เมื่อ ๑๑ ก.ค.
๕๖ นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำทีมผู้บริหารกระทรวงฯ
เข้าพบ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
เพื่อประชุมประสานความร่วมมือและแนวทางการทำงาน
ระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.)
ในเรื่องการป้องกันและปราบปรามปัญหาการค้ามนุษย์
และการดำเนินงานของศูนย์ช่วยเหลือสังคม OSCC (One
Stop Crisis Center) โทร. ๑๓๐๐ ตลอด ๒๔ ชม. ณ ห้องรับรอง ชั้น ๒ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
นางปวีณา กล่าวว่ากระทรวงฯ
ได้ประชุมหารือกับทางสตช. และได้ข้อสรุป ๔ ประเด็นดังนี้ ๑) เรื่อง OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม เพื่อให้การขับเคลื่อน OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม
ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ขอความร่วมมือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังนี้ ๑.๑) การให้การสนับสนุนกำลังตำรวจหน่วยต่างๆ
เพื่อร่วมปฏิบัติงานที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม ๒๔
ชั่วโมง ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ทั้งนี้มีหน่วยงานเครือข่ายและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ร่วมกันให้บริการแก้ไขปัญหาต่างๆ ๑.๒)
การกำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ณ สถานีตำรวจทุกแห่ง
ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยรับแจ้งเหตุ/ เบาะแส (Front Line ๑) ของ OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม
และโดยเฉพาะตำรวจได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพในประเด็นปัญหาการค้ามนุษย์
ตามนโยบายของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (ต้องถ่ายทอดให้เกิดความรู้
ความเข้าใจแก่ผู้ปฏิบัติในพื้นที่อย่างทั่วถึง ๒.) เรื่องการค้ามนุษย์ เพื่อให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย และมีประสิทธิภาพสูงสุด
อีกทั้งเพื่อไม่ให้ประเทศไทยถูกสหรัฐฯ ปรับลดระดับลงไปอยู่ในระดับ ๓ (Tier
3) ซึ่งสหรัฐฯ
อาจพิจารณาระงับการให้ความช่วยเหลือที่มิใช่ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและความช่วยเหลือที่เกี่ยวกับการค้า
จึงมีประเด็นที่จะขอความร่วมมือจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังนี้ ๒.๑)
การคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ในการวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
แม้ว่าจะกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน แต่อย่างไรก็ตาม
เรื่องของการค้ามนุษย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะกับบุคคลกลุ่มเสี่ยง
เช่น เด็ก หญิง และชาย ดังนั้น ในการดำเนินการคัดแยกผู้เสียหาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่พบผู้เสียหายหรือบุคคลที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก
ขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินงานร่วมกับ พม. และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง
ในรูปแบบการทำงานแบบสหวิชาชีพโดยใกล้ชิด นอกจากนี้ ขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติอบรมให้ความรู้แก่พนักงานสอบสวนอย่างต่อเนื่องถึงเทคนิคและวิธีการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ๒.๒)
สถิติคดีค้ามนุษย์ เนื่องจากสหรัฐฯ
ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการดำเนินคดีค้ามนุษย์ ซึ่งผลการดำเนินคดีในปี ๒๕๕๖
ที่มีจำนวนมากถึง ๓๐๕ คดี จึงมีประเด็นห่วงกังวล คือ
คดีทั้งหมดเป็นคดีค้ามนุษย์หรือไม่
และสามารถส่งสำนวนให้อัยการดำเนินการสั่งฟ้องได้เท่าใด
อัยการสั่งฟ้อง/สั่งไม่ฟ้องจำนวนเท่าใด เหตุผลที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง เป็นต้น
จึงขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งรัดจับกุมตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ
และติดตามความคืบหน้าของคดีทั้งหมด เพื่อจะได้จัดทำข้อมูลส่งสหรัฐฯ ได้ทันการณ์
และรอบคอบ ๒.๓)การทุจริตคอร์รัปชั่น หากพบว่ามีเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายรายใดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการล่อซื้อเพื่อใช้บริการทางเพศกับเด็ก
การคุ้มครองสถานประกอบที่มีการค้ามนุษย์
ขอให้ดำเนินการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ดังกล่าว เพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่าง
และให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นอีกด้วย
๓.) เรื่องการศึกษาดูงานห้อง
Conference ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เนื่องจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีนโยบายจะจัดทำห้อง Conference
โดยปรับปรุงจากห้องประชุมเดิมที่มีอยู่
จึงขอความร่วมมือในการศึกษาดูงานห้อง Conference ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
๔.) เรื่องขอความร่วมมือจัดส่งเจ้าหน้าที่อบรมกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงฯ
กระทรวงฯ
มีภารกิจในการเตรียมบุคลากรเพื่อเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในกฎหมาย ๓ ฉบับ ได้แก่ ๑)
พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ ๒)
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ และ ๓)
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีอัตรากำลังพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ
ดังนั้น เพื่อให้ผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรงทั้งเด็ก สตรี ตลอดจนผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ได้รับการคุ้มครองอย่างรวดเร็ว
จึงขอความร่วมมือสำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดส่งเจ้าหน้าที่เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมตามกฎหมายทั้ง
๓ ฉบับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ (๙ ภาค และ บชน. ภาคละ ๑๐ คน รวม ๑๐๐ คน)
และองค์กรพัฒนาเอกชน ชุมชน อย่างละ ๓๐ แห่ง รวมกลุ่มเป้าหมาย ๒๐๐ คน
เพื่อเน้นการมีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายในการปฏิบัติงาน
รวมทั้งออกบัตรพนักงานเจ้าหน้าที่ (บัตรช่วยเหลือฉุกเฉิน) เพื่อแสดงตนเมื่อเข้าเคหะสถานหรือสถานที่เกิดเหตุ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
: www.twitter.com/prd_mso และ www.facebook.com/ประชาสัมพันธ์ พม.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
“
สังคมงอกงาม เพราะเราดูแล ”
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น