ชาวประมง
ผู้ประกอบการร้านอาหารและแพปลา กว่า 500 คน ยื่นหนังสือผ่านผู้ว่าฯ สมุทรสาคร ถึงนายกรัฐมนตรีกับ 11 ข้อเรียกร้อง
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 เวลา 14.00 น. ที่หน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร
นายกำจร มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร พร้อมด้วย
คณะกรรมการบริหารสมาคม สมาชิกสมาคมการประมงสมุทรสาคร พี่น้องชาวประมงทุกประเภท
ผู้ประกอบการแพปลา ร้านอาหาร และธุรกิจต่อเนื่องประมง กว่า 500 คน ได้มารวมตัวกันยื่นหนังสือถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
โดยผ่านทางนายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
ซึ่งเป็นการยื่นหนังสือพร้อมกันทั้ง 22 จังหวัดที่ติดชายทะเล
นายกำจร มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร กล่าวว่า ข้อเรียกร้องที่พี่น้องชาวประมงสมุทรสาครและพี่น้องชาวประมงทั้ง 22 จังหวัดทั่วประเทศ ได้ยื่นให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น เป็นไปตามที่สมาชิกชาวประมงต้องการให้มีการขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงที่ยืดเยื้อมานาน 4 – 5 ปี ซึ่งมีทั้งหมด 11 ข้อ ประกอบด้วย 1 ขอให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการประมงทั้งหมดหยุคออกกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของชาวประมงมาเพิ่มเติมขึ้นอีก(ยกเว้นการออกกฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งที่ผ่อนคลายปัญหาให้กับชาวประมง),2. ขอให้มีการเสนอแก้ไขกฎหมายพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยเร่งด่วนในช่วงที่มีการประชุมสภานิติบัญญัตินี้,3. ขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการการซื้อเรือประมงออกนอกระบบคืนโดยเร็ว โดยขอให้รัฐบาลมีการตั้งงบประมาณจำนวน 1 หมื่นล้าน ในปีงบประมาณ 2563ในการที่จะนำเรือประมงออกนอกระบบ,4.ขอให้รัฐบาลเร่งรัดการช่วยเหลือชาวประมง ในโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับชาวประมงโดยเร่งด่วน ภายในเดือนธันวาคม 2562 นี้,5.ขอให้กรมประมง กรมจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการอนุญาตให้ใช้กฎหมายมาตรา 83 แห่ง พรก.การประมง พ.ศ. 2558 ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมง โดยเร่งด่วนภายในเดือนธันวาคม 2562 นี้ ,1.6 ขอให้ยกเลิก แก้ไข กฎ ระเบียบต่างๆ ที่เป็นปัญหาในทางปฏิบัติของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่ส่งผลกระทบกับชาวประมงที่เป็นอยู่โดยเร็ว, 7. เรือประมงที่มีขนาดไม่เกิน 30 ตันกรอส ไม่ควรมีนโยบายให้ติดVMS เช่น การชักชวนให้เรือประมงขนาดต่ำกว่า 30 ตันกรอส ทดลองติด VMS ฟรี,8. ขอให้หยุดการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำจากต่างประเทศโดยทันที ด้วยเหตุผลไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามพระราชกำหนดประมง พ.ศ.2558 มาตรา 92 ซึ่งการนำเข้าสัตว์น้ำจะต้องมีการตรวจสอบว่า สัตว์น้ำเหล่านั้นได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ตามมาตรา 92 วรรคสองและวรรคสาม สินค้าประมงจากต่างประเทศ จึงเข้ามาถล่มตลาดสินค้าสัตว์น้ำของชาวประมงไทยที่ทำตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทำให้ต้นทุนสูงกว่า ราคาจึงตกต่ำ เพราะมีการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำแบบเสรี ไร้การควบคุม มาสต๊อกไว้เต็มห้องเย็นหมดแล้ว ดังนั้นจึงต้องแก้ไขระเบียบกรมประมงเดิมที่อนุญาตให้บุคคลธรรมดา สามารถนำเข้าสัตว์น้ำได้เสรี มีมาตรการปกป้องสินค้าสัตว์น้ำภายในประเทศ ,9.ขอให้พิจารณาเพิ่มวันทำการประมงให้กับพี่น้องชาวประมงทั้งประเทศโดยเร่งด่วน เพราะทำให้เกิดปัญหาการประกอบอาชีพขาดทุนมา 4-5 ปีแล้ว เนื่องจากมีการกำหนดให้ทำการประมงได้ไม่ทั้งปี แต่ต้องมีรายจ่ายค่าจ้างแรงงานตลอดทั้งปี,10. ขอให้คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร ทบทวนแนวทางที่จะบังคับให้บริษัทจำหน่ายน้ำมันบังคับให้ชาวประมง ต้องจ่ายเงินผ่านบัตรฟรีทการ์ด (Fleet Card) ซึ่งจะทำให้สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวประมงเพิ่มขึ้นทันที และ 11. ขอให้มีการทบทวนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวชาวประมงกรณีที่ถูกบังคับใช้จากกฎหมายประมงที่ไม่เป็นธรรม โดยการตั้งคณะกรรมการพิจารณาผู้ได้รับผลกระทบ
นายกำจร มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร กล่าวว่า ข้อเรียกร้องที่พี่น้องชาวประมงสมุทรสาครและพี่น้องชาวประมงทั้ง 22 จังหวัดทั่วประเทศ ได้ยื่นให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น เป็นไปตามที่สมาชิกชาวประมงต้องการให้มีการขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงที่ยืดเยื้อมานาน 4 – 5 ปี ซึ่งมีทั้งหมด 11 ข้อ ประกอบด้วย 1 ขอให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการประมงทั้งหมดหยุคออกกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของชาวประมงมาเพิ่มเติมขึ้นอีก(ยกเว้นการออกกฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งที่ผ่อนคลายปัญหาให้กับชาวประมง),2. ขอให้มีการเสนอแก้ไขกฎหมายพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยเร่งด่วนในช่วงที่มีการประชุมสภานิติบัญญัตินี้,3. ขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการการซื้อเรือประมงออกนอกระบบคืนโดยเร็ว โดยขอให้รัฐบาลมีการตั้งงบประมาณจำนวน 1 หมื่นล้าน ในปีงบประมาณ 2563ในการที่จะนำเรือประมงออกนอกระบบ,4.ขอให้รัฐบาลเร่งรัดการช่วยเหลือชาวประมง ในโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับชาวประมงโดยเร่งด่วน ภายในเดือนธันวาคม 2562 นี้,5.ขอให้กรมประมง กรมจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการอนุญาตให้ใช้กฎหมายมาตรา 83 แห่ง พรก.การประมง พ.ศ. 2558 ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมง โดยเร่งด่วนภายในเดือนธันวาคม 2562 นี้ ,1.6 ขอให้ยกเลิก แก้ไข กฎ ระเบียบต่างๆ ที่เป็นปัญหาในทางปฏิบัติของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่ส่งผลกระทบกับชาวประมงที่เป็นอยู่โดยเร็ว, 7. เรือประมงที่มีขนาดไม่เกิน 30 ตันกรอส ไม่ควรมีนโยบายให้ติดVMS เช่น การชักชวนให้เรือประมงขนาดต่ำกว่า 30 ตันกรอส ทดลองติด VMS ฟรี,8. ขอให้หยุดการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำจากต่างประเทศโดยทันที ด้วยเหตุผลไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามพระราชกำหนดประมง พ.ศ.2558 มาตรา 92 ซึ่งการนำเข้าสัตว์น้ำจะต้องมีการตรวจสอบว่า สัตว์น้ำเหล่านั้นได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ตามมาตรา 92 วรรคสองและวรรคสาม สินค้าประมงจากต่างประเทศ จึงเข้ามาถล่มตลาดสินค้าสัตว์น้ำของชาวประมงไทยที่ทำตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทำให้ต้นทุนสูงกว่า ราคาจึงตกต่ำ เพราะมีการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำแบบเสรี ไร้การควบคุม มาสต๊อกไว้เต็มห้องเย็นหมดแล้ว ดังนั้นจึงต้องแก้ไขระเบียบกรมประมงเดิมที่อนุญาตให้บุคคลธรรมดา สามารถนำเข้าสัตว์น้ำได้เสรี มีมาตรการปกป้องสินค้าสัตว์น้ำภายในประเทศ ,9.ขอให้พิจารณาเพิ่มวันทำการประมงให้กับพี่น้องชาวประมงทั้งประเทศโดยเร่งด่วน เพราะทำให้เกิดปัญหาการประกอบอาชีพขาดทุนมา 4-5 ปีแล้ว เนื่องจากมีการกำหนดให้ทำการประมงได้ไม่ทั้งปี แต่ต้องมีรายจ่ายค่าจ้างแรงงานตลอดทั้งปี,10. ขอให้คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร ทบทวนแนวทางที่จะบังคับให้บริษัทจำหน่ายน้ำมันบังคับให้ชาวประมง ต้องจ่ายเงินผ่านบัตรฟรีทการ์ด (Fleet Card) ซึ่งจะทำให้สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวประมงเพิ่มขึ้นทันที และ 11. ขอให้มีการทบทวนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวชาวประมงกรณีที่ถูกบังคับใช้จากกฎหมายประมงที่ไม่เป็นธรรม โดยการตั้งคณะกรรมการพิจารณาผู้ได้รับผลกระทบ
นายกำจร มงคลตรีลักษณ์
นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร กล่าวอีกว่า หลังจากวันนี้แล้ว
หากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องข้างต้นที่น่าพอใจต่อพี่น้องชาวประมงทั้ง
22 จังหวัด
ก็จะมีการยกระดับการร่วมชุมนุมไปส่วนกลางที่ทำเนียบรัฐบาล
หรือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป ตามระยะเวลาที่พี่น้องชาวประมงทั้ง 22 จังหวัดเห็นชอบ ซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 16 ธันวาคมนี้
ด้านนายสมพงษ์ จิระพรพงศ์
ประธานชมรมร้านอาหารจังหวัดสมุทรสาคร ก็บอกว่า
จากปัญหาของพี่น้องชาวประมงที่ได้รับอยู่ในขณะนี้
ก็ส่งผลกระทบถึงร้านอาหารในจังหวัดสมุทรสาครไปด้วย เพราะร้านอาหารส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารที่มีวัตถุดิบเป็นอาหารทะเล
ถ้าประมงไปไม่รอด ร้านอาหารทะเลในจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดอื่นๆ
ที่ใช้วัตถุดิบจากพี่น้องชาวประมงทั้ง 22 จังหวัด ก็ต้องหยุดไปด้วยเช่นเดียวกัน
และคงไม่ใช่แค่ร้านอาหารทะเลเท่านั้น แต่รวมไปถึงกิจการทุกประเภทที่เกี่ยวเนื่องกับการประมง
ตลอดจนผู้ใช้แรงงานอีกด้วย ทั้งนี้หากพี่น้องชาวประมงเดินหน้าไปทางไหน
ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับประมงต่อเนื่องก็จะเดินตามไปด้วยกัน
เพื่อช่วยให้วิกฤติในครั้งนี้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
ส่วนทางด้านของนายวีระศักดิ์
วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ที่ลงมารับหนังสือจากนายกำจร
มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร และตัวแทนพี่น้องชาวประมงสมุทรสาครกว่า 500 คนนั้น ก็บอกว่า
อาชีพประมงเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อจังหวัดสมุทรสาครเป็นอย่างมาก
เพราะเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้กับจังหวัดสมุทรสาคร เป็นอันดับต้นๆ
ของประเทศไทย อีกทั้งยังส่งเสริมในเรื่องของ Hub of Seafood “ครัวโลก” ซึ่งหากวันนี้อาชีพประมงหายไปจากสมุทรสาครหรือท้องทะเลไทย
ก็จะทำให้ธุรกิจ และอาชีพหลายๆ อย่างที่เกี่ยวเนื่องกับประมงนั้นสูญหายไปด้วย
ดังนั้นก็เชื่อได้ว่ารัฐบาลจะเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องชาวประมงอย่างแน่นอน
โดยหนังสือร้องเรียนนี้ก็จะรีบนำส่งไปยังนายกรัฐมนตรีตามความประสงค์ของพี่น้องชาวประมงอย่างเร่งด่วน
ทั้งนี้หลังจากที่ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
พี่น้องชาวประมงทุกคนก็แยกย้ายกันกลับไปโดยสงบ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น