เมื่อ 3 ธ.ค.59 ณ ห้องประชุม 1 กระทรวงมหาดไทย พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยนายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่ าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมหารื อการดำเนินการตามแนวทางการสร้ างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กั บเศรษฐกิจภายในประเทศไทยภายใต้ กลไกประชารัฐ ผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล video conference ไปยัง 76 จังหวัด โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมในส่ วนกลาง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดี หัวหน้าส่วนราชการในสังกั ดกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่ ประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าสำนักงานจังหวัด และเชิ ญภาคเอกชนในพื้นที่ ประกอบด้วย ประธานหอการค้าจังหวัด ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ ยวจังหวัด ประธานชมรมธนาคารจังหวัด นายกสมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวจั งหวัด บริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวั ด จำกัด มหาวิทยาลัยสภาเกษตรกรจังหวัด แ ละผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ เข้าร่วมการประชุม
โอกาสนี้ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวเปิดการประชุ มและมอบแนวทางการดำเนินงานให้ แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องทั้ง 76 จังหวัดโดยมีสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. ที่มาของการประชุมในครั้งนี้ สืบเนื่องจากที่รัฐบาลได้มี นโยบายในการสร้างความเข้มแข็ งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิ จภายในประเทศ โดยเฉพาะการสร้างความเข้มแข็ งในส่วนภูมิภาคทั้ง 76 จังหวัด
มุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาศั กยภาพของจังหวัด กลุ่มจังหวัด เน้นการยกระดั บอาชีพ รายได้ คุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกภูมิ ภาคอย่างเท่าเทียม เพื่อสร้ างความเข้มแข็งและยั่งยืนทั้ งในด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งรั ฐบาลมีนโยบายที่จะจั ดสรรงบประมาณให้ลงไปสู่พื้นที่ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญ โดยจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะต้ องจัดทำโครงการขึ้นมารองรั บตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้แล้ วเสร็จภายในสิ้นเดือนธันวาคมนี้ เพื่อขอรับการสนับสนุ นงบประมาณและจัดสรรเม็ดเงิ นลงไปในพื้นที่จังหวัดและกลุ่ มจังหวัดต่อไป ดังนั้น ในการดำเนินตามแนวทางสร้ างความเข้มแข็งฯ จึงต้องมีกรอบและแนวทางที่ชั ดเจน และจำเป็นจะต้องมีการซักซ้อมร่ วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การขับเคลื่อนภารกิจดั งกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ข้อเแนะนำในการจัดทำโครงการ เน้นย้ำว่าจะต้องเป็ นการทำงานในลักษณะบูรณาการ ทุกภาคส่วนในรูปแบบสมาร์ท กบก. (คณะกรรมการบริหารกลุ่มจังหวัด) ต้องมีการปรึกษาหารือร่วมกันทุ กภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคมว่าจะจั ดทำโครงการอย่างไรให้สอดคล้องกั บยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และเป็นไปตามความต้ องการของประชาชนในพื้นที่เป็ นหลัก โดยอาจเชื่อมโยงในหลากหลายมิติ เช่น ในมิติลักษณะพื้นที่ หรือ เชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิ จในพื้นที่ให้เพิ่มขึ้น เป็นต้น
จากนั้นที่ประชุมได้เปิ ดโอกาสให้แต่ละจังหวัดได้ซั กถามถึงแนวทางในการจัดทำโครงการ และได้มีการกำหนดที่จะจัดประชุ มอีกครั้งผ่านระบบ video conference ในวันที่ 12-13 ธันวาคมนี้ เพื่อพิ จารณาแนวทางการจั ดทำโครงการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และให้กลุ่มจังหวัดทั้ง 18 กลุ่มได้นำเสนอโครงการในรู ปแบบห่วงโซ่คุณค่า Value Chain ที่สามารถเชื่อมโยงทุกภาคส่วนตั้ งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ก่อนนำโครงการที่ผ่านความเห็ นชอบ เข้าสู่กระบวนการพิจารณาตามพ.ร. บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมต่ อไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลจะเน้ นให้ความสำคัญกับการพัฒนาในมิติ เชิงพื้นที่ให้สอดคล้องกั บความต้องการของพี่น้องประชาชน มีเป้าหมายขจัดความเหลื่อมล้ำ ให้ประชาชนทุกกลุ่มอย่างเท่าเที ยม โดยในการจัดทำโครงการขอให้จั งหวัดและกลุ่มจังหวัดให้ ความสำคัญถึงหลักการเหตุผล และที่มาของโครงการที่จะต้องเกิ ดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริ ง รวมทั้งจะต้องมีการประเมินผล อย่างมีมาตรฐาน มีผลการดำเนินงานอย่างเป็นรู ปธรรม และมีการใช้จ่ายงบประมาณทั้ งหมดอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ไม่ซ้ำซ้อน สามารถสร้างความเข้มแข็งได้อย่ างยั่งยืน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น