เมื่อวันที่ 4 พ.ค.58 ศูนย์ปฏิบัติการสถานีตำรวจน้ำ กองบังคับ 4 จ.สมุทรสาคร ให้การต้อนรับคณะ พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
หลังนำทีมเจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์(ปคม.),ตำรวจจากกองบังคับการตำรวจน้ำ, ตรวจคนเข้าเมือง(ตม.), สนง.ประมงจังหวัด ร่วมกับ สนง.จัดหางาน
เพื่อทำการตรวจเยี่ยมก่อนสุ่มสำรวจการใช้แรงงานในเรือประมง ตามโครงการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์
และการใช้งานคนงานแบบทารุณ ออกตรวจเรือขณะจอดเข้าเทียบท่า ที่ริมฝั่งท่าจีน
โดยรับทราบสถานการณ์จากกองบังคับการตำรวจน้ำสมุทรสาคร ว่าด้วย
เพื่อมุ่งสู่ความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการเรือประมงถูกกฎหมาย
เพื่อปราศจากปัญหาการค้ามนุษย์ โดยมี นายกำจร มงคลตรีลักษณ์
นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร และนายไต๋วงศ์ จุ้ยเจริญ ประธานชมรมเรืออวนดำ
ให้การต้อนรับ ร่วมรายงานปัญหาเรือในหมู่สมาชิกเรืออวนดำ “ต่อมาได้ลงเรือตรวจการณ์ของตำรวจน้ำ
และเรือตรวจการณ์ (ปนม.13) ออกสุ่มตรวจเรือประมงขณะกำลังแล่นอยู่ใกล้ฝั่งที่ ต.มหาชัย
จำนวน 3 ลำ ประกอบด้วย เรือชัยมงคลนำโชค เรือรุ่งทวีทรัพย์ และเรือ
อ.พรพีรพัฒน์นาวี เพื่อตรวจดูการจ้างงานแรงงานต่างด้าว ปรากฏว่า
แต่ละลำเรือมีคนงานสัญชาติเมียนมาร์ ลำละ 30-40 คน
ไม่พบแรงงานผิดกฎหมาย แต่ถือบัตรชั่วคราว (สีชมพู) ควบคู่เอกสารประจำตัว ซึ่งอยู่ระหว่างช่วงดำเนินการเข้าสู่ขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติต่อไป
พล.ต.ท.ประวุฒิกล่าวว่า การลงพื้นที่สมุทรสาครครั้งนี้เพื่อตรวจป้องปรามการใช้แรงงานในเรือประมง ตามโครงการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ และไม่ใช้แรงงานแบบทารุณกรรม เพื่อความสอดคล้องต่อข้อบังคับของEU อันเน้นย้ำ ว่าด้วยการทำประมงที่ถูกกฎหมาย (หรือข้อบังคับ IUU Fishing) ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาล ที่เน้นย้ำในการทำประมงผิดกฎหมายตามหลักสากล
พร้อมกันนี้ยังจะมีผลถึงการดูแลควบคุมถึงกรณีการใช้อุปกรณ์การจับสัตว์น้ำ หรือเรื่องการออกอาชญาบัตรประจำเรือต่อไป จากที่กำหนดควบคุมเรือน้ำหนักขนาด 60 ตันกรอส จะลงมาถึงขนาด30 ตันกรอสด้วย ตลอดจนให้การติดตั้งเครื่องมือจับการเคลื่อนไหวของเรือ(หรือเครื่อง VMS) มาบังคับใช้ในเรือที่ถูกกฎหมายต่อไปทั้งหมดของจังหวัดชายทะเล
ด้านนายกำจร มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร เผยว่า ขณะนี้ในสมุทรสาครมีเรือประมงที่ประสบปัญหาจากกฎของ EU ที่มุ่งเข้ามาออกข้อบังคับเหมารวมเรือประมงพื้นบ้าน เข้ากับเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ ให้ยึดตามข้อปฏิบัติต่างๆ ทั้งต้องควักกระเป๋าเพื่อซื้อเครื่องมือให้เข้ากับเรือตามรัฐบาลระบุบังคับ ซึ่งเบื้องต้นอย่างน้องก็มีการลงทุนที่สูงขึ้นของบรรดาอาชีพประมง ตลอดจนปัญหาต่างๆ ของชาวเรือที่มุ่งเข้ามาซึ่งอย่างน้อยก็เครื่อง VMS ที่คอยบอกความเคลื่อนไหวของเรือว่ากำลังอยู่ตำแหน่งแห่งหนใด ช่วงทำประมง ซึ่งเครื่องหนึ่งนั้นมีราคาหลายหมื่นบาท โดยส่วนตนเห็นว่าไม่จำเป็น
“ล่าสุดจะมีควบคุมจับผิดเรือขนาด 30 ตันกรอสด้วย จากเดิมระบุ 60 ตันกรอสไปก่อนหน้านี้ ซึ่งถือว่าไม่น่าจะเป็นธรรมนัก อย่างน้อยทำให้ชาวเรือต้องเสียค่าใช้จ่ายที่มีสูงขึ้น ขณะนี้ส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่มิใช่เป็นเครื่องมือที่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำธรรมชาติล้วนมีขนาดเล็ก (ราว30 -50 ตันกรอส) ซึ่งมีทั้งปัญหาเรื่องอาชญาบัตร ที่ไม่ได้แยกเรือประมงชายฝั่ง อย่างไรก็ตามเร็วๆนี้ (หรือวันที่ 8 พ.ค. 58 ที่ตลาดทะเลไทย)ทางสมาคมการประมงสมุทรสาคร ได้นัดหารือเร่งด่วนกับ ทางสมาคมประมงแห่งประเทศไทย เพื่อเปิดขอโอกาสให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องมาร่วมหารือเพื่อหาแนวทางในการปฏิบัติชาวประมงภายในอย่างชัดเจน เช่น ว่าอะไรเราทำได้ และสิ่งไหนที่ทำไม่ได้ ตามหลักความเป็นจริงต่อไป และยังมีเรื่องราคาเครื่องติดตั้ง VMS ของกรมประมง ซึ่งมีนัยยะราคาสูงจนอาจรับไม่ได้ ส่วนปัญหารุมเร้ามาในช่วงนี้ ส่งผลให้ล่าสุดมีเรือประมงจอดทิ้งใช้งานไม่ได้เกือบ 100 ลำ”
“มีรายงานด้วยว่า จากปัญหาการคุมเรือประมง ที่มีการออกกฎและข้อบังคับของ EU อย่างเข้มงวดเหมารวมเรือในประเทศไทยเกือบทั้งหมด ตลอดจนการบังคับให้นำเครื่องมือต่างๆ กับเรือประมงพื้นบ้าน ส่งผลให้ปัจจุบันพบว่า มีเรือจำนวนมากได้จอดแช่แข็งเนื่องจากมีปัญหาบางประการที่อาจไม่สามารถปฏิบัติได้ รวมถึงเรื่องอาชญาบัตรเรือที่ยังไม่มีมาตรการกำหนดต่ออายุเรือใหม่ ทำให้พบเรือไม่สามารถนำออกจากฝั่งไปใช้งานจับปลาได้จำนวนมาก”
พล.ต.ท.ประวุฒิกล่าวว่า การลงพื้นที่สมุทรสาครครั้งนี้เพื่อตรวจป้องปรามการใช้แรงงานในเรือประมง ตามโครงการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ และไม่ใช้แรงงานแบบทารุณกรรม เพื่อความสอดคล้องต่อข้อบังคับของEU อันเน้นย้ำ ว่าด้วยการทำประมงที่ถูกกฎหมาย (หรือข้อบังคับ IUU Fishing) ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาล ที่เน้นย้ำในการทำประมงผิดกฎหมายตามหลักสากล
พร้อมกันนี้ยังจะมีผลถึงการดูแลควบคุมถึงกรณีการใช้อุปกรณ์การจับสัตว์น้ำ หรือเรื่องการออกอาชญาบัตรประจำเรือต่อไป จากที่กำหนดควบคุมเรือน้ำหนักขนาด 60 ตันกรอส จะลงมาถึงขนาด30 ตันกรอสด้วย ตลอดจนให้การติดตั้งเครื่องมือจับการเคลื่อนไหวของเรือ(หรือเครื่อง VMS) มาบังคับใช้ในเรือที่ถูกกฎหมายต่อไปทั้งหมดของจังหวัดชายทะเล
ด้านนายกำจร มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร เผยว่า ขณะนี้ในสมุทรสาครมีเรือประมงที่ประสบปัญหาจากกฎของ EU ที่มุ่งเข้ามาออกข้อบังคับเหมารวมเรือประมงพื้นบ้าน เข้ากับเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ ให้ยึดตามข้อปฏิบัติต่างๆ ทั้งต้องควักกระเป๋าเพื่อซื้อเครื่องมือให้เข้ากับเรือตามรัฐบาลระบุบังคับ ซึ่งเบื้องต้นอย่างน้องก็มีการลงทุนที่สูงขึ้นของบรรดาอาชีพประมง ตลอดจนปัญหาต่างๆ ของชาวเรือที่มุ่งเข้ามาซึ่งอย่างน้อยก็เครื่อง VMS ที่คอยบอกความเคลื่อนไหวของเรือว่ากำลังอยู่ตำแหน่งแห่งหนใด ช่วงทำประมง ซึ่งเครื่องหนึ่งนั้นมีราคาหลายหมื่นบาท โดยส่วนตนเห็นว่าไม่จำเป็น
“ล่าสุดจะมีควบคุมจับผิดเรือขนาด 30 ตันกรอสด้วย จากเดิมระบุ 60 ตันกรอสไปก่อนหน้านี้ ซึ่งถือว่าไม่น่าจะเป็นธรรมนัก อย่างน้อยทำให้ชาวเรือต้องเสียค่าใช้จ่ายที่มีสูงขึ้น ขณะนี้ส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่มิใช่เป็นเครื่องมือที่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำธรรมชาติล้วนมีขนาดเล็ก (ราว30 -50 ตันกรอส) ซึ่งมีทั้งปัญหาเรื่องอาชญาบัตร ที่ไม่ได้แยกเรือประมงชายฝั่ง อย่างไรก็ตามเร็วๆนี้ (หรือวันที่ 8 พ.ค. 58 ที่ตลาดทะเลไทย)ทางสมาคมการประมงสมุทรสาคร ได้นัดหารือเร่งด่วนกับ ทางสมาคมประมงแห่งประเทศไทย เพื่อเปิดขอโอกาสให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องมาร่วมหารือเพื่อหาแนวทางในการปฏิบัติชาวประมงภายในอย่างชัดเจน เช่น ว่าอะไรเราทำได้ และสิ่งไหนที่ทำไม่ได้ ตามหลักความเป็นจริงต่อไป และยังมีเรื่องราคาเครื่องติดตั้ง VMS ของกรมประมง ซึ่งมีนัยยะราคาสูงจนอาจรับไม่ได้ ส่วนปัญหารุมเร้ามาในช่วงนี้ ส่งผลให้ล่าสุดมีเรือประมงจอดทิ้งใช้งานไม่ได้เกือบ 100 ลำ”
“มีรายงานด้วยว่า จากปัญหาการคุมเรือประมง ที่มีการออกกฎและข้อบังคับของ EU อย่างเข้มงวดเหมารวมเรือในประเทศไทยเกือบทั้งหมด ตลอดจนการบังคับให้นำเครื่องมือต่างๆ กับเรือประมงพื้นบ้าน ส่งผลให้ปัจจุบันพบว่า มีเรือจำนวนมากได้จอดแช่แข็งเนื่องจากมีปัญหาบางประการที่อาจไม่สามารถปฏิบัติได้ รวมถึงเรื่องอาชญาบัตรเรือที่ยังไม่มีมาตรการกำหนดต่ออายุเรือใหม่ ทำให้พบเรือไม่สามารถนำออกจากฝั่งไปใช้งานจับปลาได้จำนวนมาก”
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น