เรื่องเล่า 4.0
ว่างแต่ยังไม่ไป
แท็กซี่อวกาศมาแล้ววว
…
ไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาโบกแล้วไม่จอด ส่งรถ หรือรถติด เพราะบริการ 'แท็กซี่' ใหม่นี้ ไม่ได้มีไว้เผื่อรับส่ง-คนทั่วไป และทางวิ่งของมันไม่ได้อยู่บนท้องถนน แต่อยู่เหนือท้องฟ้าออกไปอีกแสนไกล ที่เราเรียกกันว่าอวกาศ
NASA ได้เปิดตัวทีมนักบินที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ขับ ‘แท็กซี่อวกาศ’ ทีมแรกของโลก จำนวน 9 คน ซึ่งจะทำหน้าที่ขับยานอวกาศ – ที่ผลิตโดยเอกชนอย่าง Boeing และ SpaceX เพื่อนำนักบินอวกาศของสหรัฐฯ ไปส่งยังสถานีอวกาศนานาชาติ หรือปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ในวงโคจรต่ำ โดยจะมีการบินทดสอบในปีหน้า
นับแต่ปิดโครงการ Space Shuttle ไปเมื่อปี 2011 การจะส่งคนขึ้นสู่อวกาศมีเพียงทางเดียว คืออาศัยจรวดโซยูสของรัสเซียเท่านั้น โดย NASA ได้ซุ่มร่วมมือกับเอกชนทั้ง 2 เจ้านี้ ในการทำสายการบินสู่อวกาศ ‘เชิงพาณิชย์’ ขึ้นเป็นครั้งแรก
แม้จะน่าเสียดายว่า แท็กซี่อวกาศนี้คงมี NASA เป็นลูกค้าเพียงรายเดียว แต่ก็ไม่ต้องเสียใจไป เพราะเที่ยวบินสู่อวกาศสำหรับบุคคลทั่วไปเริ่มใกล้ความเป็นจริงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ Virgin ได้ทดลองยานอวกาศลำใหม่ที่จะใช้สำหรับ ‘ทัวร์อวกาศ’ ครั้งแล้วครั้งเล่า จนใกล้จะประสบความสำเร็จ
ไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาโบกแล้วไม่จอด ส่งรถ หรือรถติด เพราะบริการ 'แท็กซี่' ใหม่นี้ ไม่ได้มีไว้เผื่อรับส่ง-คนทั่วไป และทางวิ่งของมันไม่ได้อยู่บนท้องถนน แต่อยู่เหนือท้องฟ้าออกไปอีกแสนไกล ที่เราเรียกกันว่าอวกาศ
NASA ได้เปิดตัวทีมนักบินที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ขับ ‘แท็กซี่อวกาศ’ ทีมแรกของโลก จำนวน 9 คน ซึ่งจะทำหน้าที่ขับยานอวกาศ – ที่ผลิตโดยเอกชนอย่าง Boeing และ SpaceX เพื่อนำนักบินอวกาศของสหรัฐฯ ไปส่งยังสถานีอวกาศนานาชาติ หรือปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ในวงโคจรต่ำ โดยจะมีการบินทดสอบในปีหน้า
นับแต่ปิดโครงการ Space Shuttle ไปเมื่อปี 2011 การจะส่งคนขึ้นสู่อวกาศมีเพียงทางเดียว คืออาศัยจรวดโซยูสของรัสเซียเท่านั้น โดย NASA ได้ซุ่มร่วมมือกับเอกชนทั้ง 2 เจ้านี้ ในการทำสายการบินสู่อวกาศ ‘เชิงพาณิชย์’ ขึ้นเป็นครั้งแรก
แม้จะน่าเสียดายว่า แท็กซี่อวกาศนี้คงมี NASA เป็นลูกค้าเพียงรายเดียว แต่ก็ไม่ต้องเสียใจไป เพราะเที่ยวบินสู่อวกาศสำหรับบุคคลทั่วไปเริ่มใกล้ความเป็นจริงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ Virgin ได้ทดลองยานอวกาศลำใหม่ที่จะใช้สำหรับ ‘ทัวร์อวกาศ’ ครั้งแล้วครั้งเล่า จนใกล้จะประสบความสำเร็จ
ว่าถึงสำหรับ Virgin
Galactic เป็นบริษัทผู้ผลิตยานอวกาศเชิงพาณิชย์ในกลุ่มเครือบริษัท Virgin
ก่อตั้งโดยอภิมหาเศรษฐีจากสหราชอาณาจักร ริชาร์ด แบรนสัน
เกิดขึ้นเพื่อจุดประสงค์การทำทัวร์อวการเชิงพาณิชย์
และเพื่อปฏิบัติภารกิจทางวิทยาศาสตร์อวกาศ
เบื้องต้นเชื่อกันว่าราคาค่าตั๋วทัวร์อวกาศของ Virgin Galactic จำนวน 1 ใบน่าจะอยู่ที่ราวๆ 250,000 เหรียญสหรัฐ หรือราว 8.3
ล้านบาทเท่านั้น ขณะที่ฝั่ง Blue Origin ยังไม่มีการเปิดเผยราคาค่าทัวร์อวกาศแต่อย่างใด
แต่เชื่อกันว่าราคาน่าจะไม่หนีกันมาก อยู่ที่ประมาณ 200,000-300,000 เหรียญสหรัฐ
อ้าวใครที่มีเงินเหลือกินเหลือใช้
ก็เตรียมจับจ้องเที่ยวบินแห่งอนาคตนี้ได้เลย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น