น้ำท่วมสวนส้มโอนครชัย หวั่นวิตกสวนล่มสูญเสียหนัก
อุทกภัยที่จังหวัดนครปฐม ล่าสุดน้ำไหลน้ำท่วมสวนส้มโอนครชัย หวั่นวิตกสวนล่มสูญเสียหนัก
อุทกภัยที่จังหวัดนครปฐม ล่าสุดน้ำไหลเข้าท่วมสวนส้มโอหลายพันไร่ ชาวสวนหวั่นวิตกหากสวนล่ม ส้มโอยืนตายจะสร้างความสูญเสียทั้งเศรษฐกิจและแหล่งผลิตส้มโอพันธุ์ดี เมื่อวันที่ ๔ พ.ย. ๕๔สุชาดา พรหมจำรัส/ส.ปชส.นครปฐ ได้รายงานมาว่า..จากการเกิดอุทกภัยที่จังหวัดนครปฐมจนถึงขณะนี้ น้ำได้ไหลเข้าท่วมสวนส้มโอในพื้นที่ อำเภอนครชัยศรี และสามพรานแล้ว หากระดับน้ำยังไม่ลดลงภายใน ๒ สัปดาห์ คาดว่า จังหวัดนครปฐมจะสูญเสียแหล่งปลูกส้มโอพันธุ์นครชัยศรี ซึ่งทำรายได้เข้าจังหวัดในแต่ละปีนับหลายร้อยล้านบาทไปอย่างน่าเสียดาย ส้มโอนครชัยศรี ซึ่งเป็นผลไม้ที่นิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และมีชื่อเสียงมาช้านาน โดยปลูกกันมากในพื้นที่อำเภอนครชัยรี สามพราน และอำเภอพุทธมณฑล กว่า ๔ พันไร่ จนเมื่อเร็วๆนี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) ในฐานะเป็นผู้ผลิตผู้ประกอบการส้มโอ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เป็นประกันถึงรสชาติและถิ่นกำเนิด และเมื่อสามวันที่ผ่านมามวลน้ำระลอกใหม่ได้ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่หลายตำบล โดยเฉพาะตำบลไร่ชิง บางเตย ทรงคะนอง และตำบลหอมเกร็ด ซึ่งเป็นแหล่งส้มโอแหล่งใหญ่ของอำเภอสามพราน สร้างความหวาดวิตกให้กับชาวสวนจำนวนมาก โดยน้ำจากแม่น้ำท่าจีนได้ไหลบ่าท่วมขังตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมาระดับน้ำในสวนสูง 2 เมตร เพราะหากน้ำยังท่วมขังเกิน ๒ สัปดาห์ จะทำให้ต้นส้มโอรากเน่า ใบร่วงยืนตายในที่สุด ซึ่งจะส่งผลเสียหายนับทวีคูณ เพราะนอกจากจะขาดรายได้เข้าจังหวัดเฉลี่ยกว่า ๒๐๐ ล้านบาทต่อปีแล้ว ยังอาจสูญเสียแหล่งผลิตส้มโอนครชัยศรีที่มีชื่อเสียงมาช้านานอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากส้มโอมีอายุในการเก็บเกี่ยวผลผลิตยาวนานถึง 25 ปี หากมีการปลูกใหม่ต้องใช้เวลา 4 ปี ถึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ และสิ่งที่สำคัญเกษตรกรไม่สามารถหาสายพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพได้ดังเดิม เนื่องจากส้มโอนครชัยศรี เป็นผลไม้ที่นิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ (สุชาดา พรหมจำรัส/ส.ปชส.นครปฐม)
โครงการชลประทานนครปฐมสรุปรายงานสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดนครปฐมประจำวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554
นายมรกต คงทน ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครปฐม ได้รับแจ้งจาก นายชูชาติ รักจิตร ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครปฐม รายงานว่าสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 โดยพิจารณาจากสภาพน้ำท่าเป็นเกณฑ์ ยังต้องเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน ช่วงตั้งแต่ อำเภอบางเลน-อำเภอสามพราน นอกจากนี้ในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดนครปฐม ก็มีน้ำท่วมขังอยู่ สภาพน้ำท่วมข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมเมื่อวันที่ 2 พย.54 มีพื้นที่น้ำท่วมรวมทั้งสิ้น569,053 ไร่ สามารถแยกพื้นที่น้ำท่วมเป็นรายอำเภอได้ดังนี้ คือ อำเภอบางเลน จำนวน 323,737 ไร่, อำเภอดอนตูม จำนวน 51,904 ไร่, อำเภอกำแพงแสน จำนวน 64,168 ไร่, อำเภอเมืองนครปฐม จำนวน 10,636 ไร่, อำเภอนครชัยศรี จำนวน 67,996 ไร่, อำเภอสามพราน จำนวน 16,406 ไร่, และอำเภอพุทธมณฑล จำนวน 35,206 ไร่ ส่วนสถานการณ์น้ำ ในวันถัดไป(5 พ.ย.54) อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งตรวจสอบแนวป้องกัน โดยพิจารณาจากข้อมูลระดับน้ำ ที่สถานีวัดน้ำบ้านบางการ้อง ต.บางเถร อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ระดับน้ำวัดได้ 3.89 เมตร สูงกว่าระดับตลิ่ง 89 เซนติเมตร (ระดับน้ำทรงตัว) ปริมาณน้ำที่ไหลบ่ามาจากพื้นที่เกษตรด้านบน (ทุ่งผักไห่และทุ่งเจ้าเจ็ด) ทำให้ระดับน้ำในคลองพระยาบันลือ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะนี้ต่ำกว่าตลิ่งหรือแนวป้องกันที่เสริมใหม่อยู่ 30 เซนติเมตร ระดับน้ำทรงตัว (ระดับตลิ่งใหม่ครั้งที่ 3 เท่ากับ 4.30 เมตร) และได้มีการเปิดบานระบาย ที่ประตูระบายน้ำพระยาบันลือเพื่อระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีน และเปิดรับน้ำเข้าพื้นที่เกษตรฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน บริเวณตำบลบัวปากท่า อำเภอบางเลน ซึ่งจะส่งผลถึงอำเภอนครชัยศรี และอำเภอพุทธมณฑล
สำหรับสภาพน้ำท่าในแม่น้ำท่าจีน ที่จุดตรวจวัดระดับน้ำและปริมาณน้ำมี 4 จุดเมื่อวันที่ 4 พย.54 เวลา 05.00 น. คือ ที่สถานีวัดน้ำบ้านบางการ้อง(T13) จังหวัดสุพรรณบุรี ระดับน้ำท่าจีน 3.89 เมตร จากระดับตลิ่ง 3.00 เมตร เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 89 เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 ระดับน้ำเท่าเดิม (เตือนภัย ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน สูงกว่าตลิ่งเกิดสภาวะน้ำท่วม) สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ สถานีวัดน้ำบางไทรป่า(T15) ระดับน้ำท่าจีน 3.37 เมตรจากระดับตลิ่ง 2.20 เมตร เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.17 เมตร เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 ระดับเท่าเดิม(เตือนภัย ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน สูงกว่าตลิ่งเกิดสภาวะน้ำท่วม) สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ สถานีวัดน้ำนครชัยศรี(T1) ระดับน้ำท่าจีน 2.74 เมตร จากระดับตลิ่ง 1.70 เมตร เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.04 เมตร เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 1 ซม. (เตือนภัย ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน สูงกว่าตลิ่งเกิดสภาวะน้ำท่วม) สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ และสถานีวัดน้ำบ้านตลาดสามพราน(T14) ระดับน้ำท่าจีน 4.17 เมตร จากระดับตลิ่ง 4.00เมตร ระดับน้ำวันนี้(4 พย.54)สูงกว่าตลิ่ง 17 เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 เพิ่มขึ้น 4 เซนติเมตร สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ (วันที่ 3 พย.54 เวลา 14.00 น. ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีนสูงกว่าตลิ่ง 49 เซนติเมตร ทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วม)
ส่วนสภาพน้ำท่าในคลองสายสำคัญ ได้แก่คลองพระยาบันลือ(G1) ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 30 เซนติเมตร ระดับตลิ่งใหม่ครั้งที่ 3 เท่ากับ 4.30 เมตร ระดับน้ำทรงตัว เปิดบานระบายด้านติดแม่น้ำท่าจีน 58.07 ลบ.ม./วินาที และเปิดบานประตูสถานีสูบน้ำลงสู่แม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณน้ำ 40.85 ลบ.ม.ต่อวินาที,คลองพระพิมล(G4) ระดับน้ำวันนี้(4 พ.ย.54)สูงกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 1.49 เมตร ระดับน้ำทรงตัว เปิดบานระบายด้านติดแม่น้ำท่าจีน 9.42 ลบ.ม./วินาที จึงต้องเร่งระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงแม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณ 6.00 ลบ.ม.ต่อวินาที มีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง อยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด,
คลองมหาสวัสดิ์(G7) ระดับน้ำวันนี้(4 พ.ย.54)สูงกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 1.41 เมตร เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 2 พย.54 เพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร มีการเปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน 20.89 ลบ.ม./วินาที และเร่งระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงสู่แม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณ 9.00 ลบ.ม.ต่อวินาที และต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด, คลองบางภาษี(G5) ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.77 เมตร เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 3 พย.54 เพิ่มขึ้น 4 เซนติเมตร ต้องเปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน 26.97 ลบ.ม./วินาที ซึ่งมีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดคลองลำพญา(G6) ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.55 เมตร เปรียบเทียบกับเมื่อวันที่ 3 พย.54 เพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร ปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน ซึ่งมีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและคลองประชาศรัย(G3) ระดับน้ำวันนี้(4 พย.54) สูงกว่าตลิ่ง 1.29 เมตร เปรียบเทียบกับเมื่อวันที่ 3 พย.54 ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร มีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง เปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน 6.67 ลบ.ม/วินาที อยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดสรุปข้อมูลน้ำ ณ วันที่ 3 พย.54 พื้นที่น้ำท่วมขัง 569,053 ไร่ ปริมาณน้ำท่วมสะสม 1,037.95 ล้าน ลบ.ม. (ค่าความลึกเฉลี่ย 1.14 ม.)อ้างอิงภาพถ่ายดาวเทียม 2 พย.54และปริมาณน้ำที่ไหลเข้าจังหวัดนครปฐมดังนี้
1. มาจาก ปตร.โพธิ์พระยา จ.สุพรรณบุรี ปริมาณน้ำ 27.59 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 319.28 ลบ.ม./วินาที
2. รับเข้าคลองพระยาบันลือ ปริมาณน้ำ 69.78 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 807.60 ลบ.ม./วินาที
3. มาจาก จ.นนทบุรี ปริมาณน้ำ 5.03 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 58.27 ลบ.ม./วินาที
4. ปริมาณน้ำ Side Flow จากลำน้ำ ปริมาณน้ำ 1.77 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 20.51 ลบ.ม./วินาที
สาขาและจากการสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่ที่ท่วมขังรวมปริมาณน้ำที่ไหลเข้า จ.นฐ.ทั้งหมด ปริมาณน้ำ 104.17 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 1205.66 ลบ.ม./วินาที แต่น้ำไหลออกจาก จ.นฐ. ที่ อ.นครชัยศรี ปริมาณน้ำค่าเฉลี่ย 73.38 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 849.34 ลบ.ม./วินาที สรุป ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าในพื้นที่มากกว่าปริมาณน้ำที่ไหลออกจากพื้นที่ จ.นฐ. จำนวน 30.79 ล้าน ลบ.ม./วัน
พื้นที่น้ำท่วมเพิ่มขึ้น 9,944 ไร่(เปรียบเทียบภาพถ่ายดาวเทียม 2 พย.54 กับ 30 ตค.54) อนึ่งในวันที่ 4 พย.54 การระบายน้ำจะมีผลกระทบในช่วงน้ำทะเลหนุน ซึ่งเวลาน้ำทะเลหนุนสูง เวลา 15.00 น.น้ำขึ้นที่บริเวณอำเภอสามพราน และเวลา 05.00 น.ของวันที่ 5 พย.54 น้ำขึ้นที่บริเวณอำเภอนครชัยศรี สำหรับการให้ความช่วยเหลือ ขณะนี้ชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังเฉพาะจุดในพื้นที่จังหวัดนครปฐม จำนวน 26 เครื่อง และได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำที่สะพานสำโรง-ลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 16 เครื่อง สลับหมุนเวียนเดินเครื่องครั้งละ 8 เครื่อง, ที่คลองลัดงิ้วราย –ไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จำนวน 2 เครื่อง, ที่คลองท่าเรือ-บางพระ อ.นครชัยศรี จำนวน 2 เครื่อง, ที่คลองวัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จำนวน 3 เครื่อง, ที่คลองเจดีย์บูชา อ.นครชัยศรี จำนวน 3 เครื่อง และที่สะพานรวมเมฆ อ.นครชัยศรี จำนวน 10 เครื่อง เพื่อช่วยเร่งระบายน้ำจากแม่น้ำท่าจีนให้ไหลลงสู่ทะเลให้เร็วขึ้น
ทั้งนี้ กรมชลประทานและกรมเจ้าท่าจะเริ่มเดินเครื่องผลักดันน้ำและเรือผลักดันน้ำพร้อมกันโดยเดินเครื่องผลักดันน้ำที่สะพานสำโรง-ลานตากฟ้า, สะพานรวมเมฆ และใช้เรือผลักดันน้ำ 4 จุด ได้แก่ อ.สามพราน, วัดไร่ขิง, วัดเทียนดัด และต.โพธิ์แก้ว ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 เวลา 18.00 น. และจะหยุดเดินเครื่องก่อนช่วงเวลาน้ำทะเลหนุนสูงอีกรอบประมาณ 1 ชั่วโมง สามารถติดตามข้อมูลรายละเอียดสถานการณ์น้ำประจำวันได้ที่http:88ridceo.rid.go.th/nkpathom/index1.php
ประชุมศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ของจังหวัดนครปฐม
เมื่อ 4 พย.54 นายนิมิต จันทน์วิมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ฯ ประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯ ณ ห้องประชุม ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัด โดยมี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าประชุมและรายงานผลการปฏิบัติงาน ดังนี้
โครงการชลประทานนครปฐม รายงานสถานการณ์น้ำวันนี้ (4 พ.ย. 2554 เวลา 06.00 น.)ปริมาณน้ำไหลเข้าในพื้นที่มีมากกว่าปริมาณน้ำที่ระบายออก 30.79 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน (ลดลงจากเมื่อวานนี้ 6.26 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน) ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการลดปริมาณการระบายน้ำจากประตูระบายน้ำพลเทพ ตามข้อสั่งการของกรมชลประทาน มีพื้นที่น้ำท่วมขัง 569,053 ไร่ (พื้นที่น้ำท่วม]f]’9,844 ไร่) ปริมาณน้ำท่วมสะสม 1,047.06 ล้าน ลบ.ม. (ค่าความลึกเฉลี่ย 1.15 ม.) จากการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในวันนี้ พิจารณาจากระดับน้ำในพื้นที่ 3 แนว คือ (1) แนวเหนือตลาดบางหลวง(ถนนทางไปวัดไผ่โรงวัว) และ (2) แนวถนนกำแพงแสน-บางเลน-นพวงษ์ ระดับน้ำทรงตัว คาดว่าระดับน้ำจะไม่เพิ่มขึ้น และ (3) แนวคลองมหาสวัสดิ์ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 1 ซม.(เมื่อวานนี้เพิ่มขึ้น 3 ซม.) จุดที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดคือแนวคลองมหาสวัสดิ์ และบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน อ.นครชัยศรี ซึ่งจะมีผลกระทบต่อพื้นที่ อ.พุทธมณฑล และ อ.สามพราน เนื่องจากเป็นน้ำหลากที่ไหลบ่าเข้ามาทางริมทางรถไฟ ปริมาณน้ำในคลองที่เอ่อล้นทางรถไฟระบายลงสู่แม่น้ำท่าจีน 22.90 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน สถานการณ์น้ำโดยภาพรวมคาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จะไม่รุนแรงไปมากกว่านี้ แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและเตรียมความพร้อมในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมต่อไป
อำเภอบางเลน รายงานว่า ระดับน้ำทรงตัวอยู่ที่ 4 เมตร คงที่เป็นวันที่ 6 แล้ว สถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้น สำหรับความช่วยเหลือ ได้รับการสนับสนุนเรือจาก สนง.ประมงจังหวัด จำนวน 2 ลำ แจกจ่ายไปยังผู้ประสบภัยแล้ว ขณะนี้มีน้ำท่วมในตำบลไผ่หูช้าง เป็นผลกระทบจากระดับน้ำยกตัวจาก อ.กำแพงแสน คาดว่าสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้
อำเภอสามพราน รายงานว่า ปริมาณน้ำยังมากอยู่ ได้เร่งดำเนินการสูบน้ำออกจากตลาดดอนหวายลงแม่น้ำท่าจีน ในพื้นที่ตำบลหอมเกร็ด ทรงคะนอง บางเตย บางระทึก กระทุ่มล้ม และท่าตลาด มีการป้องกันไว้แล้ว ตำบลคลองจินดาและตลาดจินดา ได้ผสมกำลังกันเร่งผันน้ำออกจากพื้นที่ในช่วงเวลาน้ำลง นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจาก ปภ.นครปฐม จำนวน 125 ลำ ไปยังผู้ประสบภัยในตำบลกระทุ่มล้มและบางระทึกแล้ว
และได้มีหน่วยงานอาทิ วิทยาลัยการอาชีพหนองแค สนับสนุนสุขาลอยน้ำ จำนวน 20 หลัง มอบให้ท้องถิ่นในพื้นที่ อ.บางเลน นครชัยศรี สามพราน และพุทธมณฑล, บริษัท ไม้ฝาเฌอร่า ได้สนับสนุนเรือและโฟมไว้สำหรับต่อแพ รวมทั้งส้วมพลาสติกพร้อมถุงดำ(แบบบุคคล) จำนวน 2,000 ชุด, บริษัท ยงสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ช่วยทำข้าวกล่องให้แก่ผู้ประสบภัยที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
สำหรับข้อสั่งการ ให้ ท้องถิ่นจังหวัด ขอความร่วมมือจากท้องถิ่นที่สามารถผลิตน้ำดื่มเองได้ สำรองน้ำดื่มเพื่อแจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่และเตรียมความพร้อมในยามฉุกเฉินต่อไป ด้านศูนย์พักพิงที่เปิดสถานที่ให้การรองรับผู้อพยพในจังหวัด รายงานการใช้กระแสไฟฟ้ามายัง ศปภ.นครปฐม เพื่อขอให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดฯ ติดตั้งมิเตอร์และพิจารณายกเว้นค่าไฟฟ้าในบริเวณจุดพักพิง และขอให้พลังงานจังหวัด สนับสนุนถังบรรจุและก๊าซหุงต้ม เพื่อใช้ในการประกอบอาหารให้แก่ผู้อพยพในจุดพักพิงหลัก 5 จุด คือ ม.ราชภัฏนครปฐม, ม.ศิลปากร, ม.เกษตรศาสตร์, วิทยาลัยเทคนิคและวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม ข่าวประชาสัมพันธ์ หากผู้ใดพบเห็นจระเข้ ขอให้แจ้งรายละเอียดสถานที่และเวลาที่พบ ได้ที่คุณมงคล ขาวเงิน โทรศัพท์ 082-8736181 / โรงพยาบาลจันทรุเบกษา อ.กำแพงแสน รับบริจาคโลหิตในวันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2554 และขอเชิญชวนประชาชนที่มีจิตอาสาร่วมกันผลิตก้อนจุลินทร์ย์ชีวภาพ หรือ EM Ball เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมต่อไป / ศูนย์พักพิง ม.ราชภัฎนครปฐม ขณะนี้ต้องการเครื่องอุปโภค บริโภค อาทิ ยารักษาโรค อุปกรณ์ในการปรุงอาหาร ของใช้เด็กอ่อน และของใช้ประจำวัน ผู้ประสงค์จะมอบสิ่งของต่างๆ สามารถติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ โทรศัพท์ 081-5567944 / วัดทุ่งน้อยสามัคคี อ.เมือง จ.นครปฐม อยู่ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 4 กิโลเมตร มีความยินดีต้องการเป็นจุดพักพิงสำหรับผู้ประสบอุทกภัย โดยวัดมีสถานที่รองรับผู้อพยพจำนวน 1,000 คน และสถานที่จอดรถ 500 คัน รวมทั้งมีอาหาร(เครื่องอุปโภคบริโภค) น้ำ ฯลฯ ไว้พร้อมต้อนรับผู้อพยพ ติดต่อได้ที่ โทรศัพท์ 081-3999784
แขวงการทางนครปฐมและสมุทรสาครรายงานเส้นทางในความรับผิดชอบที่มีน้ำท่วมขังดังนี้ แขวงการทางนครปฐม โทรศัพท์ 034-258856 คือเส้นทางหลวง
1. ทางหลวงหมายเลข 346 สายทางแยกลาดหลุมแก้ว-บางเลน ท้องที่อำเภอบางลน ที่ กม.44-51 น้ำท่วมเป็นแห่งๆ ระดับสูง 40-70 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้และไม่มีสายทางทดแทน
2. ทางหลวงหมายเลข 3094 สายทางแยกเข้านครชัยศรี ท้องที่อำเภอบางกระเบาที่ กม.0-2 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถผ่านได้
3. ทางหลวงหมายเลข 3097 สายทางพระประโทน-บ้านบ่อ ท้องที่อำเภอนครชัยศรี ที่ กม. 35-36 ระดับน้ำสูง 10 ซม. รถผ่านได้
4. ทางหลวงหมายเลข 3296 สายทางวัดสามง่าม-บางเลน ท้องที่อำเภอบางเลน ที่ กม.7-12 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 15 ซม. รถผ่านได้
5. ทางหลวงหมายเลข 3351 สายทางบางเลน-สุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอบางเลน ที่ กม. 3-17 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 10-20 ซม. รถผ่านได้
แขวงการทางสมุทรสาคร โทรศัพท์ 034-311040 คือเส้นทางหลวง
1. ทางหลวงหมายเลข 338 สายทางสามพราน-นครชัยศรี ท้องที่อำเอสามพราน ที่ กม.22-23 ระดับน้ำสูง 40-60 ซม. ใช้สาย 4 เพชรเกษม (นครชัยศรี-กรุงเทพ) รถไม่สามารถผ่านได้
2. ทางหลวงหมายเลข 3310 สายทางอ้อมน้อย-พุทธมณฑล ท้องที่อำเภอพุทธมณฑล ที่ กม. 9-10 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 40-50 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้และไม่มีเส้นทางทดแทน
3. ทางหลวงหมายเลข 3414 สายทางอ้อมน้อย-เขตการรถไฟ ท้องที่อำเภอพุทธมณฑล ที่ กม. 8-10 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 30-100 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้และไม่มีเส้นทางทดแทน
แขวงการทางกาญจนบุรี-สุพรรณบุรีที่ 2 โทรศัพท์ 034-552000 คือเส้นทางหลวง
1. ทางหลวงหมายเลข 3422 สายทางบัวปากท่า-สองพี่น้อง ท้องที่อำเภอบางเลน ที่ กม. 12-22 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถผ่านได้
(สุชาดา พรหมจำรัส/ส.ปชส.นครปฐม)รายงานเข้าท่วมสวนส้มโอหลายพันไร่ ชาวสวนหวั่นวิตกหากสวนล่ม ส้มโอยืนตายจะสร้างความสูญเสียทั้งเศรษฐกิจและแหล่งผลิตส้มโอพันธุ์ดี เมื่อวันที่ ๔ พ.ย. ๕๔สุชาดา พรหมจำรัส/ส.ปชส.นครปฐ ได้รายงานมาว่า..จากการเกิดอุทกภัยที่จังหวัดนครปฐมจนถึงขณะนี้ น้ำได้ไหลเข้าท่วมสวนส้มโอในพื้นที่ อำเภอนครชัยศรี และสามพรานแล้ว หากระดับน้ำยังไม่ลดลงภายใน ๒ สัปดาห์ คาดว่า จังหวัดนครปฐมจะสูญเสียแหล่งปลูกส้มโอพันธุ์นครชัยศรี ซึ่งทำรายได้เข้าจังหวัดในแต่ละปีนับหลายร้อยล้านบาทไปอย่างน่าเสียดาย ส้มโอนครชัยศรี ซึ่งเป็นผลไม้ที่นิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และมีชื่อเสียงมาช้านาน โดยปลูกกันมากในพื้นที่อำเภอนครชัยรี สามพราน และอำเภอพุทธมณฑล กว่า ๔ พันไร่ จนเมื่อเร็วๆนี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) ในฐานะเป็นผู้ผลิตผู้ประกอบการส้มโอ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เป็นประกันถึงรสชาติและถิ่นกำเนิด และเมื่อสามวันที่ผ่านมามวลน้ำระลอกใหม่ได้ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่หลายตำบล โดยเฉพาะตำบลไร่ชิง บางเตย ทรงคะนอง และตำบลหอมเกร็ด ซึ่งเป็นแหล่งส้มโอแหล่งใหญ่ของอำเภอสามพราน สร้างความหวาดวิตกให้กับชาวสวนจำนวนมาก โดยน้ำจากแม่น้ำท่าจีนได้ไหลบ่าท่วมขังตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมาระดับน้ำในสวนสูง 2 เมตร เพราะหากน้ำยังท่วมขังเกิน ๒ สัปดาห์ จะทำให้ต้นส้มโอรากเน่า ใบร่วงยืนตายในที่สุด ซึ่งจะส่งผลเสียหายนับทวีคูณ เพราะนอกจากจะขาดรายได้เข้าจังหวัดเฉลี่ยกว่า ๒๐๐ ล้านบาทต่อปีแล้ว ยังอาจสูญเสียแหล่งผลิตส้มโอนครชัยศรีที่มีชื่อเสียงมาช้านานอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากส้มโอมีอายุในการเก็บเกี่ยวผลผลิตยาวนานถึง 25 ปี หากมีการปลูกใหม่ต้องใช้เวลา 4 ปี ถึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ และสิ่งที่สำคัญเกษตรกรไม่สามารถหาสายพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพได้ดังเดิม เนื่องจากส้มโอนครชัยศรี เป็นผลไม้ที่นิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ (สุชาดา พรหมจำรัส/ส.ปชส.นครปฐม)
โครงการชลประทานนครปฐมสรุปรายงานสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดนครปฐมประจำวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554
นายมรกต คงทน ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครปฐม ได้รับแจ้งจาก นายชูชาติ รักจิตร ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครปฐม รายงานว่าสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 โดยพิจารณาจากสภาพน้ำท่าเป็นเกณฑ์ ยังต้องเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน ช่วงตั้งแต่ อำเภอบางเลน-อำเภอสามพราน นอกจากนี้ในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดนครปฐม ก็มีน้ำท่วมขังอยู่ สภาพน้ำท่วมข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมเมื่อวันที่ 2 พย.54 มีพื้นที่น้ำท่วมรวมทั้งสิ้น569,053 ไร่ สามารถแยกพื้นที่น้ำท่วมเป็นรายอำเภอได้ดังนี้ คือ อำเภอบางเลน จำนวน 323,737 ไร่, อำเภอดอนตูม จำนวน 51,904 ไร่, อำเภอกำแพงแสน จำนวน 64,168 ไร่, อำเภอเมืองนครปฐม จำนวน 10,636 ไร่, อำเภอนครชัยศรี จำนวน 67,996 ไร่, อำเภอสามพราน จำนวน 16,406 ไร่, และอำเภอพุทธมณฑล จำนวน 35,206 ไร่ ส่วนสถานการณ์น้ำ ในวันถัดไป(5 พ.ย.54) อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งตรวจสอบแนวป้องกัน โดยพิจารณาจากข้อมูลระดับน้ำ ที่สถานีวัดน้ำบ้านบางการ้อง ต.บางเถร อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ระดับน้ำวัดได้ 3.89 เมตร สูงกว่าระดับตลิ่ง 89 เซนติเมตร (ระดับน้ำทรงตัว) ปริมาณน้ำที่ไหลบ่ามาจากพื้นที่เกษตรด้านบน (ทุ่งผักไห่และทุ่งเจ้าเจ็ด) ทำให้ระดับน้ำในคลองพระยาบันลือ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะนี้ต่ำกว่าตลิ่งหรือแนวป้องกันที่เสริมใหม่อยู่ 30 เซนติเมตร ระดับน้ำทรงตัว (ระดับตลิ่งใหม่ครั้งที่ 3 เท่ากับ 4.30 เมตร) และได้มีการเปิดบานระบาย ที่ประตูระบายน้ำพระยาบันลือเพื่อระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีน และเปิดรับน้ำเข้าพื้นที่เกษตรฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน บริเวณตำบลบัวปากท่า อำเภอบางเลน ซึ่งจะส่งผลถึงอำเภอนครชัยศรี และอำเภอพุทธมณฑล
สำหรับสภาพน้ำท่าในแม่น้ำท่าจีน ที่จุดตรวจวัดระดับน้ำและปริมาณน้ำมี 4 จุดเมื่อวันที่ 4 พย.54 เวลา 05.00 น. คือ ที่สถานีวัดน้ำบ้านบางการ้อง(T13) จังหวัดสุพรรณบุรี ระดับน้ำท่าจีน 3.89 เมตร จากระดับตลิ่ง 3.00 เมตร เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 89 เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 ระดับน้ำเท่าเดิม (เตือนภัย ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน สูงกว่าตลิ่งเกิดสภาวะน้ำท่วม) สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ สถานีวัดน้ำบางไทรป่า(T15) ระดับน้ำท่าจีน 3.37 เมตรจากระดับตลิ่ง 2.20 เมตร เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.17 เมตร เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 ระดับเท่าเดิม(เตือนภัย ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน สูงกว่าตลิ่งเกิดสภาวะน้ำท่วม) สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ สถานีวัดน้ำนครชัยศรี(T1) ระดับน้ำท่าจีน 2.74 เมตร จากระดับตลิ่ง 1.70 เมตร เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.04 เมตร เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 1 ซม. (เตือนภัย ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน สูงกว่าตลิ่งเกิดสภาวะน้ำท่วม) สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ และสถานีวัดน้ำบ้านตลาดสามพราน(T14) ระดับน้ำท่าจีน 4.17 เมตร จากระดับตลิ่ง 4.00เมตร ระดับน้ำวันนี้(4 พย.54)สูงกว่าตลิ่ง 17 เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 เพิ่มขึ้น 4 เซนติเมตร สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ (วันที่ 3 พย.54 เวลา 14.00 น. ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีนสูงกว่าตลิ่ง 49 เซนติเมตร ทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วม)
ส่วนสภาพน้ำท่าในคลองสายสำคัญ ได้แก่คลองพระยาบันลือ(G1) ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 30 เซนติเมตร ระดับตลิ่งใหม่ครั้งที่ 3 เท่ากับ 4.30 เมตร ระดับน้ำทรงตัว เปิดบานระบายด้านติดแม่น้ำท่าจีน 58.07 ลบ.ม./วินาที และเปิดบานประตูสถานีสูบน้ำลงสู่แม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณน้ำ 40.85 ลบ.ม.ต่อวินาที,คลองพระพิมล(G4) ระดับน้ำวันนี้(4 พ.ย.54)สูงกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 1.49 เมตร ระดับน้ำทรงตัว เปิดบานระบายด้านติดแม่น้ำท่าจีน 9.42 ลบ.ม./วินาที จึงต้องเร่งระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงแม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณ 6.00 ลบ.ม.ต่อวินาที มีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง อยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด,
คลองมหาสวัสดิ์(G7) ระดับน้ำวันนี้(4 พ.ย.54)สูงกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 1.41 เมตร เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 2 พย.54 เพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร มีการเปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน 20.89 ลบ.ม./วินาที และเร่งระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงสู่แม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณ 9.00 ลบ.ม.ต่อวินาที และต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด, คลองบางภาษี(G5) ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.77 เมตร เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 3 พย.54 เพิ่มขึ้น 4 เซนติเมตร ต้องเปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน 26.97 ลบ.ม./วินาที ซึ่งมีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดคลองลำพญา(G6) ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.55 เมตร เปรียบเทียบกับเมื่อวันที่ 3 พย.54 เพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร ปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน ซึ่งมีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและคลองประชาศรัย(G3) ระดับน้ำวันนี้(4 พย.54) สูงกว่าตลิ่ง 1.29 เมตร เปรียบเทียบกับเมื่อวันที่ 3 พย.54 ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร มีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง เปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน 6.67 ลบ.ม/วินาที อยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดสรุปข้อมูลน้ำ ณ วันที่ 3 พย.54 พื้นที่น้ำท่วมขัง 569,053 ไร่ ปริมาณน้ำท่วมสะสม 1,037.95 ล้าน ลบ.ม. (ค่าความลึกเฉลี่ย 1.14 ม.)อ้างอิงภาพถ่ายดาวเทียม 2 พย.54และปริมาณน้ำที่ไหลเข้าจังหวัดนครปฐมดังนี้
1. มาจาก ปตร.โพธิ์พระยา จ.สุพรรณบุรี ปริมาณน้ำ 27.59 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 319.28 ลบ.ม./วินาที
2. รับเข้าคลองพระยาบันลือ ปริมาณน้ำ 69.78 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 807.60 ลบ.ม./วินาที
3. มาจาก จ.นนทบุรี ปริมาณน้ำ 5.03 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 58.27 ลบ.ม./วินาที
4. ปริมาณน้ำ Side Flow จากลำน้ำ ปริมาณน้ำ 1.77 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 20.51 ลบ.ม./วินาที
สาขาและจากการสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่ที่ท่วมขังรวมปริมาณน้ำที่ไหลเข้า จ.นฐ.ทั้งหมด ปริมาณน้ำ 104.17 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 1205.66 ลบ.ม./วินาที แต่น้ำไหลออกจาก จ.นฐ. ที่ อ.นครชัยศรี ปริมาณน้ำค่าเฉลี่ย 73.38 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 849.34 ลบ.ม./วินาที สรุป ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าในพื้นที่มากกว่าปริมาณน้ำที่ไหลออกจากพื้นที่ จ.นฐ. จำนวน 30.79 ล้าน ลบ.ม./วัน
พื้นที่น้ำท่วมเพิ่มขึ้น 9,944 ไร่(เปรียบเทียบภาพถ่ายดาวเทียม 2 พย.54 กับ 30 ตค.54) อนึ่งในวันที่ 4 พย.54 การระบายน้ำจะมีผลกระทบในช่วงน้ำทะเลหนุน ซึ่งเวลาน้ำทะเลหนุนสูง เวลา 15.00 น.น้ำขึ้นที่บริเวณอำเภอสามพราน และเวลา 05.00 น.ของวันที่ 5 พย.54 น้ำขึ้นที่บริเวณอำเภอนครชัยศรี สำหรับการให้ความช่วยเหลือ ขณะนี้ชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังเฉพาะจุดในพื้นที่จังหวัดนครปฐม จำนวน 26 เครื่อง และได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำที่สะพานสำโรง-ลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 16 เครื่อง สลับหมุนเวียนเดินเครื่องครั้งละ 8 เครื่อง, ที่คลองลัดงิ้วราย –ไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จำนวน 2 เครื่อง, ที่คลองท่าเรือ-บางพระ อ.นครชัยศรี จำนวน 2 เครื่อง, ที่คลองวัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จำนวน 3 เครื่อง, ที่คลองเจดีย์บูชา อ.นครชัยศรี จำนวน 3 เครื่อง และที่สะพานรวมเมฆ อ.นครชัยศรี จำนวน 10 เครื่อง เพื่อช่วยเร่งระบายน้ำจากแม่น้ำท่าจีนให้ไหลลงสู่ทะเลให้เร็วขึ้น
ทั้งนี้ กรมชลประทานและกรมเจ้าท่าจะเริ่มเดินเครื่องผลักดันน้ำและเรือผลักดันน้ำพร้อมกันโดยเดินเครื่องผลักดันน้ำที่สะพานสำโรง-ลานตากฟ้า, สะพานรวมเมฆ และใช้เรือผลักดันน้ำ 4 จุด ได้แก่ อ.สามพราน, วัดไร่ขิง, วัดเทียนดัด และต.โพธิ์แก้ว ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 เวลา 18.00 น. และจะหยุดเดินเครื่องก่อนช่วงเวลาน้ำทะเลหนุนสูงอีกรอบประมาณ 1 ชั่วโมง สามารถติดตามข้อมูลรายละเอียดสถานการณ์น้ำประจำวันได้ที่http:88ridceo.rid.go.th/nkpathom/index1.php
ประชุมศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ของจังหวัดนครปฐม
เมื่อ 4 พย.54 นายนิมิต จันทน์วิมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ฯ ประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯ ณ ห้องประชุม ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัด โดยมี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าประชุมและรายงานผลการปฏิบัติงาน ดังนี้
โครงการชลประทานนครปฐม รายงานสถานการณ์น้ำวันนี้ (4 พ.ย. 2554 เวลา 06.00 น.)ปริมาณน้ำไหลเข้าในพื้นที่มีมากกว่าปริมาณน้ำที่ระบายออก 30.79 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน (ลดลงจากเมื่อวานนี้ 6.26 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน) ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการลดปริมาณการระบายน้ำจากประตูระบายน้ำพลเทพ ตามข้อสั่งการของกรมชลประทาน มีพื้นที่น้ำท่วมขัง 569,053 ไร่ (พื้นที่น้ำท่วม]f]’9,844 ไร่) ปริมาณน้ำท่วมสะสม 1,047.06 ล้าน ลบ.ม. (ค่าความลึกเฉลี่ย 1.15 ม.) จากการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในวันนี้ พิจารณาจากระดับน้ำในพื้นที่ 3 แนว คือ (1) แนวเหนือตลาดบางหลวง(ถนนทางไปวัดไผ่โรงวัว) และ (2) แนวถนนกำแพงแสน-บางเลน-นพวงษ์ ระดับน้ำทรงตัว คาดว่าระดับน้ำจะไม่เพิ่มขึ้น และ (3) แนวคลองมหาสวัสดิ์ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 1 ซม.(เมื่อวานนี้เพิ่มขึ้น 3 ซม.) จุดที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดคือแนวคลองมหาสวัสดิ์ และบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน อ.นครชัยศรี ซึ่งจะมีผลกระทบต่อพื้นที่ อ.พุทธมณฑล และ อ.สามพราน เนื่องจากเป็นน้ำหลากที่ไหลบ่าเข้ามาทางริมทางรถไฟ ปริมาณน้ำในคลองที่เอ่อล้นทางรถไฟระบายลงสู่แม่น้ำท่าจีน 22.90 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน สถานการณ์น้ำโดยภาพรวมคาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จะไม่รุนแรงไปมากกว่านี้ แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและเตรียมความพร้อมในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมต่อไป
อำเภอบางเลน รายงานว่า ระดับน้ำทรงตัวอยู่ที่ 4 เมตร คงที่เป็นวันที่ 6 แล้ว สถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้น สำหรับความช่วยเหลือ ได้รับการสนับสนุนเรือจาก สนง.ประมงจังหวัด จำนวน 2 ลำ แจกจ่ายไปยังผู้ประสบภัยแล้ว ขณะนี้มีน้ำท่วมในตำบลไผ่หูช้าง เป็นผลกระทบจากระดับน้ำยกตัวจาก อ.กำแพงแสน คาดว่าสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้
อำเภอสามพราน รายงานว่า ปริมาณน้ำยังมากอยู่ ได้เร่งดำเนินการสูบน้ำออกจากตลาดดอนหวายลงแม่น้ำท่าจีน ในพื้นที่ตำบลหอมเกร็ด ทรงคะนอง บางเตย บางระทึก กระทุ่มล้ม และท่าตลาด มีการป้องกันไว้แล้ว ตำบลคลองจินดาและตลาดจินดา ได้ผสมกำลังกันเร่งผันน้ำออกจากพื้นที่ในช่วงเวลาน้ำลง นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจาก ปภ.นครปฐม จำนวน 125 ลำ ไปยังผู้ประสบภัยในตำบลกระทุ่มล้มและบางระทึกแล้ว
และได้มีหน่วยงานอาทิ วิทยาลัยการอาชีพหนองแค สนับสนุนสุขาลอยน้ำ จำนวน 20 หลัง มอบให้ท้องถิ่นในพื้นที่ อ.บางเลน นครชัยศรี สามพราน และพุทธมณฑล, บริษัท ไม้ฝาเฌอร่า ได้สนับสนุนเรือและโฟมไว้สำหรับต่อแพ รวมทั้งส้วมพลาสติกพร้อมถุงดำ(แบบบุคคล) จำนวน 2,000 ชุด, บริษัท ยงสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ช่วยทำข้าวกล่องให้แก่ผู้ประสบภัยที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
สำหรับข้อสั่งการ ให้ ท้องถิ่นจังหวัด ขอความร่วมมือจากท้องถิ่นที่สามารถผลิตน้ำดื่มเองได้ สำรองน้ำดื่มเพื่อแจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่และเตรียมความพร้อมในยามฉุกเฉินต่อไป ด้านศูนย์พักพิงที่เปิดสถานที่ให้การรองรับผู้อพยพในจังหวัด รายงานการใช้กระแสไฟฟ้ามายัง ศปภ.นครปฐม เพื่อขอให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดฯ ติดตั้งมิเตอร์และพิจารณายกเว้นค่าไฟฟ้าในบริเวณจุดพักพิง และขอให้พลังงานจังหวัด สนับสนุนถังบรรจุและก๊าซหุงต้ม เพื่อใช้ในการประกอบอาหารให้แก่ผู้อพยพในจุดพักพิงหลัก 5 จุด คือ ม.ราชภัฏนครปฐม, ม.ศิลปากร, ม.เกษตรศาสตร์, วิทยาลัยเทคนิคและวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม ข่าวประชาสัมพันธ์ หากผู้ใดพบเห็นจระเข้ ขอให้แจ้งรายละเอียดสถานที่และเวลาที่พบ ได้ที่คุณมงคล ขาวเงิน โทรศัพท์ 082-8736181 / โรงพยาบาลจันทรุเบกษา อ.กำแพงแสน รับบริจาคโลหิตในวันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2554 และขอเชิญชวนประชาชนที่มีจิตอาสาร่วมกันผลิตก้อนจุลินทร์ย์ชีวภาพ หรือ EM Ball เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมต่อไป / ศูนย์พักพิง ม.ราชภัฎนครปฐม ขณะนี้ต้องการเครื่องอุปโภค บริโภค อาทิ ยารักษาโรค อุปกรณ์ในการปรุงอาหาร ของใช้เด็กอ่อน และของใช้ประจำวัน ผู้ประสงค์จะมอบสิ่งของต่างๆ สามารถติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ โทรศัพท์ 081-5567944 / วัดทุ่งน้อยสามัคคี อ.เมือง จ.นครปฐม อยู่ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 4 กิโลเมตร มีความยินดีต้องการเป็นจุดพักพิงสำหรับผู้ประสบอุทกภัย โดยวัดมีสถานที่รองรับผู้อพยพจำนวน 1,000 คน และสถานที่จอดรถ 500 คัน รวมทั้งมีอาหาร(เครื่องอุปโภคบริโภค) น้ำ ฯลฯ ไว้พร้อมต้อนรับผู้อพยพ ติดต่อได้ที่ โทรศัพท์ 081-3999784
แขวงการทางนครปฐมและสมุทรสาครรายงานเส้นทางในความรับผิดชอบที่มีน้ำท่วมขังดังนี้ แขวงการทางนครปฐม โทรศัพท์ 034-258856 คือเส้นทางหลวง
1. ทางหลวงหมายเลข 346 สายทางแยกลาดหลุมแก้ว-บางเลน ท้องที่อำเภอบางลน ที่ กม.44-51 น้ำท่วมเป็นแห่งๆ ระดับสูง 40-70 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้และไม่มีสายทางทดแทน
2. ทางหลวงหมายเลข 3094 สายทางแยกเข้านครชัยศรี ท้องที่อำเภอบางกระเบาที่ กม.0-2 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถผ่านได้
3. ทางหลวงหมายเลข 3097 สายทางพระประโทน-บ้านบ่อ ท้องที่อำเภอนครชัยศรี ที่ กม. 35-36 ระดับน้ำสูง 10 ซม. รถผ่านได้
4. ทางหลวงหมายเลข 3296 สายทางวัดสามง่าม-บางเลน ท้องที่อำเภอบางเลน ที่ กม.7-12 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 15 ซม. รถผ่านได้
5. ทางหลวงหมายเลข 3351 สายทางบางเลน-สุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอบางเลน ที่ กม. 3-17 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 10-20 ซม. รถผ่านได้
แขวงการทางสมุทรสาคร โทรศัพท์ 034-311040 คือเส้นทางหลวง
1. ทางหลวงหมายเลข 338 สายทางสามพราน-นครชัยศรี ท้องที่อำเอสามพราน ที่ กม.22-23 ระดับน้ำสูง 40-60 ซม. ใช้สาย 4 เพชรเกษม (นครชัยศรี-กรุงเทพ) รถไม่สามารถผ่านได้
2. ทางหลวงหมายเลข 3310 สายทางอ้อมน้อย-พุทธมณฑล ท้องที่อำเภอพุทธมณฑล ที่ กม. 9-10 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 40-50 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้และไม่มีเส้นทางทดแทน
3. ทางหลวงหมายเลข 3414 สายทางอ้อมน้อย-เขตการรถไฟ ท้องที่อำเภอพุทธมณฑล ที่ กม. 8-10 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 30-100 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้และไม่มีเส้นทางทดแทน
แขวงการทางกาญจนบุรี-สุพรรณบุรีที่ 2 โทรศัพท์ 034-552000 คือเส้นทางหลวง
1. ทางหลวงหมายเลข 3422 สายทางบัวปากท่า-สองพี่น้อง ท้องที่อำเภอบางเลน ที่ กม. 12-22 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถผ่านได้
(สุชาดา พรหมจำรัส/ส.ปชส.นครปฐม)รายงาน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น