ผู้ว่าฯ
สมุทรสาครลงพื้นที่สำรวจการก่อสร้างการขยายถนนพระราม 2 เพื่อลดปัญหารถติดและเพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก
PM 2.5
วัน10 มกราคม 2563 เวลา 11.30 น.
นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
เดินทางไปที่สำนักงานควบคุมโครงการปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 35 ตอนทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน – เอกชัย ตอน 3 ระหว่าง กม.17+400.00 – กม.21+500.00 ถนนพระราม 2 ตำบลท่าทราย
อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อรับฟังปัญหา
และติดตามผลการดำเนินงานการก่อสร้างการขยายถนนพระราม 2 พร้อมขอความร่วมมืออย่าให้มีปัญหาอาทิ
เครื่องมือเครื่องจักรไม่การกีดขวางจราจร
เพื่อแก้ปัญหารถติดและลดผลกระทบสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยมีนายประลองยุทธ์ กสิวงศ์ ผู้อํานวยการแขวงทางหลวงสมุทรสาคร
และหัวหน้าผู้ควบคุมโครงการปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม
2 ) ตอนทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน – เอกชัย
ตอน 3 บรรยายสรุปให้รับฟัง จากนั้น ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร
ได้นั่งมอเตอร์ไซค์เพื่อสำรวจเส้นทาง ดูความคืบหน้าการก่อสร้างการขยายถนนพระราม 2
ตั้งแต่หน้าสำนักงานควบคุมโครงการปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 35 ตอนทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน – เอกชัย ตอน 3
ระหว่าง กม.17+400.00 – กม.21+500.00 จนถึงรอยต่อกรุงเทพ
จากการลงพื้นที่ นายวีระศักดิ์
วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่สำรวจการก่อสร้างการขยายถนนพระราม
2 เพื่อลดปัญหารถติดและเพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก
PM 2.5 พบว่า ส่วนใหญ่รถยังสัญจรได้สะดวก
ยกเว้นในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ช่วงตอนเช้าและช่วงตอนเย็น
ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวจะมีสภาพการจราจรติดขัดมาก
เนื่องจากมีการสร้างถนนตลอดสายไม่ใช่แค่จังหวัดสมุทรสาครที่เดียว
จุดตรงบริเวณวัดพันท้ายนรสิงห์จะมีปัญหารถติดมาก
ที่ผ่านมาก็ใช้มาตรการห้ามจอดรถตลอดแนวบนถนนพระราม 2 ซึ่งอันนี้เบาเทาได้เยอะ
วันนี้ก็ต้องขอความร่วมมือโดยที่ทางสำนักงานตรวจภูธรสมุทรสาครเป็นหน่วยงานหลักในการดูแล
และอำนวยความสะดวกในการใช้รถใช้ถนน ขอความร่วมมือผู้รถเมล์จอดให้ตรงป้ายอันนี้จะให้ขนส่งจังหวัดดูแล
เพราะปัญหาเล็กๆน้อยพวกนี้ จะส่งผลถึงปัญหาค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ที่มีค่าสูงในปัจจุบันได้
โดยในวันนี้ทางจังหวัดสมุทรสาครมีค่าฝุ่น
PM 2.5 พุ่งขึ้นสูงสุดถึง 119
ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรจนเป็นสีแดงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ดังนั้นหากเราสามารถแก้ไขปัญหารถติดได้ ก็เชื่อได้ว่าจะช่วยลดสภาวะฝุ่น PM2.5
ให้เบาบางลงได้
ประกอบกับมาตรการของจังหวัดที่มอบหมายให้ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ดำเนินการฉีดพ่นน้ำในทุกๆวัน ทั้งเช้าและเย็นในช่วงเวลา 08.00 น. กับ 16.00 น.
อีกทั้งยังเสริมเรื่องของการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกต้นไม้ดูดซับอากาศพิษ
ทั้งในสถานศึกษา บ้านเรือนประชาชน และในสถานประกอบการ
ก็จะเป็นแนวทางที่ช่วยลดค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ลงได้
.....//
ภาพและข่าว
จากสนง.ปชส.จ.สมุทรสาคร
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น