pearleus

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สุชาดา พรหมจำรัส/ส.ปชส.นครปฐม/รายงานสถาสการณ์น้ำ

 สรุปสถานการณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ของจังหวัดนครปฐม
นายนิมิต  จันทน์วิมล  รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยวาตภัยจังหวันครปฐม  ได้รับแจ้งจาก ร.ต.พงศธร ศิริสาคร หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครปฐม  ว่า จังหวัดนครปฐม  เริ่มมีสถานการณ์อุทกภัยน้ำเอ่อล้นตลิ่ง ในพื้นที่ มาตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2554 เป็นต้นมา   ปัจจุบันมีพื้นที่ประสบอุทกภัยทั้งสิ้น 7 อำเภอ  99 ตำบล 854 หมู่บ้าน  และราษฎรได้รับความเดือดร้อน รวม164,396 คน 45,651 ครัวเรือน  และมีผู้เสียชีวิต จำนวน 4 ราย  ที่อำเภอนครชัยศรี จำนวน 2 คน เนื่องจากถูกไฟฟ้าช็อตและจมน้ำเสียชีวิต   อำเภอพุทธมณฑล จำนวน 1 คน เนื่องจากถูกไฟฟ้าช็อต  และอำเภอบางเลน 1 คน เนื่องจากจมน้ำเสียชีวิตซึ่งมีความเสียหาย รวมมูลค่าในเบื้องต้นประมาณ 472,018,627.00 บาท  ประกอบด้วย ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน23,702หลัง   และด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ ถนน 379 สาย สะพาน 24 แห่ง วัด 21 แห่ง  โรงเรียน 17 แห่ง สถานที่ราชการ 15 แห่ง และโรงงาน 9 แห่ง   ในขณะนี้ที่ศูนย์พักพิงมีผู้ประสบอุทกภัยอพยพเข้ามาอาศัยอยู่กันบ้างแล้วทั้งจังหวัดรวมทั้งสิ้น 6,036 คน 1,753 ครัวเรือน ประกอบด้วยที่อำเภอพุทธมณฑลมี 9 จุด มีผู้ประสบอุทกภัยมาอาศัยอยู่จำนวน 3,055 คน 845 ครัวเรือน  ที่อำเภอบางเลน มี 117 จุด มีผู้ประสบอุทกภัยมาอาศัยอยู่ จำนวน 6,886 คน 818 ครัวเรือน  อำเภอดอนตูมมี 6 จุด มีผู้ประสบอุทกภัยมาอาศัยอยู่ จำนวน 77 คน 20 ครัวเรือน   อำเภอนครชัยศรีมี 20 จุด มีผู้ประสบอุทกภัยมาอยู่ จำนวน 570 คน 142 ครัวเรือน   อำเภอกำแพงแสนมี 3 จุด มีผู้ประสบอุทกภัยมาอยู่ จำนวน 482 คน  และอำเภอเมืองนครปฐม 3 จุด มีผู้ประสบอุทกภัยมาอยู่ 378 คน    ซึ่งรัฐบาลได้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ครัวเรือนละ 5,000 บาท) เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2554 ประกอบด้วยอำเภอบางเลน มีผู้ที่ได้รับอนุมัติ 1,350 ครัวเรือน จ่ายแล้วจำนวน 1,312 ครัวเรือน คงเหลือ 38 ครัวเรือนอำเภอนครชัยศรี  มีผู้ที่ได้รับอนุมัติ 2,052 ครัวเรือน จ่ายแล้วจำนวน 2,033 ครัวเรือน คงเหลือ 19 ครัวเรือน และอำเภอสามพราน มีผู้ที่ได้รับอนุมัติ 83 ครัวเรือน จ่ายแล้วจำนวน 72 ครัวเรือน  คงเหลือ 11 ครัวเรือน  สำหรับผู้ที่ประสบภัยที่เหลือ จำนวน 68 ครัวเรือนยังมิได้ไปรับเงิน จังหวัดได้ประสานไปยังอำเภอให้แจ้งผู้ประสบภัยไปรับเงินที่ ธนาคารออมสินในพื้นที่แล้ว  และขณะนี้อยู่ระหว่างรอแจ้งการเงินโอนจากธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่อีก จำนวน 11 รายปรากฏว่า ขณะนี้ ด้านการเกษตร มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2554 จำนวน 7 อำเภอ   เสียหายสะสมจำนวน 74,633.75 ไร่  เป็นข้าว 54,422.25 ไร่,  พืชสวน 15,012.50 ไร่,  พืชไร่ 5,199 ไร่  เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน 6,852 ราย   และด้านประมง  ความเสียหายเบื้องต้นเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม – 25 ตุลาคม 2554  มี  5 อำเภอ คืออำเภอบางเลน เมืองฯ พุทธมณฑล สามพรานและกำแพงแสน  ประกอบด้วย พื้นที่ปลาทุกชนิดในบ่อดิน/นาข้าว จำนวน 3,839ไร่   กุ้ง 508.75 ไร่ กระชัง/บ่อซีเมนต์และอื่นๆ 55 ตารางเมตร  ประมาณการมูลค่าความเสียหาย 80,194,153.80 บาท  ประมาณการวงเงินช่วยเหลือ 7,122,786 บาทด้านการให้ความช่วยเหลือ  หน่วยงานในจังหวัดนครปฐมได้เข้ามาดูแลและระดมให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย  เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนในหลายๆ ด้านเป็นการเบื้องต้นด้วยความเร่งด่วนแล้ว  และได้จัดหาอาหาร, ยาเวชภัณฑ์ และถุงยังชีพนำไปช่วยเหลือผู้ที่ประสบอุทกภัยที่บริเวณศูนย์พักพิงต่างๆ แล้ว   นอกจากนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม ได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ และจัดทำอาหารแจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยอีกด้วย   ในส่วนด้านกำลังพล ได้มีการจัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยและสนับสนุนกำลังพลช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย  ติดต่อขอกำลังพลเพื่อให้ความช่วยเหลือได้ที่โรงเรียนการบิน กำแพงแสน หมายเลขโทรศัพท์ 0-3499 6502 และ 0-2155 7206,  กรมการสัตว์ทหารบก(ศบภ.กส.ทบ.) ผู้ประสานงาน พ.อ.วิสุทธิ์  โทร.083-1983827  ร่วมกับกรมทหารราบที่ 19 พัน 3 ค่ายสุรสีห์ จังหวัดกาญจนบุรี(ศบภ.ร.19 พัน 3)  โทรศัพท์ 0-3427-1153-5 ต่อ 50523.5  และ ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ........จังหวัดนครปฐมจึงขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินได้ที่  ธนาคารกรุงไทย  สาขานครปฐม  ประเภทบัญชีออมทรัพย์ หมายเลขบัญชี  701-0-88938-4  ชื่อบัญชี บริจาคช่วยเหลือน้ำท่วมจังหวัดนครปฐม   หรือบริจาคได้ที่ศาลากองอำนวยการ องค์พระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม   และที่สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม  ชั้น 1 ศาลากลาง      จังหวัด  ตำบลถนนขาด  อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม  หมายเลขโทรศัพท์  0-3434-0007-8    หากผู้ประสบอุทกภัยต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย จังหวันคปฐม  สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครปฐม   โทรศัพท์ 0-3434-0230,                    0-34340000,  0-3434-0334,  0-3434-0158  และ E-mail:dpm_npt@yahoo.com, paladtai@yahoo.com, oatfuture@hotmail.com
สรุปการประชุมศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย จังหวัดนครปฐม
        วันนี้(1 พ.ย.54) เวลา 09.00 น. นายนิมิต จันทน์วิมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ฯ  เป็นประธานประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯ ณ ห้องประชุม ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัด โดยมี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าประชุมและรายงานผลการปฏิบัติงาน ดังนี้
         โครงการชลประทานนครปฐม รายงานสถานการณ์น้ำวันนี้ (1 พ.ย. 2554 เวลา 06.00 น.)ปริมาณน้ำไหลเข้าในพื้นที่มีมากกว่าปริมาณน้ำที่ระบายออก 51.51 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน มีพื้นที่น้ำท่วมขัง 578,897 ไร่ (พื้นที่น้ำท่วมเพิ่มขึ้น 43,935 ไร่) ปริมาณน้ำท่วมสะสม 972.45 ล้าน ลบ.ม. (ค่าความลึกเฉลี่ย 1.05 ม.) จุดที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดคือบริเวณคลองมหาสวัสดิ์ ที่มีระดับปริมาณน้ำสูงกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 1.40 ม. ระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้ 0.07 ม. ขณะนี้ เร่งระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงแม่น้ำท่าจีนด้วยการสูบน้ำปริมาณ 9.00 ลบ.ม.ต่อวินาที จากการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในปัจจุบัน คาดการณ์ว่า ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าจังหวัด ประมาณ 2,500-3000 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำท่าจีน ณ สถานีวัดน้ำบ้านบางการ้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี จะเพิ่มสูงขึ้นอีกเป็นเวลา 7-10 วัน หากมีน้ำท่วมขัง ระดับน้ำสูงไม่เกิน 30-50 ซม. เป็นเวลา 10-15วัน ขณะนี้ มีน้ำท่วมขังสะสมอยู่ในพื้นที่ประมาณ 1,500 ล้าน ลบ.ม. สามารถระบายน้ำออกได้วันละประมาณ 50 ล้าน ลบ.ม. ประมาณกลางเดือนธันวาคมนี้ การระบายน้ำจะเข้าสู่ภาวะปกติ และกลางเดือนมกราคม 2555 จะระบายน้ำส่วนเกินได้ทั้งหมดอำเภอพุทธมณฑล รายงานว่า อพยพผู้ประสบภัยจากมหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัยประมาณ 800 คน        มายังมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม อ.เมืองฯ มีผู้อพยพคงเหลืออีกประมาณ 1,400 คน จุดพักพิงที่สำนักงานพุทธมณฑล ได้เคลื่อนย้ายผู้อพยพ ประมาณ 150 คน ส่งต่อไปยังจุดพักพิงที่มหาวิทยาลัยศิลปากร อ.เมืองฯ แล้ว  จุดพักพิงที่ยังคงรองรับผู้อพยพคือวิทยาลัยนาฏศิลป์ ระดับน้ำโดยรวมเพิ่มสูงขึ้น                   3-4 ซม. ถนนหน้าอำเภอพุทธมณฑล รถหกล้อสามารถผ่านได้  ถนนศาลายา-นครชัยศรี รถของกองทัพเรือเท่านั้นที่ผ่านได้  และถนนศาลายา-บางภาษี รถสิบล้อสามารถผ่านได้   ขณะนี้ได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนออกจากบ้านพักอาศัย และมารวมตัวกันที่จุดอพยพตามที่อำเภอจัดให้แล้ว เพื่อความสะดวกในการแจกจ่ายอาหาร และยาเวชภัณฑ์ให้แก่ผู้ประสบภัยได้อย่างทั่วถึงอำเภอบางเลน รายงานว่า อพยพผู้ประสบภัยส่งต่อมายังมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม อ.เมืองฯ และอพยพแรงงานต่างด้าวมายังวัดไร่ขิง อ.สามพราน แล้ว ขณะนี้ แจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ ต.บางภาษี อ.บางเลน เตรียมความพร้อมในการอพยพแล้วอำเภอนครชัยศรี รายงานว่า ระดับน้ำสูงประมาณ 80 ซม. หน้าโรงไฟฟ้า ระดับน้ำสูงมาก หน้าอำเภอ ระดับน้ำประมาณ 20-30 ซม. ตลาดท่านา ยังป้องกันได้อยู่ อำเภอมีจุดพักพิงทั้งหมด 18 จุด มีผู้อพยพ ประมาณ 1,350 คน  จุดพักพิงที่วัดลานตากฟ้า มีผู้อพยพประมาณ400 คน และ รร.โสตทัศนศึกษา ประมาณ 200 คน ขณะนี้ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนออกจากบ้านพักอาศัย และมารวมตัวกันที่จุดอพยพตามที่อำเภอจัดให้แล้ว อำเภอสามพราน รายงานว่า ในวันพรุ่งนี้ (2 พ.ย. 54) จะมีการประชุมผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ ต.หอมเกร็ด ทรงคนอง บางเตย เพื่อเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม และเตรียมความพร้อมอพยพหากสถานการณ์วิกฤติ อำเภอได้เตรียมการป้องกันน้ำท่วม    ในเขตพื้นที่ ต.กระทุ่มล้ม บางเตย ไร่ขิง อ้อมใหญ่ และอ้อมน้อย เนื่องจากเป็นเขตพื้นที่เศรษฐกิจและมีโรงงานสำคัญหลายแห่ง  สนง.สาธารณสุขจังหวัด รายงานว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในพื้นที่ อ.พุทธมณฑล ต้องเปิดให้บริการที่ชั้น 2 เส้นทางเข้า รพ.พุทธมณฑล มีน้ำท่วมขัง รถผ่านสัญจรลำบาก รพ.หลวงพ่อเปิ่น, รพ.ห้วยพลู ไม่รับผู้ป่วยใน ให้บริการเฉพาะผู้ป่วยนอก สำหรับการให้ความช่วยเหลือ จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบภัยประจำในจุดพักพิงต่างๆ แล้วสนง.พัฒนาชุมชนจังหวัด รายงานว่า รวบรวมเงินบริจาค จำนวน 134,000 บาท จัดซื้อน้ำดื่มและทำอาหารกล่องไปแจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.พุทธมณฑล (วันที่ 2 พ.ย.54) และ อ.นครชัยศรี (วันที่ 3 พ.ย.54)แขวงการทางนครปฐม และแขวงการทางสมุทรสาคร รายงานเส้นทางน้ำท่วมดังนี้
            1. เส้น 346 แยกลาดหลุมแก้ว-บางเลน น้ำท่วมเป็นแห่งๆ ระดับสูง 40-60 ซม. รถใหญ่ผ่านได้ แต่รถเล็กผ่านไม่ได้ ให้ใช้ทางเลี่ยง
            2. เส้นบางหลวง-บางเลน ระดับน้ำสูง 5 ซม. รถสามารถผ่านได้
            3. เส้น 338 ช่วง อ.สามพราน-นครชัยศรี กม.22-23 ระดับน้ำสูง 40-60 ซม. ใช้เส้นทาง ถ.เพชรเกษม เป็นทางเลี่ยง
            4. เส้นถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี (ทล.338) ขาเข้า-ขาออก ช่วงลงถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา มีน้ำท่วมสูงรถผ่านไม่ได้ ใช้ทางเลี่ยง ถนนเพชรเกษม และถนนพระราม 2 แทน
            5. เส้นพุทธมณฑลสาย 4 น้ำท่วมทั้งสาย ปิดการจราจร (ยกเว้นกม.1-5 น้ำท่วม 1 ช่องทาง รถทุกชนิดผ่านได้)
            6. เส้นแยกบ้านแพ้ว ถ.พระราม 2 น้ำท่วมขัง (ผลมาจากน้ำขึ้น-น้ำลง) ระดับน้ำสูงประมาณ 10 ซม.
            7. จุดกลับรถตรงสะพานโพธิ์แก้วไม่สามารถใช้การได้ ให้ไปใช้จุดกลับรถที่สามพรานแทน                                     8. เส้นทางเพชรเกษมสภาพการจราจรหนาแน่น ขณะนี้ ได้ประสานไปยัง สภ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ให้ปิดสัญญาณไฟจราจรหน้าดับเพลิง ต.อ้อมน้อย แล้ว สำหรับข้อสั่งการ  ให้สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด ขอความอนุเคราะห์วิทยุชุมชนประกาศแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมให้เตรียมอพยพหากสถานการณ์วิกฤติ   และให้สำนักงานขนส่งจังหวัด เตรียมรถยนต์ จำนวน 5 คัน เพื่อไปจอดไว้เตรียมพร้อมลำเลียงผู้อพยพที่อำเภอพุทธมณฑล  ขอความอนุเคราะห์ อบจ.นครปฐม สนับสนุนรถยนต์ไปรับเรือไฟเบอร์กลาสที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจัดสรรให้     นอกจากนี้ขอให้อำเภอทุกอำเภอ เตรียมประกาศอพยพประชาชนในพื้นที่ และให้แจ้งการไฟฟ้าในพื้นที่ตัดกระแสไฟฟ้ากรณีน้ำท่วมสูง เพื่อความปลอดภัยของประชาชน  
โครงการชลประทานนครปฐมสรุปรายงานสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดนครปฐม
ประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 
นายมรกต  คงทน  ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครปฐม  ได้รับแจ้งจาก  นายชูชาติ  รักจิตร  ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครปฐม  รายงานว่าสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554  โดยพิจารณาจากสภาพน้ำท่าเป็นเกณฑ์  ยังต้องเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน ช่วงตั้งแต่ อำเภอบางเลน-อำเภอสามพราน   นอกจากนี้ในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดนครปฐม ก็มีน้ำท่วมขังอยู่   สภาพน้ำท่วมข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมเมื่อวันที่ 30 ตค.54 มีพื้นที่น้ำท่วมรวมทั้งสิ้น 578,897 ไร่   สามารถแยกพื้นที่น้ำท่วมเป็นรายอำเภอได้ดังนี้ คือ อำเภอบางเลน จำนวน 323,255 ไร่อำเภอกำแพงแสน จำนวน 67,366 ไร่, อำเภอนครชัยศรี จำนวน 71,708 ไร่อำเภอดอนตูม จำนวน 64,975 ไร่อำเภอพุทธมณฑล จำนวน 33,500 ไร่, อำเภอสามพราน จำนวน 11,243 ไร่ และอำเภอเมืองนครปฐม จำนวน 6,850 ไร่ส่วนสถานการณ์น้ำ ในวันถัดไป(3 พ.ย.54)  อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งตรวจสอบแนวป้องกัน โดยพิจารณาจากข้อมูลระดับน้ำ ที่สถานีวัดน้ำบ้านบางการ้อง ต.บางเถร อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ระดับน้ำวัดได้ 3.88 เมตร สูงกว่าระดับตลิ่ง 88 เซนติเมตร (ระดับน้ำทรงตัว) ปริมาณน้ำที่ไหลบ่ามาจากพื้นที่เกษตรด้านบน (ทุ่งผักไห่และทุ่งเจ้าเจ็ด) ทำให้ระดับน้ำในคลองพระยาบันลือ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะนี้ต่ำกว่าตลิ่งหรือแนวป้องกันที่เสริมใหม่อยู่ 30 เซนติเมตร ระดับน้ำทรงตัว  (ระดับตลิ่งใหม่ครั้งที่ 3 เท่ากับ 4.30 เมตร)  และได้มีการเปิดบานระบาย ที่ประตูระบายน้ำพระยาบันลือเพื่อระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีน และเปิดรับน้ำเข้าพื้นที่เกษตรฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน บริเวณตำบลบัวปากท่า อำเภอบางเลน ซึ่งจะส่งผลถึงอำเภอนครชัยศรี และอำเภอพุทธมณฑล สำหรับสภาพน้ำท่าในแม่น้ำท่าจีน  ที่จุดตรวจวัดระดับน้ำและปริมาณน้ำมี 4 จุดเมื่อวันที่ 2 พย.54 เวลา 05.00 น. คือที่สถานีวัดน้ำบ้านบางการ้อง(T13) จังหวัดสุพรรณบุรี  ระดับน้ำท่าจีน 3.88 เมตร
จากระดับตลิ่ง 3.00 เมตร  เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 88 เซนติเมตร  เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 ระดับน้ำทรงตัว (เตือนภัย ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน สูงกว่าตลิ่งเกิดสภาวะน้ำท่วม) สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ   สถานีวัดน้ำบางไทรป่า(T15) ระดับน้ำท่าจีน 3.36 เมตรจากระดับตลิ่ง 2.20 เมตร เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.16 เมตร  เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 ระดับเพิ่ม 2เซนติเมตร (เตือนภัย ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน สูงกว่าตลิ่งเกิดสภาวะน้ำท่วม) สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ    สถานีวัดน้ำนครชัยศรี(T1) ระดับน้ำท่าจีน 2.71 เมตร จากระดับตลิ่ง 1.70 เมตร เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.01 เมตร  เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 2 ซม.  (เตือนภัย ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน สูงกว่าตลิ่งเกิดสภาวะน้ำท่วม)  สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ   และสถานีวัดน้ำบ้านตลาดสามพราน(T14) ระดับน้ำท่าจีน 4.10  เมตร จากระดับตลิ่ง 4.00เมตร  เปรียบเทียบระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 10 เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554  เพิ่มขึ้น  4 เซนติเมตร  สถานการณ์เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ส่วนสภาพน้ำท่าในคลองสายสำคัญ ได้แก่
คลองพระยาบันลือ(G1) ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 30 เซนติเมตร ระดับตลิ่งใหม่ครั้งที่ 3 เท่ากับ 4.30 เมตร เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 1 พย.54  ระดับน้ำทรงตัว  เปิดบานระบายด้านติดแม่น้ำท่าจีน 58.07 ลบ.ม.ต่อวินาที และเปิดบานประตูสถานีสูบน้ำลงสู่แม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณน้ำ 40.86 ลบ.ม.ต่อวินาที,     
คลองพระพิมล(G4)  ระดับน้ำวันนี้(2 พ.ย.54)สูงกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 1.49 เมตร เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 1 พย.54 เพิ่มขึ้น 2 เซนติเมตร เปิดบานระบายด้านติดแม่น้ำท่าจีน 19.30 ลบ.ม./วินาที  จึงต้องเร่งระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงแม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณ 6.00 ลบ.ม.ต่อวินาที มีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง อยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด,   
คลองมหาสวัสดิ์(G7)  ระดับน้ำวันนี้(2 พ.ย.54)สูงกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 1.47 เมตร  เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 1 พย.54  เพิ่มขึ้น 7 เซนติเมตร  มีการเปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน 16.40 ลบ.ม./วินาที และเร่งระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงสู่แม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณ 9.00 ลบ.ม.ต่อวินาที และต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด  
คลองบางภาษี(G5)  ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.70 เมตร  เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 1 พย.54 เพิ่มขึ้น 2 เซนติเมตร  ต้องเปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน 21.91 ลบ.ม./วินาที  ซึ่งมีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง  ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
 คลองลำพญา(G6)  ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.53 เมตร  ปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน และเร่งระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงแม่น้ำท่าจีด้วยการสูบน้ำปริมาณ 2.00 ลบ.ม./วินาที  ซึ่งมีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง  ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

และคลองประชาศรัย(G3)  ระดับน้ำวันนี้(2 พย.54) สูงกว่าตลิ่ง 1.28 เมตร  เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 1 พย.54  เพิ่มขึ้น 2 เซนติเมตร  มีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง  เปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน  6.68 ลบ.ม/วินาที  อยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
สรุปข้อมูลน้ำ ณ วันที่ 2 พย.54    พื้นที่น้ำท่วมขัง  578,897 ไร่  ปริมาณน้ำท่วมสะสม 1,018.86 ล้าน ลบ.ม. (ค่าความลึกเฉลี่ย 1.10 ม.)อ้างอิงภาพถ่ายดาวเทียม 30 ตค.54
และปริมาณน้ำที่ไหลเข้าจังหวัดนครปฐมดังนี้               
1. มาจาก ปตร.โพธิ์พระยา จ.สุพรรณบุรี       ปริมาณน้ำ 28.05 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 324.65 ลบ.ม./วินาที
2. รับเข้าคลองพระยาบันลือ                     ปริมาณน้ำ 69.78 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 807.60 ลบ.ม./วินาที
3. มาจาก จ.นนทบุรี                             ปริมาณน้ำ    4.38 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ  50.75 ลบ.ม./วินาที
4. ปริมาณน้ำ Side Flow จากลำน้ำ           ปริมาณน้ำ    1.80 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ  20.88 ลบ.ม./วินาที  
    สาขาและจากการสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่ที่ท่วมขัง
        รวมปริมาณน้ำที่ไหลเข้า จ.นฐ.ทั้งหมด   ปริมาณน้ำ 104.02 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 1203.88 ลบ.ม./วินาที  
แต่น้ำไหลออกจาก จ.นฐ. ที่ อ.นครชัยศรี  ปริมาณน้ำค่าเฉลี่ย 52.58 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ  608.53 ลบ.ม./วินาที
สรุป ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าในพื้นที่มากกว่าปริมาณน้ำที่ไหลออกจากพื้นที่ จ.นฐ. จำนวน 51.44 ล้าน ลบ.ม./วัน
พื้นที่น้ำท่วมเพิ่มขึ้น 43,935 ไร่(เปรียบเทียบภาพถ่ายดาวเทียม 30 ตค.54 กับ 29 ตค.54)
          อนึ่งในวันที่ 2 พย.54   การระบายน้ำจะมีผลกระทบในช่วงน้ำทะเลหนุน ซึ่งเวลาน้ำทะเลหนุนสูง  เวลา 13.00 น.น้ำขึ้นที่บริเวณอำเภอสามพราน  และเวลา 07.00 น.ของวันที่ 2 พย.54 น้ำขึ้นที่บริเวณอำเภอนครชัยศรี
          สำหรับการให้ความช่วยเหลือ ขณะนี้ชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังเฉพาะจุดในพื้นที่จังหวัดนครปฐม จำนวน 29 เครื่อง  และได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำที่สะพานสำโรง-ลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม จำนวน 16 เครื่อง สลับหมุนเวียนเดินเครื่องครั้งละ 8 เครื่อง, ที่คลองลัดงิ้วราย  ไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จำนวน 2 เครื่อง,  ที่คลองท่าเรือ-บางพระ อ.นครชัยศรี จำนวน 2 เครื่อง, ที่คลองวัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จำนวน 3 เครื่อง และที่คลองเจดีย์บูชา อ.นครชัยศรี จำนวน 3 เครื่อง  เพื่อช่วยเร่งระบายน้ำจากแม่น้ำท่าจีนให้ไหลลงสู่ทะเลให้เร็วขึ้น  สามารถติดตามข้อมูลรายละเอียดสถานการณ์น้ำประจำวันได้ที่ http:88ridceo.rid.go.th/nkpathom/index1.php

-heigh� �/6 x 蛸 �� class="Apple-converted-space"> จากลำน้ำ           ปริมาณน้ำ    1.80 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ  20.88 ลบ.ม./วินาที  
    สาขาและจากการสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่ที่ท่วมขัง
        รวมปริมาณน้ำที่ไหลเข้า จ.นฐ.ทั้งหมด   ปริมาณน้ำ 104.02 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 1203.88 ลบ.ม./วินาที  
แต่น้ำไหลออกจาก จ.นฐ. ที่ อ.นครชัยศรี  ปริมาณน้ำค่าเฉลี่ย 52.58 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ  608.53 ลบ.ม./วินาที
สรุป ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าในพื้นที่มากกว่าปริมาณน้ำที่ไหลออกจากพื้นที่ จ.นฐ. จำนวน 51.44 ล้าน ลบ.ม./วัน
พื้นที่น้ำท่วมเพิ่มขึ้น 43,935 ไร่(เปรียบเทียบภาพถ่ายดาวเทียม 30 ตค.54 กับ 29 ตค.54)
          อนึ่งในวันที่ 2 พย.54   การระบายน้ำจะมีผลกระทบในช่วงน้ำทะเลหนุน ซึ่งเวลาน้ำทะเลหนุนสูง  เวลา 13.00 น.น้ำขึ้นที่บริเวณอำเภอสามพราน  และเวลา 07.00 น.ของวันที่ 2 พย.54 น้ำขึ้นที่บริเวณอำเภอนครชัยศรี
          สำหรับการให้ความช่วยเหลือ ขณะนี้ชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังเฉพาะจุดในพื้นที่จังหวัดนครปฐม จำนวน 29 เครื่อง  และได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำที่สะพานสำโรง-ลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม จำนวน 16 เครื่อง สลับหมุนเวียนเดินเครื่องครั้งละ 8 เครื่อง, ที่คลองลัดงิ้วราย  ไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จำนวน 2 เครื่อง,  ที่คลองท่าเรือ-บางพระ อ.นครชัยศรี จำนวน 2 เครื่อง, ที่คลองวัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จำนวน 3 เครื่อง และที่คลองเจดีย์บูชา อ.นครชัยศรี จำนวน 3 เครื่อง  เพื่อช่วยเร่งระบายน้ำจากแม่น้ำท่าจีนให้ไหลลงสู่ทะเลให้เร็วขึ้น  สามารถติดตามข้อมูลรายละเอียดสถานการณ์น้ำประจำวันได้ที่ http:88ridceo.rid.go.th/nkpathom/index1.php(สุชาดา  พรหมจำรัส/ส.ปชส.นครปฐม)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น