สสว. จับมือ ISMED สถาบันอาหาร และ ม.เชียงใหม่ เดินหน้า 3 โครงการ ได้แก่
โครงการประชารัฐเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และ SMEs ก้าวสู่ตลาด 4.0 โครงการยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และโครงการยกระดับชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพก้าวสู่ SMEs ตั้งเป้าเปิดวิสัยทัศน์ใหม่ SME Standardization มาตรฐานไทยสู่มาตรฐานโลก พร้อมยกระดับคุณค่าและมาตรฐานด้วยการจัดการ และการตลาดแบบมืออาชีพ
นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อม (สสว.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน โครงการประชารัฐเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และ SMEs ก้าวสู่ตลาด 4.0 (SMEs & OTOP Transformation) โครงการยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และโครงการยกระดับชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพก้าวสู่ SMEs (Micro to be SMEs) ว่า ทั้ง 3 โครงการมีเป้าหมาย
ต้องการยกระดับการทำงานเชิงลึกของภาครัฐในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยจะเน้นในเรื่องเครื่องมือ หรือวิธีการ เพื่อพา SME ไทยสู่มาตรฐานโลก
ผอ.สสว. กล่าวด้วยว่า สำหรับเครื่องมือที่จะใช้ในการยกระดับแต่ละโครงการมีดังนี้
โครงการประชารัฐเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และ SMEs ก้าวสู่ตลาด 4.0 (SMEs & OTOP Transformation) ซึ่งเป็นโครงการที่ สสว. ดำเนินการร่วมกับ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) เน้นในเรื่องการยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจและการ
ตลาดให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและ SMEs ไทย ก้าวสู่มาตรฐานไทยก่อน
ต่อยอดสู่มาตรฐานโลก ตามแนวคิด SME Standardization มาตรฐานไทย สู่มาตรฐานโลก ของ สสว. โดยมีโจทย์สำคัญคือ เพื่อแก้ปัญหาเรื่อง Pain point ซึ่งเป็นอุปสรรคการเติบโตของธุรกิจขนาดเล็กในเรื่องการขาดความรู้แลประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจที่แข่งขันได้โดยคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ด้วยโมเดล OTOP SMEs Transformer 4.0 ซึ่งให้ความสำคัญกับ การปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจให้แข่งขันด้วยปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ (Wisdom) สามารถตอบสนองและเข้าถึงความต้องการของลูกค้าแม่นยำด้วยระบบข้อมูลเชิงลึก (Insight) และสร้างเครือข่ายกว้างไกล รวดเร็วด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital
Connectivity) เป็นเครื่องมือในการให้ความรู้
“โครงการนี้คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 1,200 คน จากทั่วประเทศ เหลือเพียง 100 คน เข้ารับการพัฒนาเชิงลึกและสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจ ก่อนนำสู่การทดสอบตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อเฟ้นหา 10 ผู้ร่วมโครงการที่มีศักยภาพสูงสุด นำมาพัฒนาสู่ความเป็นผู้นำธุรกิจชุมชนที่มีแนวคิดการดำเนินธุรกิจ การจัดการ และการตลาดที่ทันสมัย แข่งขันได้ และมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับนำไปต่อยอด ขยายผล สร้างเครือข่ายต้นแบบระดับจังหวัด และสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า
ชุมชนทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ใหม่ๆ สนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Economy) โดยผู้ที่มีแนวคิดโดดเด่นที่สุดจะได้รับการสนับสนุนในการช่วยเหลือ ส่งเสริม และพัฒนาเครือข่าย โดยผู้เชี่ยวชาญ ภายในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท และเกียรติบัตรหรือโล่รางวัลจาก สสว. เพื่อเป็นเกียรติประวัติอีกด้วย
นายสุวรรณชัย กล่าวว่า โมเดลและเครื่องมือที่ออกแบบขึ้นเฉพาะ รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายที่คัดเลือกเข้าร่วมโครงการจากธุรกิจเด่นทั่วทุกภูมิภาค จะเป็นปัจจัยความสำเร็จในการพลิกธุรกิจชุมชนสู่คุณภาพ มาตรฐาน ก้าวทันความปลี่ยนแปลงของนิเวศน์ธุรกิจยุค 4.0 และเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของธุรกิจชุมชนและ SMEs ไทย ตอบสนองแนวคิด SME Standardization ของ สสว. ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผอ.สสว. ระบุว่า สำหรับโครงการยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม สสว.ดำเนินการร่วมกับสถาบันอาหาร ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเพื่อเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบในท้องถิ่น ให้เกิดการสร้างอาชีพ ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โดยโครงการนี้มีจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมให้ความรู้ในการออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และ Life Style ของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบในท้องถิ่น ด้วยการนำเครื่องมือด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต พร้อมการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ด้วยการให้คำปรึกษาในเชิงลึก ด้วยกิจกรรม Focus Group ซึ่งเป็นการระดมความคิดเห็นร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเชิงธุรกิจให้กับผู้
ประกอบการในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์สินค้าอาหารและเครื่องดื่มในท้องถิ่นให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในเชิงพาณิชย์
นอกจากนี้ ต้องมีมาตรฐานด้วยการนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในโครงการทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการสถาบันอาหารด้านความปลอดภัย เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัย อันจะส่งผลให้เกิดการสร้างอาชีพ ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
“เรารับสมัครผู้ประกอบการในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม OTOP ระดับ 3-5 ดาว ที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการโดยมีเป้าหมายที่ 500 รายจากทั่วประเทศ ในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเข้าร่วมกิจกรรม Focus Group ซึ่งเป็นการระดมความคิดจากภาคเอกชน อีกจำนวน
50 ราย เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเชิงธุรกิจให้กับผู้ประกอบการในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์สินค้าอาหารและเครื่องดื่มในท้องถิ่นให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในเชิงพาณิชย์ และเชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านมาตรฐาน ด้านบรรจุภัณฑ์ และด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมเป็นคณะกรรมการคัดเลือกสินค้าต้นแบบเป็น สุดยอดสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มประจำท้องถิ่น (Product Champion) เพื่อเป็นโมเดลในการพัฒนาให้กับผู้ประกอบการหรือชุมชนอื่น ให้เกิดแรงผลักดันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนอง
ความต้องการในตลาดยุคปัจจุบัน และพัฒนามาตรฐานให้สามารถจำหน่ายได้ในระดับสากล โดยทางสสว. และสถาบันอาหาร คาดว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับโครงการนี้ จะสามารถเพิ่มโอกาสและช่องทางการจำหน่าย และขยายตัวทางธุรกิจได้ไม่น้อยกว่า 25 ล้านบาท
ผอ.สสว. กล่าวว่า สำหรับโครงการยกระดับชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพก้าวสู่ SMEs (Micro to be SMEs) เป็นโครงการที่ สสว. ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการคัดเลือกชุมชนที่มีความโดดเด่นด้านสินค้าอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ แต่ยังขาดการบริหารจัดการที่เหมาะสม รวมถึงการต่อยอดและยกระดับความรู้ที่มีอัตลักษณ์เดิมที่กำลัง
จะหายไป ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อยกระดับผู้ประกอบการ ยังเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองรอง ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจความต้องการ ศักยภาพความพร้อม และความโดดเด่นเชิงอัตลักษณ์ พบว่า พื้นที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นพื้นที่ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของผ้ายกดอกพื้นเมือง และผ้าฝ้ายทอมือกะเหรี่ยง รวมถึงเครื่องเงิน ซึ่งถือเป็นลายที่มีความเฉพาะตัว รวมทั้งยังมีปลาสังกะวาด (สังฆวาส) ซึ่งเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงที่คนในพื้นที่ยังใช้วิธีการจับปลาด้วยตุ้มแบบดั้งเดิม ในขณะที่ พื้นที่บ้านธิเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีอัตลักษณ์ด้านผ้าทอลวดลายของไทลื้อ ไม้สักแกะสลักศิลปะไทลื้อ
และการทำข้าวแคบ ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่มีการผลิตเฉพาะในพื้นที่
“โครงการนี้ เน้นการยกระดับและพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนต้นแบบ การส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มสมาชิกและผู้เชี่ยวชาญ โดยสร้าง community engagement and people collaboration ผ่านมุมมองการวิเคราะห์และประเมินแบบ Context Input Process Product Model (CIPP model) ที่จะช่วยให้สามารถเข้าใจเข้าถึงบริบทชุมชน ปัจจัยนำเข้า กระบวนการทำงานเดิม และผลลัพท์ที่เป็นอยู่ เพื่อเทียบกับเป้าหมายที่คาดหวังไว้ ซึ่งผู้ประกอบการชุมชนทั้งอำเภอลี้และอำเภอบ้านธิถือเป็นกลุ่มชุมชนที่มีความพร้อมที่จะยกระดับชุมชนตนเองในการให้ความร่วมมือและร่วมพัฒนาไปพร้อมๆ กับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่ง
เป็นการเข้าไปแนะนำที่ชุมชน จึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีอันจะนำไปสู่การเกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนโดยแท้จริง” นายสุวรรณชัย กล่าวในที่สุด
****************
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น