เมื่อ
7 ต.ค.56 พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผบช.น.(รับผิดชอบงานจราจร)
แถลงแผนยุทธศาสตร์พัฒนาแก้ไขปัญหาด้านการจราจร ในพื้นที่กรุงเทพฯ
และโครงการนำร่องเร่งด่วน(Hilight Project)...16 โครงการ
ปีงบประมาณ 2557 โดยพล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวกับ
สถานีวิทยุจราจรเพื่อสังคม 99.5 ว่า นับจากที่ ผบ.ตร.
ได้มอบหมายให้ตนดูแลด้านงานจราจร ซึ่งตนเองก็ได้ประชุมร่วมกับฝ่ายอำนวยการ
เพื่อกำหนดข้อมูลการปฏิบัติและกำหนดแผนในการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ตามที่ได้รับรายละเอียดต่างๆ
มาครบถ้วนแล้ว ก็ได้กำหนดแผนงานการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจราจร ในกรุงเทพฯ ขึ้นมา
ซึ่งในส่วนของวิสัยทัศน์ด้านการจราจร ได้กำหนดขึ้นมาว่า ตำรวจนครบาล มุ่งมั่นพัฒนา
และแก้ไขปัญหาการจราจร ในกรุงเทพมหานครอย่างมืออาชีพ ในส่วนนี้ได้กำหนดแผนดำเนินการเป็น
11 ยุทธศาสตร์ ..
1.การถวายความปลอดภัย และเรื่องการดูแลเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากและพลาดไม่ได้ ต้องกำหนดโครงการต่างๆ ที่มารองรับอย่างชัดเจน
2.การปฏิบัติเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริ ซึ่งโครงการในปีนี้เราจะพัฒนาพลิกโฉมตำรวจจราจรทุกคนให้เข้ามาดำเนินการตามแนวโครงการพระราชดำริ ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงด้วย
3.การแก้ปัญหาจราจรติดขัด จะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด ใช้วิทยาศาสตร์และหลักคณิตศาสตร์ เข้ามาคิด ต่อไปจะมีการติดตั้งเครื่องนับรถทุกทางแยก และเตรียมนำเสนอรัฐบาลเรื่องโครงการเหลื่อมเวลา ในการเหลื่อมเวลาการทำงานของภาครัฐและเอกชนต่างๆ เพื่อมาสนับสนุนในส่วนของยุทธศาสตร์นี้
4.การพัฒนาด้านบุคลากร เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน
5. เรื่องการบังคับใช้กฎหมายและปรับปรุงกฎหมายจราจร ซี่งที่ผ่านมาถือได้ว่าคนคนเดียว ทำผิดกฎจราจรเป็นว่าเล่น เช่น ขับรถฝ่าไฟแดง ขับรถเปลี่ยนเลนโดยไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ทำให้เกิดปัญหาเรื่องอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้น ต่อไปก็จะมีแผนเกี่ยวกับโครงการในเรื่องของผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย
6.โครงการป้องกัน รถติด และอุบัติเหตุ ในช่วงเทศกาลสำคัญ
7.การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน
8.เรื่องการบริหารจัดการจราจรอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงศูนย์สั่งการและควบคุมการจราจร เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น
9.การแสวงหาและพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ในงานจราจร อาทิ เครื่องนับรถ เครื่องตรวจจับการจราจรบนท้องถนน รวมทั้งเครื่องตรวจจับในการเปลี่ยนเลน หรือเรดไลท์คาเมร่า ที่จับรถที่ฝ่าไฟแดงต่างๆ ต้องนำมาใช้ทุกทางแยก
10.การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยกันพัฒนาปัญหาจราจรให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ
11.การประเมินผลและการปรับปรุงแผน ซึ่งแผนที่ออกมาตอนนี้ยังไม่สมบูรณ์ 100 % โดยจะประเมินผลทุกๆ 1 เดือน ส่วนในระยะยาว จะประเมินทุก 6 เดือน และ 12 เดือน ซึ่งทั้งสองแบบก็จะมีการนำรายละเอียดต่างๆ มาสรุปให้ชัดเจน ซึ่งหลังจากประเมินแล้ว ก็จะมีการปรับแผนไปสู่การปฏิบัติที่มีความชัดเจน
ทั้งนี้ การทำงานของตำรวจจราจร ต้องเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยเราจะมีการจัดการประชุมประจำเดือน เรียกว่าการประชุมสุภาพบุรุษจราจร ต่อไปตำรวจจราจร ซึ่งมี 3-4 พันคน ตัองแย่งกันทำความดี เพื่อเปิดมิติใหม่ และต่อไปในหนึ่งปีจะมี 1 วัน ที่สำคัญ คือ จะจัดวันสุภาพบุรุษจราจร ซึ่งเป็นนโยบายของ ผบ.ตร. ต่อไปจราจร บชน. จะต้องพลิกโฉมในการพัฒนา ไปสู่การบริการที่ดีเยี่ยม และนำเทคโนโลยี มาใช้กับจราจร นอกจากนี้ พล.ต.ต.อดุลย์ ยังระบุถึง กรณีการเตรียมนำรถยกมาใช้นั้นจะเป็นการใช้ข้อกฎหมายเดิมคือความผิดพ.ร.บ.จราจรมาตรา 57และ 59 ห้ามจอดในที่ห้ามฝ่าฝืนมี โทษปรับไม่เกิน 500 บาท รวมทั้งเสียค่าเคลื่อนย้าย 500 บาท และค่าดูแลอีกวันละ 200 บาท โดยเปลี่ยนวิธีการบังคับใช้จากการบังคับล้อเป็นการใช้รถยก และจะบังคับใช้เฉพาะชั่วโมง เร่งด่วนเท่านั้น ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหา การจราจรได้ดีกว่าการบังคับล้อ โดยหลังจากนี้จะมีการประชุมกับกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงการบังคับใช้กฎหมาย และจะมีการประชาสัมพันธ์ กับประชาชนได้ทราบ ซึ่งคาดว่าจะ เตรียมบังคับใช้ภายในต้นเดือนพฤศจิกายน อีกทั้งได้เตรียมการเสนอโครงการจำกัดอายุการใช้งานรถยนต์ต่อรัฐบาล อาทิ รถอายุเกิน 7-10 ปี ห้ามนำเข้ามาวิ่งในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งหากนำเข้ามาวิ่งจะต้อง เสียภาษีเทียบเท่ารถใหม่ โดยโครงการนี้ ได้นำแนวคิดมาจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาจราจร ส่วนกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจราจร อาทิ การเสียค่าปรับกรณีทำการจราจรติดขัดนาทีละ 100 บาท พลตำรวจตรีอดุลย์ เปิดเผยว่า สำหรับแนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาพัฒนาได้ แต่ขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งคาดว่าในอนาคตอาจจะมีการนำมาหารือและบังคับใช้ได้ในอนาคต
1.การถวายความปลอดภัย และเรื่องการดูแลเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากและพลาดไม่ได้ ต้องกำหนดโครงการต่างๆ ที่มารองรับอย่างชัดเจน
2.การปฏิบัติเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริ ซึ่งโครงการในปีนี้เราจะพัฒนาพลิกโฉมตำรวจจราจรทุกคนให้เข้ามาดำเนินการตามแนวโครงการพระราชดำริ ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงด้วย
3.การแก้ปัญหาจราจรติดขัด จะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด ใช้วิทยาศาสตร์และหลักคณิตศาสตร์ เข้ามาคิด ต่อไปจะมีการติดตั้งเครื่องนับรถทุกทางแยก และเตรียมนำเสนอรัฐบาลเรื่องโครงการเหลื่อมเวลา ในการเหลื่อมเวลาการทำงานของภาครัฐและเอกชนต่างๆ เพื่อมาสนับสนุนในส่วนของยุทธศาสตร์นี้
4.การพัฒนาด้านบุคลากร เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน
5. เรื่องการบังคับใช้กฎหมายและปรับปรุงกฎหมายจราจร ซี่งที่ผ่านมาถือได้ว่าคนคนเดียว ทำผิดกฎจราจรเป็นว่าเล่น เช่น ขับรถฝ่าไฟแดง ขับรถเปลี่ยนเลนโดยไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ทำให้เกิดปัญหาเรื่องอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้น ต่อไปก็จะมีแผนเกี่ยวกับโครงการในเรื่องของผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย
6.โครงการป้องกัน รถติด และอุบัติเหตุ ในช่วงเทศกาลสำคัญ
7.การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน
8.เรื่องการบริหารจัดการจราจรอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงศูนย์สั่งการและควบคุมการจราจร เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น
9.การแสวงหาและพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ในงานจราจร อาทิ เครื่องนับรถ เครื่องตรวจจับการจราจรบนท้องถนน รวมทั้งเครื่องตรวจจับในการเปลี่ยนเลน หรือเรดไลท์คาเมร่า ที่จับรถที่ฝ่าไฟแดงต่างๆ ต้องนำมาใช้ทุกทางแยก
10.การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยกันพัฒนาปัญหาจราจรให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ
11.การประเมินผลและการปรับปรุงแผน ซึ่งแผนที่ออกมาตอนนี้ยังไม่สมบูรณ์ 100 % โดยจะประเมินผลทุกๆ 1 เดือน ส่วนในระยะยาว จะประเมินทุก 6 เดือน และ 12 เดือน ซึ่งทั้งสองแบบก็จะมีการนำรายละเอียดต่างๆ มาสรุปให้ชัดเจน ซึ่งหลังจากประเมินแล้ว ก็จะมีการปรับแผนไปสู่การปฏิบัติที่มีความชัดเจน
ทั้งนี้ การทำงานของตำรวจจราจร ต้องเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยเราจะมีการจัดการประชุมประจำเดือน เรียกว่าการประชุมสุภาพบุรุษจราจร ต่อไปตำรวจจราจร ซึ่งมี 3-4 พันคน ตัองแย่งกันทำความดี เพื่อเปิดมิติใหม่ และต่อไปในหนึ่งปีจะมี 1 วัน ที่สำคัญ คือ จะจัดวันสุภาพบุรุษจราจร ซึ่งเป็นนโยบายของ ผบ.ตร. ต่อไปจราจร บชน. จะต้องพลิกโฉมในการพัฒนา ไปสู่การบริการที่ดีเยี่ยม และนำเทคโนโลยี มาใช้กับจราจร นอกจากนี้ พล.ต.ต.อดุลย์ ยังระบุถึง กรณีการเตรียมนำรถยกมาใช้นั้นจะเป็นการใช้ข้อกฎหมายเดิมคือความผิดพ.ร.บ.จราจรมาตรา 57และ 59 ห้ามจอดในที่ห้ามฝ่าฝืนมี โทษปรับไม่เกิน 500 บาท รวมทั้งเสียค่าเคลื่อนย้าย 500 บาท และค่าดูแลอีกวันละ 200 บาท โดยเปลี่ยนวิธีการบังคับใช้จากการบังคับล้อเป็นการใช้รถยก และจะบังคับใช้เฉพาะชั่วโมง เร่งด่วนเท่านั้น ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหา การจราจรได้ดีกว่าการบังคับล้อ โดยหลังจากนี้จะมีการประชุมกับกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงการบังคับใช้กฎหมาย และจะมีการประชาสัมพันธ์ กับประชาชนได้ทราบ ซึ่งคาดว่าจะ เตรียมบังคับใช้ภายในต้นเดือนพฤศจิกายน อีกทั้งได้เตรียมการเสนอโครงการจำกัดอายุการใช้งานรถยนต์ต่อรัฐบาล อาทิ รถอายุเกิน 7-10 ปี ห้ามนำเข้ามาวิ่งในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งหากนำเข้ามาวิ่งจะต้อง เสียภาษีเทียบเท่ารถใหม่ โดยโครงการนี้ ได้นำแนวคิดมาจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาจราจร ส่วนกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจราจร อาทิ การเสียค่าปรับกรณีทำการจราจรติดขัดนาทีละ 100 บาท พลตำรวจตรีอดุลย์ เปิดเผยว่า สำหรับแนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาพัฒนาได้ แต่ขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งคาดว่าในอนาคตอาจจะมีการนำมาหารือและบังคับใช้ได้ในอนาคต
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น