pearleus

วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พบปลาแปลกปลอมระบาดในไทย

                                       
เมื่อ วันที่ 9 ต.ค. 60 เวลา 13.30 น. ที่ชายทะเล หาดละแม หมู่ที่ 5 ต.ละแม อ.ละแม จ.ชุมพร  นายศุภณัฐ พรหมมาลี อายุ 22 ปี นศ.คณะประมง2 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขต ชุมพร  เปิดเผยว่า เมื่อวันเสาร์ที่ 7 ตค.60 ช่วงหัวค่ำ ในที่กำลังเดินอยู่ชายทะเลหาดละแม สังเกตเห็น ปลาชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายปลาหมอเทศ ใน เมืองไทย แต่ เป็นปลาน้ำจืด จึงรู้ทันที ว่า ปลา ดังกล่าว คือ ปลาหมอคางดำ ที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำในเมืองไทยมาก จึง เอาสวิงซ้อนจับขึ้นมาได้ 2-3 ตัว
 หลังจากนั้น นำไปใส่ขวดแก้วใส่น้ำจืด ปลาหมอคางดำ ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้ ร่วม 1 วัน ทั้งที่ถ้าเป็นปลาทะเลอื่นๆ จะตายทันที เนื่องจาก เหงือกแตก หลังจากตรวจสอบอย่างละเอียด พบว่า ปลาหมอคางดำ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Sarotherodon melanotheron Ruppell ซึ่งเป็นปลาในแถบทวีปแอฟริกา ที่มีอันตรายต่อสัตว์น้ำชายฝั่งทุกชนิดมาก ถึงขนาดสูญพันธ์ ได้ ในวงการ เรียกปลาที่มาจากถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติว่า เอเลี่ยนสปรีซี่จึงกลับไปตรวจสอบแนวชายฝั่ง โดยการเดินสำรวจ ร่วม 2 กม. พบว่า มีปลาหมอคางดำ จำนวนมาก เรียกได้ว่าที่เห็นด้วยตานับพันๆ ตัว
ในฐานะที่เป็น นศ.คณะประมง ที่มีความรู้ ทางด้านปลาชนิดนี้ และ ติดตามการแพร่ระบาดของปลาชนิดนี้มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทราบว่า อันตรายใหญ่หลวงสำหรับอาชีพประมงชายฝั่ง กำลังมาเยือน จ.ชุมพร แล้ว หลังจากเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา พบว่า มีการระบาดของปลาหมอคางดำ ในพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม สร้างความเสียหายอย่างหนัก เมื่อเวลา ผ่านไป ข่าวก็เงียบ แต่คาดไม่ถึงว่า จะมาพบปลาหมอคางดำ ในพื้นที่ อ.ละแม จ.ชุมพร ซึ่งเป็นชายฝั่งเดียวกับ จ.สมุทรสงคราม ระยะทางทะเล ร่วม 500 กม. ปลาหมอคางดำจะแพร่พันธ์เร็วมาก แม่ปลา1 ตัว อายุ 2เดือนให้ลูกได้ 100 -1000 ตัว ในระยะเวลา 4เดือน จะแพร่พันธ์ ได้ นับแสนตัว เนื่องจาก ความอุดมสมบูรณ์ของชายฝั่งทะเลอ่าวไทย แต่สัตว์น้ำชายฝั่ง ไม่ว่าจะเป็น ปู ปลา กุ้งหอย จะสูญหายหมด เนื่องจาก ปลาหมอคางดำ จะกิน สัตว์น้ำตัวอ่อนทุกชนิด อาทิ เมื่อหลุดเข้าไปใน บ่อกุ้งของเกษตรกร ที่ปล่อยลูกกุ้ง 5 หมื่นตัวพบว่า เพียง 2 เดือน ในบ่อไม่เหลือกุ้งแม้แต่ตัวเดียว มีแต่ ปลาหมอคางดำ ทั้งสิ้น

ปลาหมอคางดำ มีการนำเข้ามาโดย บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านอาหาร เพื่อหวังพัฒนาให้เป็นแหล่งอาหารของคนไทย แต่ปรากฏว่า เนื้อปลาหมอคางดำ  กลับเป็นปลาที่มีเนื้อแข็งหยาบ มีเนื้อน้อยกว่าก้าง คาดว่า บริษัทดังกล่าว คงต้องการทำลาย แต่กลับ หลุดรอดลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ ส่งผลต่อระบบนิเวศ รวมทั้งยังแพร่พันธุ์ในบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตกุ้งทะเลเป็นอย่างมาก อีกทั้ง ในช่วงนี้ ยังมีชาวประมงบอกว่า ปลา ปู กุ้ง หอย ในธรรมชาติ มีน้อยมาก ทั้งที่มีการอนุรักษ์ และ ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำลงไปในทะเลนับล้านๆตัวแต่ ไม่รู้หายไปไหนหมด จับได้แต่ปลาหมอคางดำ ซึ่งใช้ประโยชน์ ค้าขายไม่ได้เลย”  นายศุภณัฐ บอกว่า จะรีบแจ้งเรื่องนี้ต่ออาจารย์ในคณะประมง ม.แม่โจ้ เพื่อหาทางแก้ไข ต่อไป  แต่ตอนนี้ได้แต่นำ เรื่องไปโพสในเฟสบุค เพื่อเตือนให้ ชาวประมงได้รับทราบและ ช่วยกันทำลายไปพลางๆ ก่อน ต่อมา ผวจ.ชุมพร/ผอ.รมน.จังหวัด ช.พ. ได้สั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร ได้ประสานความร่วมมือกับสำนักงานประมงจังหวัดชุมพร และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเขต 5 (สุราษฎร์ธานี) ออกสำรวจการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำในแม่น้ำสวี เมื่อวันที่ 7 - 9 ตุลาคม 2560 พบว่ามีปลาหมอคางดำแพร่กระจายอยู่ในบริเวณเขตน้ำกร่อยของแม่น้ำสวี   ส่วนในบ่อเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรที่มีการจัดการที่ดี ยังไม่ได้รับผลกระทบจากปลาดังกล่าว ซึ่งจะได้รายงานหน่วยเหนือเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป




1 ความคิดเห็น:

พบปลาหมอวางขายในตลาดสวี


แสดงความคิดเห็น