เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มหาชัยเคเบิลทีวี ได้จัดรายการสนทนาเตรียมรับมือน้ำท่วมสมุทรสาคร โดยเชิญอาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตศักดิ์ พุฒจร นักวิชาการเครือข่ายอาสาฝ่าน้ำท่วม และนายกุลวัชร หงษ์คู นายกเทศมนตรีนครสมุทรสาคร มาร่วมวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมสมุทรสาครและแนวทางการรับมือในขณะนี้โดยอาจารย์ศศิน ระบุว่า จากภาพถ่ายดาวเทียมจะเห็นว่า มวลน้ำจำนวนมหาศาลย้อยลงมาทางตะวันตก และก็เป็นดังคาดคือ น้ำข้ามคลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ ปิดถนนบรมราชนนี ถนนเพชรเกษม และตอนนี้น้ำกำลังท่วมจอมทอง เอกชัย ซึ่งเป้าหมายต่อไปคือถนนพระราม 2 และคงท่วมแน่ ๆ สำหรับจังหวัดสมุทรสาคร จะได้รับผลกระทบเพียงใดนั้น อาจารย์ศศิน ระบุว่าขอให้ทำความเข้าใจก่อนว่า จังหวัดสมุทรสาครเป็นเมืองชายฝั่งทะเล และอยู่บนที่ราบที่น้ำขึ้นถึง ทั้งน้ำจากทะเล และน้ำในคลองที่จะเอ่อขึ้นมาจากตัวเมือง ดังนั้น พื้นที่แถบนี้จะไม่ค่อยกลัวน้ำท่วม เพราะเวลาน้ำมาน้ำจะเข้าไปในคลองย่อย ๆ และหายไปเลย ยิ่งมีร่องสวน น้ำก็ยิ่งสลายได้เร็ว แต่ปีนี้ไม่เหมือนเดิม เพราะมวลน้ำจากกรุงเทพฯ ที่เดิมทีพยายามจะผันลงทางตะวันออก เพื่อให้ลงสมุทรปราการอย่างทุกปี แต่ปีนี้น้ำมาทางตะวันตกเยอะ เลยกลายเป็นสมุทรสาครที่ต้องระบายน้ำลงทะเล ดังนั้น สมุทรสาครต้องเตรียมพร้อมระบายน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทางนครสวรรค์ อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี น้ำลดเร็ว"สิ่งที่เป็นห่วงก็คือ ในช่วง 20 ปีมานี้ สภาพพื้นที่แถบนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ทางฝั่งดำเนินไม่ค่อยเท่าไหร่ แต่ทางฝั่งกระทุ่มแบน ไล่ลงมาสมุทรสาคร พื้นที่ถูกถมขึ้นเยอะ ทำให้สภาพพื้นที่เปลี่ยนไป สภาพภูมิคุ้มกันของสมุทรสาครซึ่งไม่เคยถูกน้ำเหนือท่วมมาก่อนเลยเปลี่ยนแปลงไป นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงข้อที่ 1 ส่วนข้อที่ 2 คือ วันนี้แม่น้ำท่าจีนไม่เหมือนเดิม สภาพตอนนี้เป็นแม่น้ำท่าจีนที่ถูกผันน้ำมาจากเจ้าพระยามากมาย ดังนั้น ฝั่งตะวันออกของมหาชัยจะน่าเป็นห่วง ส่วนฝั่งดำเนิน ผมไม่ค่อยเป็นห่วงเท่าไหร่" ขณะที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตศักดิ์ ระบุว่า จากการเดินทางไปดูพื้นที่น้ำท่วมแถบทุ่งรังสิต บางบัวทอง บางใหญ่ จึงได้ประมาณการว่า น้ำคงจะเทมาทางฝั่งตะวันตกแน่นอน และภาครัฐก็ไม่ได้มีการประเมินว่า น้ำจะมาถึงเมื่อไหร่อย่างไร ทั้งนี้ ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ แม้จะมีคูคลองเยอะ แต่ไม่มีคลองแนวตั้งที่จะช่วยแผ่น้ำออกไปตามเส้นเลือดฝอย ซึ่งจะช่วยให้สถานการณ์น้ำท่วมเบาบางลง และเป็นทางรอด อย่างไรก็ตาม หากทำเช่นนี้ก็คงมีปัญหาเรื่องมวลชน ที่คงไม่ยอมให้บ้านถูกน้ำท่วมเป็นแน่ ทั้งนี้ อ.จิตศักดิ์ ยังกล่าวต่อว่า ในกลุ่มอาสาฝ่าน้ำท่วมได้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ เพื่อหาคลองที่จะผลักน้ำลงทะเลให้เร็วที่สุด โดยมองไว้ว่าในฝั่งตะวันตก จะต้องจัดการผันน้ำให้เลี้ยวลงไปตามคลองหมาหอน เพื่อลงไปยังคลองแนวตั้งให้เร็วที่สุด โดยอาศัยจังหวะที่น้ำทะเลไม่หนุน ส่วนฝั่งตะวันออก เท่าที่สำรวจพบว่า ชาวบ้านได้ช่วยกันกำจัดผักตบชวาออกไปหมดแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากเพราะจะช่วยให้น้ำระบายลงทะเลได้เร็วขึ้น จากนั้นจะต้องระดมผันน้ำลงทะเลตามร่องตามคลองต่าง ๆ ซึ่งหากทำได้ดี ถนนพระราม 2 ก็อาจจะท่วมไม่มาก อย่างไรก็ตาม อ.จิตศักดิ์ ยังระบุว่า ได้รับข้อมูลมาว่า มีการกักน้ำเอาไว้อยู่ด้านบน เพื่อให้น้ำไหลลงมาช้าเพื่อที่ชาวสมุทรสาครจะได้เตรียมตัวทัน ซึ่งก็ต้องช่วยกันระบายน้ำลงทะเล แต่ถ้าหากประตูน้ำชำรุดเมื่อไหร่ หรือแนวกั้นน้ำตรงคลองมหาสวัสดิ์ แนวทางรถไฟชำรุดเมื่อไหร่ ทีนี้น้ำจะยิ่งไหลลงมาสมุทรสาครเร็วขึ้น ถึงตรงนี้ อ.ศศิน กล่าวเสริมว่า ปกติแล้วจังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดที่น้ำไม่ท่วม เพราะน้ำมาเท่าไหร่ก็จะลงคลองหมด ดังนั้นอย่าเพิ่งกลัวว่าน้ำจะท่วมสมุทรสาครแน่ เพราะถ้าเราช่วยกันจัดการให้น้ำทั้งหมดไหลลงคลองแล้วไปลงแก้มลิงที่คลองสนามชัยต่อมหาชัย รวมทั้งคลองหมาหอน หรือพื้นที่ราบน้ำขึ้นถึงให้มากที่สุด น้ำก็อาจจะไม่ท่วมได้ ปัจจัยสำคัญคือ "ทำอย่างไรให้คลองเป็นที่เก็บน้ำ""ที่บ้านผมคือจังหวัดอยุธยาเป็นที่ราบน้ำท่วมถึงจากแม่น้ำเจ้าพระยา แต่จังหวัดสมุทรสาครเป็นที่ราบน้ำขึ้นถึงจากทะเล ดังนั้นน้ำจะท่วมจากทะเลเท่านั้น ไม่ได้ท่วมจากแม่น้ำจากน้ำเหนือ แต่ปีนี้น้ำมาเยอะ และสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลง แต่เราสามารถจัดการดันน้ำลงคลองได้ ไม่ให้น้ำเอ่อมาสองข้าง จะช่วยรักษาสมุทรสาครไว้ได้" อ.ศศิน แนะนำ ขณะที่ นายกเทศมนตรีนครสมุทรสาคร กล่าวว่า ทางจังหวัดได้ประเมินไว้ว่าสมุทรสาครน่าจะเกิดน้ำท่วมบางพื้นที่ โดยขณะนี้น้ำท่วมทางตอนเหนือแล้ว เช่นที่บริเวณอ้อมน้อย สวนหลวง คลองมะเดื่อ แคลาย ทางจังหวัดจึงได้มีการขุดลอกคูคลองไว้เรียบร้อยแล้ว พร้อมกับตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่ม เพื่อช่วยกันยันน้ำไว้ที่คลองภาษีเจริญ ซึ่งสูบน้ำไว้ได้มาก อย่างไรก็ตาม ตอนนี้น้ำในแม่น้ำท่าจีนสูงกว่าคลองภาษีเจริญ 1.5 เมตร ทำให้การระบายน้ำทำได้ยากขึ้น"ที่น่าเป็นห่วงจริง ๆ คือช่วงปลายเดือนนี้ที่น้ำทะเลจะหนุนสูงอีกครั้ง และคาดว่าเป็นเวลาที่น้ำเหนือจะลงมาถึงสมุทรสาครพอดี ซึ่งถ้ามีพายุเข้ามาด้วย เราจะหนัก ดังนั้นเราจึงระดมเครื่องสูบน้ำไว้ และหากรัฐบาลเข้ามาช่วยดูแลมีเครื่องไม้เครื่องมือมาช่วยจัดการ จังหวัดสมุทรสาครน่าจะกระทบน้อย โดยตอนนี้ทางจังหวัดระดมเครื่องสูบน้ำไปดันน้ำอยู่ที่คลองภาษีเจริญ แต่หากเห็นว่าไม่ไหวเมื่อไหร่ น้ำล้นมา เราก็ยังมีคลองสี่วาพระสวัสดิ์ช่วยยันอีก เช่นเดียวกับซีกตะวันออกที่ยังมีคลองสองสามคลองช่วยยันไว้อยู่ ที่แน่ ๆ คือ ตอนนี้ในตัวเมืองยังรอด เพราะเรายันกันอยู่นอกกำแพง โดยตอนนี้เราผลักดันน้ำไว้ได้มาก ถือเป็นความสำเร็จอันหนึ่ง" นายกฯ เล็กเมืองสมุทรสาคร ระบุ สำหรับในพื้นที่ของเทศบาลนครที่หลายคนวิตกกังวลว่า แนวเขื่อนที่มีอยู่จะยิ่งกันน้ำเหนือไม่ให้ออกทะเล จะยิ่งทำให้น้ำขังในเทศบาลนครนานหรือไม่นั้น อ.จิตศักดิ์ ยอมรับว่าเป็นไปได้ที่จะเป็นเช่นนั้น แต่ตอนนี้ต้องตั้งหลักก่อน คือ ถ้าน้ำเหนือลงมาเมื่อไหร่ น้ำจะตรงมายังเทศบาลนครเลย และยิ่งถ้าน้ำทะลักท่วมพระราม 2 เทศบาลนครก็จะโดนน้ำอีกด้าน ดังนั้นต้องรีบดักน้ำให้ออกไปก่อนจะเข้าเทศบาล เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา รวมทั้งพื้นที่ท่าฉลอมที่ควรเฝ้าระวัง แต่ก็ไม่อยากให้ตื่นตระหนก ในส่วนของท่าฉลอมซึ่งมีน้ำโอบทั้งสองด้าน จะได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหนนั้น อ.ศศิน มองว่า ที่ท่าฉลอมเป็นที่ดอนกว่าจุดอื่นเล็กน้อย เพราะเป็นคันดินธรรมชาติของแม่น้ำท่าจีนโบราณ และเป็นโค้งท่าจีนที่แทบจะตัดขาดโค้งน้ำคล้ายกับที่บางกระเจ้า ซึ่งจากประสบการณ์บางกระเจ้าไม่ถูกน้ำท่วม ดังนั้น จุดนี้เป็นภูมิประเทศใกล้ ๆ กับบางกระเจ้า แต่ก็ไม่ควรประมาท ส่วนที่บางหญ้าแพรก ซึ่งมีคลองมหาชัย อ.ศศิน มองว่า จุดนี้มีโอกาสจะถูกน้ำท่วมมากกว่า เพราะน้ำมาทางนี้มากกว่า และอาจได้รับผลกระทบจากน้ำจืดที่ลงมาปะทะน้ำเค็มในเรือกสวนไร่นา "ที่กระทุ่มแบนต้องเฝ้าระวังคลองภาษีเจริญ ถ้าน้ำข้ามคลองภาษีเจริญได้จริง ๆ น้ำจะหลากท่วมแบบตลิ่งชัน พุทธมณฑลแน่นอน แต่ถ้าข้ามคลองไม่ได้ น้ำจะเอ่อตามท่อค่อย ๆ ไหลมาแทน และหากน้ำท่วมกระทุ่มแบนแล้ว ตอนล่างจะมีคลองสี่วาฯ รับไว้อยู่ หากจัดการน้ำลงคลองสี่วาฯ ได้ โซนใต้คลองสี่วาฯ คืออำเภอเมืองก็จะปลอดภัย แต่ถ้าข้ามคลองสี่วามาได้ เราต้องมาดูโซนพระราม 2 ซึ่งเป็นตัวกั้นใหญ่ ถ้าข้ามพระราม 2 มาอีก น้ำจะถึงฝั่งเทศบาลอีก แต่ผมคิดว่าในเขตเทศบาลที่น่าห่วงคือ น้ำที่ย้อยลงมาจากข้างบนคือ กทม. มากกว่า เพราะหากน้ำไหลมาถนนเอกชัยเมื่อไหร่ น้ำจะไหลเร็วและพุ่งมา ซึ่งน่าจะทะลักข้ามมาถนนพระราม 2 ถึงเทศบาลนครได้" อ.ศศิน ระบุ
อย่างไรก็ตาม อ.ศศิน ยังแนะนำด้วยว่า หากเรารู้ว่า น้ำมาถึงตรงนี้แล้ว ข้ามคลองนี้มาแล้ว ตรงไหนจะโดนบ้าง เราจะเตรียมรับมือได้ทัน และลดความเสียหายได้ ให้ตั้งสมมติฐานว่ามีโอกาสท่วมไว้ก่อนจะดีที่สุด ทั้งนี้ อีกหนึ่งปัญหาที่น่าห่วงคือ น้ำที่ท่วมขังนานซึ่งกำลังเดินทางลงทะเล จะทำให้น้ำทะเลมีปัญหา เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายกเทศมนตรีสมุทรสาคร ระบุว่า ตอนนี้เริ่มมีตะกอนมาสะสมที่ก้นอ่าวไทยแล้ว และจะส่งผลเสียต่อการประมง โดยเฉพาะอีกสองสามเดือนน้ำเน่าจะเริ่มไหลลงมาถึงสมุทรสาคร ซึ่งถ้าน้ำเน่ามาเมื่อไหร่ แม่พันธุ์ ลูกพันธุ์ของสัตว์น้ำ กุ้ง หอยแครง ปลาทูแม่กลอง ปู ฯลฯ คงตายหมด ซึ่งจะเป็นปัญหาอีกนานแน่นอน และคนจะไม่ค่อยสนใจ ไปให้ความสนใจฟื้นฟูเรือกสวนไร่นา แต่ไม่มองเรื่องการประมง ขณะที่ อ.ศศิน แนะนำว่า วิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้บ้างก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้น้ำอยู่ในคลองย่อยให้นานกว่าผันลงแม่น้ำท่าจีน แล้วค่อย ๆ ใช้ระบบธรรมชาติผันลงสู่ทะเล เพราะหากน้ำลงแม่น้ำ สุดท้ายนี้ นายกเทศมนตรียังได้สร้างความมั่นใจให้ชาวสมุทรสาครว่า ทางจังหวัดเตรียมเครื่องสูบน้ำไว้พร้อมแล้ว และวางแผนการบริหารจัดการไว้เช่นกัน ดังนั้น ขอให้ประชาชนวางใจ และอย่ารื้อพังเขื่อนด้วยความกลัวว่าเขื่อนจะยิ่งทำให้น้ำท่วมสูงขึ้น เพราะถ้ายิ่งพังเขื่อนแล้วเกิดน้ำเหนือไหลลงมาอีก จะยิ่งเป็นปัญหาหนักขึ้นไปอีก พร้อมกันนี้ขอให้รัฐบาลเข้ามาช่วยรักษาถนนพระราม 2 เส้นเลือดใหญ่เอาไว้ และทำอย่างไรจึงจะช่วยท้องถิ่นให้ระบายน้ำลงทะเลได้เร็วลง เพราะอำนาจของจังหวัดเองมีไม่เพียงพอ และเชื่อว่าหากรัฐบาลเข้ามา การบริหารจัดการน่าจะดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม อ.ศศิน ยังแนะนำด้วยว่า หากเรารู้ว่า น้ำมาถึงตรงนี้แล้ว ข้ามคลองนี้มาแล้ว ตรงไหนจะโดนบ้าง เราจะเตรียมรับมือได้ทัน และลดความเสียหายได้ ให้ตั้งสมมติฐานว่ามีโอกาสท่วมไว้ก่อนจะดีที่สุด ทั้งนี้ อีกหนึ่งปัญหาที่น่าห่วงคือ น้ำที่ท่วมขังนานซึ่งกำลังเดินทางลงทะเล จะทำให้น้ำทะเลมีปัญหา เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายกเทศมนตรีสมุทรสาคร ระบุว่า ตอนนี้เริ่มมีตะกอนมาสะสมที่ก้นอ่าวไทยแล้ว และจะส่งผลเสียต่อการประมง โดยเฉพาะอีกสองสามเดือนน้ำเน่าจะเริ่มไหลลงมาถึงสมุทรสาคร ซึ่งถ้าน้ำเน่ามาเมื่อไหร่ แม่พันธุ์ ลูกพันธุ์ของสัตว์น้ำ กุ้ง หอยแครง ปลาทูแม่กลอง ปู ฯลฯ คงตายหมด ซึ่งจะเป็นปัญหาอีกนานแน่นอน และคนจะไม่ค่อยสนใจ ไปให้ความสนใจฟื้นฟูเรือกสวนไร่นา แต่ไม่มองเรื่องการประมง ขณะที่ อ.ศศิน แนะนำว่า วิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้บ้างก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้น้ำอยู่ในคลองย่อยให้นานกว่าผันลงแม่น้ำท่าจีน แล้วค่อย ๆ ใช้ระบบธรรมชาติผันลงสู่ทะเล เพราะหากน้ำลงแม่น้ำ สุดท้ายนี้ นายกเทศมนตรียังได้สร้างความมั่นใจให้ชาวสมุทรสาครว่า ทางจังหวัดเตรียมเครื่องสูบน้ำไว้พร้อมแล้ว และวางแผนการบริหารจัดการไว้เช่นกัน ดังนั้น ขอให้ประชาชนวางใจ และอย่ารื้อพังเขื่อนด้วยความกลัวว่าเขื่อนจะยิ่งทำให้น้ำท่วมสูงขึ้น เพราะถ้ายิ่งพังเขื่อนแล้วเกิดน้ำเหนือไหลลงมาอีก จะยิ่งเป็นปัญหาหนักขึ้นไปอีก พร้อมกันนี้ขอให้รัฐบาลเข้ามาช่วยรักษาถนนพระราม 2 เส้นเลือดใหญ่เอาไว้ และทำอย่างไรจึงจะช่วยท้องถิ่นให้ระบายน้ำลงทะเลได้เร็วลง เพราะอำนาจของจังหวัดเองมีไม่เพียงพอ และเชื่อว่าหากรัฐบาลเข้ามา การบริหารจัดการน่าจะดีขึ้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น