วันที่ 24 สิงหาคม 2558
ที่บริเวณลานอเนกประสงค์หน้าสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม นายชาติชาย อุทัยพันธ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานเปิดงานทับแก้ววิชาการ ครั้งที่ 2 “เปิดประตูสู่ศิลปากร” โดยกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่
24 ถึง 26 สิงหาคม 2558 เพื่อแสดงศักยภาพและอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งการสร้างสรรค์ ซึ่งมีบูรณาการศาสตร์ในสาขาต่างๆ
หลากหลายสาขาวิชา ทั้งศิลปะ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี โดยรวบรวมสาระน่ารู้ และกิจกรรมที่น่าสนใจ
ของคณะวิชาต่างๆ จากวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
วังท่าพระ และตลิ่งชัน ให้ผู้สนใจ หรือผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
และปริญญาโท ได้ศึกษาข้อมูลในการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยศิลปากร
สำหรับกิจกรรมภายในงาน
ประกอบด้วย นิทรรศการ “สุข...พอดี” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี อีกทั้งมีหลักสูตรการเรียนการสอน การแนะแนวศึกษาต่อ
การออกบูธของคณะวิชาต่างๆ การเสวนาทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิระดับชาติ
การแข่งขันทักษะทางวิทยาศาสตร์ ค่ายนักสืบน้อย ตรวจสุขภาพและให้ความรู้โรคเรื้อรัง
การแสดงดนตรีไทย ดนตรีลูกทุ่ง และดนตรีสากล การจำหน่ายหนังสือ สินค้าOTOP และสินค้าราคาถูกจากสหกรณ์จังหวัดนครปฐม อีกด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ
ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า มหาวิทยาลัยศิลปากร
เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับใช้สังคมด้วยความมุ่งมั่นแห่งปณิธาน “สร้างสรรค์ศิลปะ วิทยาการ
และภูมิปัญญาเพื่อสังคม” และวิสัยทัศน์ “ศิลปากร...มหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งการสร้างสรรค์” ด้วยหลักสูตรการเรียนการสอนที่โดดเด่น
ซึ่งถือเป็นรากเหง้าแห่งศิลปะ ที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับศิลปะและการออกแบบที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
การพัฒนาองค์ความรู้โดยการประยุกต์ทั้งศาสตร์และศิลป์เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน
ทำให้เกิดศาสตร์ด้านใหม่ๆ และความเป็นเอกภาพที่อยู่บนความหลากหมายของคณะวิชา
ที่มีการบูรณาการหลักสูตรและสร้างผลงานอย่างมากมาย จนเป็นที่ประจักษ์ด้านการเรียนการสอน
การวิจัย และการสร้างสรรค์
มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญยิ่งต่อการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ คุณธรรม
และทักษะที่ทันยุคทันสมัย แต่ยังดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ความเป็นไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นบัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์
สามารถประยุกต์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของสังคม สิ่งแวดล้อม
และสาธารณะชน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น