สรุปลำดับเหตุการณ์ คดี:ท่าเรือ “อัคร”
ตนเป็นลูกท่านแม่พร้อมทั้งแจ้งทั้งสองคนให้มาพบ นายณัฐพลฯ ที่บ้านอัครพงษ์ปรีชา ซึ่งอ้างว่าเป็นเขตพระราชฐานโดยจะให้คนไปรับหรือจะมาพบด้วยตนเอง เมื่อทราบดังนั้น นายชาญชัยฯ จึงขอเดินทางเข้าไปพบเองและชวนนายประจบฯ เดินทางไปเป็นเพื่อนเพื่อไปพบ นายณัฐพลฯ ด้วยตนเอง ที่บ้านดังกล่าว เมื่อไปถึง นายณัฐพลฯได้แจ้งว่า ตนเองต้องการเปิดทำกิจการขนส่งถ่านหินซึ่งเป็นกิจการของครอบครัวอัครพงศ์ปรีชาและขอให้ชาวบ้านยกเลิกการชุมนุมประท้วง โดยอ้างตนว่าเป็นน้องชายของพระวรชายา (หรือท่านผู้หญิงศรีรัศมีฯในปัจจุบัน) และยังเป็นลูกของท่านแม่อีกด้วย เมื่อทราบดังนั้นทางแกนนำทั้งคู่จึงเกิดความกลัวและไม่ตอบโต้ใดๆจากนั้นจึงเดินทางกลับ ต่อมานายณัฐพลฯ ได้ขอรับเงินจาก นายสมเกียรติ กิจพ่อค้า เป็นจำนวนเงิน 1.4 ล้านบาท (เป็นค่านกแก้วมาคอร์สีน้ำเงิน 1 คู่) เพื่อเป็นค่าช่วยเหลือดำเนินการให้ได้รับอนุญาตขนถ่านหินของท่าเรือเซ็นจูรี่แต่
จากการประชุมเบญจภาคีครั้งที่ 1 ที่ประชุมลงมติสรุปว่าท่าเรือเซ็นจูรี่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากนั้น นายณัฐพลฯ จึงนัดนายสมเกียรติฯ มาพบที่ร้านอาหารสมุทรสาครเพื่อปรึกษาและขอเปลี่ยนชื่อท่าเรือเซ็นจูรี่เป็นท่าเรืออัครเพื่อให้การดำเนินการต่างๆสามารถได้รับอนุญาตได้ง่ายขึ้น และขอแบ่งผลกำไรตันละ 7 บาทเป็นค่าดำเนินการ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 20 ก.ย.2556 จังหวัดสมุทรสาคร ได้มีการประชุมเบญจภาคี ครั้งที่ 2 มี นายชาญชัย และนายณัฐพลฯ เข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งทั้งสองได้ชี้แจงกับที่ประชุมว่า ได้ทำข้อตกลงกับท่าเรือเซ็นจูรี่ และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นท่าเรืออัครโดยจะดำเนินการปรับปรุงท่าเรือให้เป็นระบบปิดเพื่อป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่ผลการประชุมสรุปว่ายังไม่ได้รับอนุญาต
จนกระทั่งเดือน
กุมภาพันธ์ 2557 นายณัฐพล และนายชัยยา ได้เข้าพบ ผู้ว่าฯ (ซึ่งในขณะนั้นคือ
ว่าที่ร้อยตำรวจโทอาทิตย์ บุญญะโสภัต ) เพื่อขอให้ ผู้ว่าฯ ยกเลกคำสั่ง
ระงับการขนถ่ายหินอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่ได้รับอนุญาต
และเมื่อทางกลุ่มผู้ต่อต้านการขนถ่ายหินทราบว่า
นายณัฐพลฯเป็นบุคคลผู้ที่แอบอ้างสถาบันเพื่อหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ
จึงได้มีการรวมตัวกันเพื่อมาร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อขอความเป็นธรรมและดำเนินคดีต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น