วันที่ 10
ตุลาคม 2556 ที่ห้องประชุมศรีสง่า โรงแรมริเวอร์
อำเภอเมืองนครปฐม
นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ได้ประชุมร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนภาคประชาชน และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน
เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ. 2558 - 2561)
อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11
นโยบายรัฐบาล
ยุทธศาสตร์ประเทศ
ยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ยุทธศาสตร์ภาค
และภาครวมตัวชี้วัดการพัฒนาระดับจังหวัด
นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า
แผนพัฒนาจังหวัดเปรียบเสมือนแผนแม่บทที่ใช้เป็นกรอบในการพัฒนาจังหวัด เนื่องจาก
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ.
2551
กำหนดให้มีการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการดำเนินกิจกรรมของจังหวัดและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด สำหรับแผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม 4
ปี ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมแปรรูปที่ได้มาตรฐานสากล การท่องเที่ยวปลอดภัย และชีวิตเป็นสุข” โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่ใช้ขับเคลื่อนในการพัฒนา 3
ประเด็นยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย
1.การพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้มีความปลอดภัย ได้มาตรฐานระดับสากลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมของจังหวัดมีความปลอดภัยผ่านการรับรองมาตรฐานสากล มีการแปรรูปผลผลิตภาคเกษตร อุตสาหกรรม
ขยายตลาดและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าและบริการ
โดยมีกลยุทธ์ในการส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณการผลิต
เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจรับรองมาตรฐาน ส่งเสริมการค้า การลงทุน
และเพิ่มช่องทางการจำหน่าย
2.
การเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น สามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเข้าสู่จังหวัดเพิ่มขึ้น
โดยมีกลยุทธ์ในการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวและทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยว พัฒนาระบบการบริหารจัดการและศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว พัฒนาด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์
3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนและสร้างสังคมคุณภาพอย่างยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และสังคมมีความเข้มแข็ง มีศักยภาพรองรับความเปลี่ยนแปลง
โดยมีกลยุทธ์ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันความเข้มแข็งทางสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีศักยภาพ เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานเชิงรุก อนุรักษ์
ฟื้นฟู
และควบคุมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่าและเป็นธรรม
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น