pearleus

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562

วช.จับมือม.มหิดล ม.จุฬาฯ และ สธ. มอบกายอุปกรณ์สำหรับผู้พิการ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก



โครงการกายอุปกรณ์สำหรับผู้พิการ เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เกิดจากการประสานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. โดยการน้อมนำพระราชดำริ พระราชปณิธาน และพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มาแปลงเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนา ด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน



ศาสตราจารย์นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า  วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยในการขยายผลนวัตกรรมกายอุปกรณ์ขาเทียมให้กับคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิศวะกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อจัดทำกายอุปกรณ์ขาเทียมสำหรับ ผู้พิการ นวัตกรรมกายอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นเป็นฝีมือคนไทย คุณภาพสูงทัดเทียมกับสินค้าจากต่างประเทศ  สามารถผลิตได้ในประเทศไทย ลดต้นทุนการนำเข้า ช่วยอำนวยความสะดวกในการสวมใส่ และลดการเสียดสีระหว่างผู้สวมกับอุปกรณ์ มีความทนทานแข็งแรง มีน้ำหนักเบา และเหมาะกับสรีระของผู้พิการแต่ละราย รวมถึงช่วยให้ผู้ป่วยและคนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ยังส่งผลดีต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติอีกด้วย





ดังนั้น เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  จึงได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โรงเรียนกายอุกรณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบกายอุปกรณ์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ ภายใต้โครงการกายอุปกรณ์สำหรับผู้พิการ เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ ห้องประชุมเจษฎาบดินทร์  ชั้น 9 อาคารเจษฎาบดินทร์ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี วันที่ 25 ธันวาคม 2562 โดยมี  พลอากาศเอก สุบิน ชิวปรีชา กรมวังผู้ใหญ่ ในพระองค์ 904 เป็นประธานในพิธี





การส่งมอบนวัตกรรมกายอุปรณ์ ในครั้งนี้ ได้มอบเบ้าอ่อนขาเทียมแบบถุงซิลิโคน (Low Cost Local Made Silicone Liner) และเท้าเทียม ไดนามิกส์เอสเพส S – Pace แก่ผู้พิการ จำนวน 67 ราย โดยคาดว่า การมอบกายอุปกรณ์สำหรับผู้พิการในวันนี้ จะเป็นจุดเริ่มของการต่อยอด และขับเคลื่อนให้ผู้พิการได้รับโอกาสที่ดีจากสังคมต่อไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น