สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550
มาตรา 246 วรรคท้าย บัญญัติให้มีการจัดตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัดขึ้น
โดยคุณสมบัติ กระบวนการสรรหา และอำนาจหน้าที่ ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
เพื่อประสานความร่วมมือกับประชาชนที่ประสงค์จะเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้แก่ ผู้กล่าวหา
ผู้เสียหาย ผู้ทำคำร้อง ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ให้ถ้อยคำ
หรือผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลใดเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ การร่ำรวยผิดปกติ หรือข้อมูลอื่นอันเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงได้มีมติให้จัดตั้งศูนย์บริหารงาน
ป.ป.ช. จังหวัด และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด เพื่อให้ภารกิจและการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตประจำจังหวัดบรรลุเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ปัจจุบันมีการจัดตั้งสำนักงาน
ป.ป.ช. ประจำจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อให้การทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในระดับพื้นที่ได้ครอบคลุมครบทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย
ดังนั้น
จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เกี่ยวกับสำนักงาน
ป.ป.ช. ประจำจังหวัด การคัดเลือกคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. และสรรหากรรมการ
ป.ป.จ. ที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ
และมีความตั้งใจเข้ามาสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านป้องกันและปราบปรามการทุจริตในพื้นที่ ให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดคุณสมบัติของหน่วยงานหรือองค์กร 9 ประเภท
ที่สามารถสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการสรรหา
กรรมการ ป.ป.จ.
1. สมาคมหรือชมรมครู อาจารย์ หรือสมาคมทางด้านการศึกษา ต้องเป็นหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) เป็นสมาคมหรือชมรม
ก. เป็นสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งตามมาตรา 78 ได้ให้คำจำกัดความของสมาคมไว้ว่า “การก่อตั้งสมาคมเพื่อกระทำการใดๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน ต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้”
ข. เป็นชมรมซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายว่า ที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล ที่ประชุมของกลุ่มบุคคลที่มีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน
(๒) เป็นสมาคมหรือชมรมซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มบุคคลดังต่อไปนี้
ก. ครูหรืออาจารย์ หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียน การสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาปฐมวัยขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน หรือ
ข. ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัยขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน และหมายความรวมถึง บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ค. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่น
ก. เป็นสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งตามมาตรา 78 ได้ให้คำจำกัดความของสมาคมไว้ว่า “การก่อตั้งสมาคมเพื่อกระทำการใดๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน ต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้”
ข. เป็นชมรมซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายว่า ที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล ที่ประชุมของกลุ่มบุคคลที่มีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน
(๒) เป็นสมาคมหรือชมรมซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มบุคคลดังต่อไปนี้
ก. ครูหรืออาจารย์ หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียน การสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาปฐมวัยขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน หรือ
ข. ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัยขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน และหมายความรวมถึง บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ค. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่น
(๓) สมาชิกของสมาคมหรือชมรมต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา โดยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาตามกฎหมายอื่นที่มีกฎหมายรับรองในทำนองเดียวกัน
โดย “วิชาชีพ”
หมายความว่า วิชาชีพทางการศึกษาที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งการรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัยขั้นพื้นฐาน
และอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน และการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ตลอดจนการสนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน
การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
(๔) วัตถุประสงค์ของสมาคมหรือชมรม
เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน
การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษา
2. สภาทนายความหรือผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย
ต้องเป็นหน่วยงานหรือองค์กร
ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
(๑)
สภาทนายความหรือสภาทนายความจังหวัด ตามกฎหมายว่าด้วยทนายความ
โดยทนายความ หมายความว่า
ผู้ที่สภาทนายความได้รับจดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ และ สภาทนายความ ประกอบด้วยคณะกรรมการสภาทนายความและสมาชิกสภาทนายความ มีวัตถุประสงค์ใน การส่งเสริมการศึกษาและการประกอบวิชาชีพทนายความ
ควบคุมมรรยาทของทนายความ ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิกสภาทนายความ
ส่งเสริมและจัดสวัสดิการให้ แก่สมาชิกสภาทนายความ และส่งเสริม ช่วยเหลือ แนะนำ
เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย ทั้งนี้ สภาทนายความจะมีสภาทนายความจังหวัดเพื่อทำหน้าที่ประสานงานและกำกับดูแลสมาชิกสภาทนายความในแต่ละจังหวัด
(๒)
องค์กรผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายอื่น
เนื่องจากผู้ประกอบวิชาชีพในทางกฎหมายนั้นมีอยู่หลายวิชาชีพ เช่น ผู้พิพากษา
อัยการ ทนายความ พนักงานสอบสวน ฯลฯ บางวิชาชีพเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมหรือความยุติธรรมโดยตรง
บางวิชาชีพมิได้เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมหรือความเป็นธรรมโดยตรง แต่ผู้ประกอบวิชาชีพต้องอาศัยความรู้ในทางกฎหมาย โดยมีองค์กรทางวิชาชีพทำหน้าที่ในการควบคุมจริยธรรมหรือจรรยาบรรณ
โดยทั่วไปการควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพทางจริยธรรมหรือจรรยาบรรณเป็น การควบคุมโดยการออกใบอนุญาตหรือการพักใช้ใบอนุญาตหรือการเพิกถอนใบอนุญาตเช่นเดียวกับทนายความเป็นต้น และหากการประกอบวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพ
ทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย
นอกจากผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องรับผิดชอบในทางจริยธรรมหรือทางจรรยาบรรณแล้ว
ผู้ประกอบวิชาชีพยังต้องรับผิดต่อผู้ได้รับความเสียหายในทางกฎหมายด้วย
3.
สมาคมหรือชมรมพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือสภาแรงงาน หรือสหภาพแรงงาน ต้องเป็นหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นสมาคมหรือชมรม ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยมีลักษณะเดียวกับข้อ
๓.๑ (๑) และสมาชิกของสมาคมหรือชมรมต้องเป็นพนักงานหรือลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
หรือตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
(๒)
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เป็นองค์กรตัวแทนของลูกจ้างในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจซึ่งก่อตั้งขึ้นตามกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
โดยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งมีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจได้เพียงสหภาพแรงงานเดียวเท่านั้น และลูกจ้างคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจได้เพียงแห่งเดียว โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน
พิจารณาช่วยเหลือสมาชิกตามคำร้องทุกข์ แสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างของลูกจ้าง
ดำเนินการและให้ความร่วมมือเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและรักษาผลประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ
(๓)
สภาแรงงานหรือสหภาพแรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน โดยกฎหมายดังกล่าวมิได้ใช้บังคับแก่ราชการส่วนกลาง
ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
และรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หรือในกรณีมีการออกกฎกระทรวงเพื่อมิให้ใช้บังคับทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่นายจ้างประเภทหนึ่งประเภทใด
ซึ่งลูกจ้างตามกฎหมายดังกล่าว คือ
ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร
และในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใด
ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ได้
นอกจากนั้นลูกจ้างยังมีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
หรือเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาแรงงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
และระหว่างลูกจ้างด้วยกัน
(๔) วัตถุประสงค์ของสมาคมหรือชมรมพนักงานรัฐวิสาหกิจ
หรือสภาแรงงาน หรือสหภาพแรงงาน โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน
หรือพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกในการคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างของลูกจ้าง
4.
สภาหอการค้าจังหวัดหรือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหรือชมรมธนาคารพาณิชย์จังหวัด ต้องเป็นหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
(๑) หอการค้าจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยหอการค้า โดยหอการค้าคือสถาบันที่บุคคลหลายคนจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้า
การบริการ การประกอบวิชาชีพอิสระ อุตสาหกรรมเกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ
อันมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันกัน และหอการค้ามี ๔ ประเภท ได้แก่
๑) หอการค้าจังหวัด
๒) หอการค้าไทย
๓) หอการค้าต่างประเทศ และ
๔) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
โดยหอการค้าจังหวัดเป็นหน่วยงานหรือองค์กรส่งเสริมการค้าของแต่ละจังหวัด
(๒)
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือสำนักงานสาขาในจังหวัดหรือกลุ่มอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ที่เป็นตัวแทนของภาคอุตสาหกรรมเอกชนของประเทศไทย
มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานเพื่อประสานนโยบายภาครัฐกับเอกชน
ส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอุตสาหกรรม
ศึกษาและหาทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมและกิจการที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา วิจัย วิเคราะห์ ทดสอบ
ทดลอง อบรม เผยแพร่วิชาการและเทคโนโลยีเกี่ยวกับอุตสาหกรรมให้แก่สมาชิก และอาจจัดเป็นบริการแก่สาธารณชนด้วยก็ได้
ตรวจสอบสินค้า
ออกใบรับรองแหล่งกำเนิดหรือใบรับรองคุณภาพของสินค้า ให้คำปรึกษาและเสนอข้อแนะนำแก่รัฐบาลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมของประเทศ
ส่งเสริมนักอุตสาหกรรมและเป็นศูนย์กลางสำหรับนักอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์ต่อวงการอุตสาหกรรม
ควบคุมดูแลให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรม และกิจการที่เกี่ยวข้อง
เพื่อชื่อเสียงและเกียรติภูมิของวงการอุตสาหกรรม และปฏิบัติกิจการอื่น ๆ
ตามแต่จะมีกฎหมายระบุให้เป็นหน้าที่ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หรือตามที่ทางราชการมอบหมาย โดยมีการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขึ้นในแต่ละจังหวัดตามข้อบังคับ
(๓) ชมรมธนาคารพาณิชย์จังหวัด คือ กลุ่มธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์และสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์
ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่มีจุดประสงค์ร่วมกันเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อ ทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น (ก) ให้สินเชื่อ (ข) ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด
(ค) ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ เป็นต้น
5. กลุ่มอาสาสมัคร ต้องเป็นหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งมีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
กลุ่มบุคคลซึ่งอาสาเข้ามาทำงาน (volunteer) โดยเป็นผู้ที่สมัครใจทำงานเพื่อประโยชน์แห่งประชาชนและสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงินหรือสิ่งอื่นใด
บุคคลที่อาสาเข้ามาช่วยเหลือสังคมด้วยความสมัครใจ เสียสละ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น
ป้องกัน แก้ไขปัญหา และพัฒนาสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของกลุ่มอาสาสมัครต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข
3 ประการ คือ
๑)
ทำงานด้วยความสมัครใจไม่ใช่ด้วยการถูกบังคับหรือเป็นเพราะหน้าที่
๒) เป็นงานเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและสังคมหรือสาธารณประโยชน์
และ
๓) ทำโดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงินหรือสิ่งของมีมูลค่าแทนเงิน
(๒) มูลนิธิ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๐ โดยมูลนิธิ คือ
ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา
ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น
โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน
และได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว
6. องค์กรเอกชน
ต้องเป็นหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่ใช่ภาคราชการ
และไม่ใช่ภาคธุรกิจที่แสวงหากำไร
ก่อตั้งขึ้นและดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลที่มีความมุ่งมั่นในการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคม
โดยเฉพาะปัญหาด้านคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนผู้ด้อยโอกาสและประชาชนผู้ทุกข์ยากอันเกิดจากผลกระทบของการพัฒนา
อาจจัดตั้งขึ้นในรูปแบบองค์กรหรือมูลนิธิ หรือสมาคมหรือ หน่วยงานที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น
ซึ่งมีลักษณะเป็นสถาบันนอกระบบราชการรวมตัวกันขึ้นตามกลุ่มวิชาชีพ
กลุ่มศึกษา กลุ่มสนใจ หรือกลุ่มที่มีเป้าหมายร่วมกัน
ทั้งนี้เพื่อที่จะดำเนินบทบาทในการช่วยเหลือและช่วยคลี่คลายปัญหาในสังคม
การบริการสังคม รวมทั้งการพัฒนาสังคม โดยมิได้แสวงหากำไรหรือผลประโยชน์ใด
แต่เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความมุ่งมั่นอยากเห็นปัญหาสังคมได้รับการแก้ไข
โดยมุ่งที่จะส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง
สร้างความยั่งยืนต่อสภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวม
จึงอาจสรุปได้ว่าองค์กรเอกชนมีลักษณะดังต่อไปนี้
(๑)
วัตถุประสงค์ขององค์กร
เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานพัฒนาสังคมโดยเน้นการพัฒนาคนและการมีส่วนร่วมของประชาชน
(๒) สถานะขององค์กร
เป็นองค์กรที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่จดทะเบียนก็ได้และในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะต้องมีการจัดองค์กรเป็นคณะบุคคล
ขึ้นมาดูแลรับผิดชอบในการดำเนินกิจการอย่างมีระเบียบแบบแผนตามสมควร
(๓) องค์กรที่ดำเนินงานโดยอิสระ
โดยมีกิจกรรมต่อเนื่องและไม่แสวงหาผลประโยชน์ หรือค้ากำไร
7.
องค์กรเกษตรกร ต้องเป็นหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑)
พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรภายในจังหวัด
(๒)
ประสานนโยบายและการดำเนินงานระหว่างองค์กรเกษตรกร เกษตรกร สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา
และหน่วยงานของรัฐ
(๓)
ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มขององค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร
และยุวเกษตรกรในจังหวัด ในรูปแบบต่าง ๆ
(๔) เสนอแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติเพื่อบูรณาการเป็นแผนแม่บทเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
(๕) สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา การฝึกอบรม
และการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรและยุวเกษตรกร
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างครบวงจรและยั่งยืน
(๖)
เสนอนโยบายและแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรมรวมทั้งราคาผลผลิตทางเกษตรกรรมที่ไม่เป็นธรรมต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๗)
ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำแก่เกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกร
8.
สมาคมหรือชมรมสื่อมวลชน
(๑) เป็นสมาคมหรือชมรม
ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยมีลักษณะเดียวกับข้อ 3.๑ (๑)
(๒) เป็นองค์กรหรือกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน
(๓) วัตถุประสงค์ขององค์กรหรือกลุ่มบุคคล
เพื่อทำหน้าที่ปกป้องสิทธิ เสรีภาพ
และความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน
หรือทำหน้าที่ในการส่งเสริมหรือสนับสนุนการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน
โดยมีการดำเนินการในลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน
9. หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
ตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ
โดยมีการแบ่งส่วนราชการของจังหวัดดังนี้
(๑)
สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัด ของจังหวัดนั้น มีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
(๒)
ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรม นั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆ
เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น