น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ 14 พฤศจิกายน บิดาแห่งฝนหลวง
เมื่อ 14 พ.ย.2560 นายประภัสสร์
มาลากาญจน์ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครเป็นประธานในพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดพร้อมนำหัวหน้าส่วนราชการองค์กรปกครองท้องถิ่น
นายกอบจ.ทหาร ตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ร่วมถวายราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
เนื่องใน "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" ประจำปี 256
ด้วยวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้น เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน
พ.ศ.2498 ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการ
อุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ และด้วยความสำเร็จของโครงการฝนหลวง
จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2518 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทั่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2545 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร ให้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” พร้อมกันนี้ได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี
เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง
เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ. 2498 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร
จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"(Artificial
rain) ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ
ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น
ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้วยความสำเร็จของ โครงการ
จึงได้ตราพระราชกฤษฎีการก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นในปี พ.ศ. 2518 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไป
การทำฝนเทียมหรือฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า
ใช้เครื่องบินบรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า
โดยดูจากความชื้นของเมฆและสภาพทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ
ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม
กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้นที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน
อุณหภูมิของมวลอากาศจะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง
หากอุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอก็จะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว
จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว เกิดเป็นฝนตกลงมา
ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วย "สูตรร้อน"
ใช้เพื่อกระตุ้นเร่งเร้ากลไกการของบรรยากาศ, "สูตรเย็น"
ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน
และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้กระตุ้นกลไกระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น