pearleus

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

(สมุทรสาคร) บางกระเจ้าร้อง "โรงงานปล่อยกลิ่นเคมีเหม็นฉุนแสบคอ" ขอ จนท.ตรวจใบอนุญาต

"ที่ศาลากลาง จ.สมุทรสาคร" นางสาวมณี ปั้นอุดม อยู่บ้านเลขที่ 39 หมู่ 8 ต.บางกระเจ้า อ.เมืองฯ พร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้าน และนายสมวิทย์ อิทธิฤทธิกุล ฐานะตัวแทนพนักงานโรงงานผลิตผลไม้แห่งหนึ่ง เข้าร้องเรียนปัญหาความเดือดร้อนต่อ นายจงรัก เพชรสน ผู้ช่วยจ่าจังหวัด ในฐานะตัวแทนศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสมุทรสาคร ว่า ได้รับผลกระทบจากมลภาวะปัญหาทางอากาศของระบบในโรงงานที่ผลิตสารเคมี ของ (บ.สยามเอเซียเคมิคอล อินดัสตรีย์ จก.) และ (หจก.เอสเค อินเตอร์เคมีคอล) ตั้งอยู่ข้างเคียง ได้ส่งกลิ่นเหม็นทางอากาศของสารเคมีที่ระบายออกทางอากาศสร้างความเดือดร้อนรำคราญต่อความเป็นอยู่ กลิ่นเหม็นฉุนรบกวนชาวบ้านมานานแล้ว ซึ่งกลิ่นไอที่โชยออกมาเป็นระยะๆ เมื่อสูดเข้าไปส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้แสบจมูก และลำคอเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ได้รวบรวมรายชื่อประชาชนผู้ได้รับผลกระทบบริเวณใกล้เคียงที่พากันลงนามมาประกอบด้วยจำนวน 54 ราย

นางสาวมณี เปิดเผยว่า สำหรับโรงงานทั้ง 2 แห่งนี้เป็นเจ้าของเดียวกัน แต่ตั้งอยู่ตรงกันคนละฝั่งถนน มีลักษณะรับซื้อน้ำเสียจากโรงชุบโลหะและนำเข้าไปเพื่อดำเนินการฟอกโดยสารเคมี จากนั้นก็เอาผลที่ได้ไปใช้งานใหม่หรือนำไปจำหน่ายออกไป ซึ่งเคยถูกร้องเรียนทั้งเรื่องทิ้งน้ำเสียมาหลายครั้ง อย่างไรก็ตามกลิ่นไอเหม็นฉุนปล่อยมาในอากาศเชื่อว่าเป็นกลิ่นสารเคมี สร้างความเดือดร้อนรำคราญอย่างรุนแรง เมื่อโชยมาเป็นระยะๆ ทั้งนี้นอกจากระคายเคืองตอนหายใจ จะมีอาการคลื่นไส้แสบจมูกและลำคอ นอกจากนั้นเครื่องใช้ในบ้านที่เป็นเหล็กหรือเป็นโลหะของชาวบ้านได้เกิดเป็นสนิมแทบทุกชนิดเลย จึงขอให้มีเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ ระบบเครื่องใช้ทำงาน และตรวจบ่อบำบัดน้ำเสียด้วยว่า เป็นไปตามกฎหมายควบคุมหรือไม่อย่างไร ซึ่งหลายเดือนก่อนและเมื่อ 29 .. 57 ก็ได้ร้องเรียนหน่วยงานเกี่ยวข้องในท้องถิ่นไปด้วย แต่ก็ไร้ผลจึงต้องทนสูดดมกันเรื่อยมา


ด้านนายจงรัก กล่าวว่า ได้ตรวจสอบเช็คในเบื้องต้นทราบว่าโรงงานนี้ที่ว่าเคยถูกร้องเรียน ซึ่งระบุโรงงานผลิตสารเคมี จัดอยู่ในประเภทต้องควบคุม (หรือในลำดับที่ 106) ซึ่งอดีตมีเคยถูกร้องเรียนเรื่องกลิ่นและปล่อยน้ำทิ้งเรี่ยราดออกมาตามถนน กระทั่งถูกคำสั่งให้ปิดลงไปครั้งหนึ่งเมื่อหลายเดือนก่อน (โดยปลัดกระทรวงฯ) อย่างไรก็ตามกำลังขอเรียกดูหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้องทางจังหวัด ได้แก่ สนง.อุตสาหกรรมจังหวัด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) และทาง อบต. เพื่อมาตรวจดูทั้งใบอนุญาต และผลชี้แจงของการเข้าตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ว่าดำเนินการเรื่องให้แก้ข้อบกพร่องของโรงงานในครั้งนั้นมีอะไรบ้าง เช่น สั่งให้มีการให้ปรับปรุงแก้ไขอะไรและมีขั้นตอนกันอย่างใด
"นอกจากนี้หลังรับเรื่องได้ประสานงานกับ กองรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) จังหวัดสมุทรสาคร ที่มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงแล้ว ก่อนจะลงพื้นที่ไปด้วยเพื่อออกสำรวจปัญหาให้ละเอียดตามลำดับโดยเร็ว ทั้งนี้ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ซึ่งจะรายงานผลเป็นระยะให้ทราบต่อไป
โดย...มานพ  พฤฒิวโรดม บรรณาธิการข่าว จ.สมุทรสาคร (หนังสือพิมพ์ชี้ชัด เจาะลึก)
           087- 151-2525





0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น