเร็ว
และให้นายอำเภอกำกับดูแลการปฏิบัติงานของศูนย์ดำรงธรรมอำเภออย่างใกล้ชิด
โดยเฉพาะงานที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน เช่น
งานกองทุนยุติธรรมจังหวัดที่จะช่วยเหลือประชาชนที่ยากจนและด้อยโอกาสทางสังคม
การจดทะเบียน SMEs การแก้ไขหนี้นอกระบบ
การจัดให้มีศูนย์บริการร่วม เป็นต้น 3. การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ การจัดระบบแรงงานต่างด้าว และการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหลบหนีเข้าเมือง ขอให้ตรวจสอบการใช้แรงงานทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย
สอดส่องตรวจตราผู้หลบหนีเข้าเมือง ผู้นำพา และผู้ให้ที่พักพิงในพื้นที่อย่างใกล้ชิด
รวมทั้งให้เร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ในส่วนของการจัดระบบแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ให้ดำเนินการ ให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลและมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2558 ที่กำหนดให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน นี้ 4. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ต้องแก้ไขให้เห็นผลชัดเจนและมีคุณภาพมากขึ้น โดยเฉพาะงานด้านการข่าวเพื่อให้ได้ตัวผู้ค้ารายใหญ่
ที่เป็นต้นตอของปัญหา โดยให้ดำเนินการตามมาตรการ 5 ด้าน คือ การปราบปราม
การบำบัดฟื้นฟู การสร้างความเข้มแข็งหมู่บ้าน/ชุมชน
การป้องกันเยาวชนกลุ่มเสี่ยงนอกสถานศึกษา และการจัดระเบียบสังคมในพื้นที่เสี่ยง
ทั้งนี้ นายอำเภอต้องติดตามสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ของตนเองทุกด้านทั้งผู้ค้า
ผู้เสพ แหล่งมั่วสุม ปริมาณยาเสพติด รวมถึงผู้มีอิทธิพล
โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับ
ที่อาจเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง การช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัด เพื่อให้บุคคลเหล่านี้มีชีวิตใหม่และดำรงอยู่ในสังคมได้อย่าง มีความสุขยิ่งขึ้น โดยให้ดูแลเรื่องการฝึกอาชีพ
หาอาชีพ และสนับสนุนการศึกษาอย่างต่อเนื่องรวมทั้งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเยาวชนให้ห่างไกลจากยาเสพติด
ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการกีฬาต่างๆ
และเข้มงวดตรวจตราป้องกันไม่ให้มีแหล่งมั่วสุมในพื้นที่ 5.
การป้องกันและปราบปรามการทุจริต ขอให้ทุกคนช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตภายในองค์กร อย่าให้มีการทุจริตโดยเด็ดขาด
รวมไปถึงการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงบประมาณ
ต้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ 6.การดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนและเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้ยึดยุทธศาสตร์/นโยบายรัฐบาลในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนกับประเทศเพื่อนบ้าน
และเพิ่มความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น การค้า การลงทุน การพัฒนาพื้นที่ชายแดน
นโยบายการเปิดจุดผ่านแดน เป็นต้น สำหรับในพื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ
ซึ่งขณะนี้ได้มีการเตรียมความพร้อมในทุกๆด้าน
ในฐานะเจ้าของพื้นที่ขอให้ร่วมสนับสนุนและอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่และให้ความสำคัญกับ
“ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน”
(One Stop Service : OSS) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนที่จะเข้าไปลงทุนในพื้นที่ด้วย และ 7. การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอให้นายอำเภอให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ที่อยู่พื้นที่
เพื่อเป็นศูนย์รวมใจของประชาชน น้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเป็นหลักในการปฏิบัติงาน
และมุ่งเน้นการทำงานตามแนวทางสันติวิธี
โดยนายอำเภอต้องประสานการปฏิบัติระหว่างพลเรือน ทหาร ตำรวจ
เพื่อร่วมกำหนดแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่สุดท้ายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ำให้ปลัดจังหวัดและนายอำเภอนำนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยขอให้ทุกคนร่วมกันทำงานกันอย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ
และร่วมกันสร้างความสุขให้กับประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียม
จากนั้น นายสุธี มากบุญ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มอบนโยบายในเรื่องของการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ เน้นการแก้ไขปัญหาพื้นที่แล้งซ้ำซาก
โดยให้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ และ ให้เตรียมแผนเผชิญเหตุรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติต่างๆ
ที่อาจเกิดขึ้น เช่น พายุฤดูร้อน การจัดระเบียบและภูมิทัศน์เมือง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดท่องเที่ยวขอให้วางแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบพร้อมกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์เพื่อสร้างรายได้เข้าสู่พื้นที่ การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย โดยให้ดำเนินการตามโครงการนำร่องเพื่อเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ การลดความเหลื่อมล้ำของสังคมให้เกิดความเท่าเทียม โดยแก้ไขปัญหาความยากจน
กระจายรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก การช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยเน้นการลดต้นทุนการผลิตและการดูแลเรื่องค่าเช่านาให้เกิดความเป็นธรรม
รวมทั้งให้เตรียมเรื่องกระจายผลิตผลทางการเกษตรออกสู่ตลาด และการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับผู้ยากไร้โดยขอให้พื้นที่ตรวจสอบความถูกต้องว่าบุคคลที่จะรับการช่วยเหลือเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจริง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น