pearleus

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561

สรุปผลการดำเนินโครงการร่วมรังสรรค์ศิลปหัตถกรรม ผสานชุมชน-นักออกแบบ-ผู้ประกอบการต่อยอดสร้างรายได้เพิ่ม


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 ก.ย.61  SACICT   หรือ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ(องค์การมหาชน) จัดกิจกรรมสรุปผลการดำเนินโครงการร่วมรังสรรค์ศิลปหัตถกรรม (Craft Co-Creation)”  ตั้งแต่เวลา 13.0016.00 น. ที่ ห้องประชุมแพรวา ชั้น 2 อาคารศาลาพระมิ่งมงคล ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)โดยมีนางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ เป็นประธานและคณะผู้บริหารSACITC  ตัวแทนจากกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย นักออกแบบ อาทิ  นายศรันย์ เย็นปัญญา  นายเฉลิมพงศ์ อ่อนยอง ดร.กฤษณ์ เย็นสุดใจ นายศุภชัย แกล้วทนงค์  ผู้ประกอบการ อาทิ บริษัทเดอะมอล์ กรุ๊ป จำกัด (Exotic Thai/สยามพาการากอน) บริษัท ดินไฟ จำกัด และ บริษัท บันยันทรีโฮลดิ้ง จำกัดร่วมเสวนา

                ภายในงานมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์หัตถศิลป์ไทยที่ได้จากโครงการกว่า 30 ผลงาน และเปิดเวทีระดมความคิดเห็นในเรื่องของเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์จากแต่ละกลุ่มชุมชนแนวทางการพัฒนางานรูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในปัจจุบันการต่อยอดผลิตภัณฑ์หัตถกรรมสู่ตลาดสากลความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการ นักออกแบบ และชุมชน รวมถึงแนวทางการพัฒนาต่อยอดโครงการจากตัวแทนจากกลุ่มเข้าร่วมโครงการ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักออกแบบ คุณศรันย์เย็น ปัญญาง คุณเฉลิมพงศ์  อ่อนยอง ดร.กฤษณ์ เย็นสุขใจและคุณศุภชัย  แกล้วทนงค์ กลุ่มผู้ประกอบการบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด (Exotic Thai/สยามพารากอน)ร้าน Room Concept Store บริษัท ดินไฟ จำกัดและบริษัท บันยันทรีโฮลดิ้ง จำกัด
                โครงการร่วมรังสรรค์ศิลปหัตถกรรมหรือ Craft Co-Creation  เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนางานหัตถกรรมของ SACICT ที่ต้องการพัฒนางานหัตถศิลป์ไทยให้สอดรับกับยุคปัจจุบันและเตรียมความพร้อมเพื่อให้ผู้ผลิตสามารถแข่งขันได้ในอนาคต โดยเกิดจากการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ รวมถึงทักษะการผลิต การหาช่องทางการตลาดใหม่ๆระหว่างบุคคล 3 กลุ่มได้แก่  กลุ่มครูช่างศิลปหัตถกรรม นักออกแบบและผู้ประกอบการ



                ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ว่า โครงการฯนี้ได้มีการทำงานร่วมกันตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้มีการพัฒนางานของชุมชนให้สามารถไปถึงตลาดและผู้ใช้งานอย่างจริงจังเป็นต้นแบบงานวางในที่ต่างๆ "เป็นการทำงานร่วมกัน เริ่มจากโจทย์ ที่เราจะทำการตลาดว่ามีใครบ้าง รับสมัคร กลุ่มผู้ทำงาน ครูและทายาทครู เพื่อแมทกัน ทางเราเลือกนักออกแบบ ซึ่งคุ้นเคยงานกิจกรรมของเราอยู่แล้ว  ลงพื้นที่"   
                นางอัมพวัน กล่าวว่า แม้ชุมชนจะคุ้นเคยงานกับงานเดิม แต่เราต้องสร้างความเข้าใจ ดดยมีนักออกแบบร่วมด้วย สร้างความมั่นใจ ให้คนทำ ต้องรับรู้และเห็นด้วย เมื่อทำงานวิเคราะห์ต้นแบบ เนื้องาน มีขั้นระยะเวลาทำงานระยะหนึ่ง ความมั่นใจ ของที่ทำ ให้เขาเข้าใจ แค่ขายของ ต้องการทำอย่างไรให้เขาเข้าใจว่า การทำแนวคิดอกกรอบ หัวใจพัฒนางสานหัตถกรรม
ทั้งนี้ครั้งนี้ เป็นครั้งแรก ของการทำงานแนวนี้  ซึ่งโอกาสสำเร็จมีมาก รอว่าชุมชนว่าสามารถผลิตได้จริงหรือไม่ สิ่งที่ผู้ประกอบการลงไป ย้ำคือ ของใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน อยู่ในวิถี และราคาที่เหมาะสมจับต้องได้ และมีการตั้งชื่อร่วมกันในผลิตภัณฑ์ของตัวเอง โดยมีจำหน่ายในองค์กรและร้านค้า เครือข่าย ภาคี ภาคเอกชน ห้างโมเดิร์นเทรด เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน

               สำหรับโครงการฯนี้เพื่อสร้างสรรค์งานหัตถศิลป์ให้สอดรับกับยุคปัจจุบันและเตรียมความพร้อมเพื่อให้ผู้ผลิตสามารถแข่งขันได้ในอนาคต โดยเกิดการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ รวมถึงทักษะการผลิต การหาช่องทาง การตลาดใหม่ๆ ระหว่างกลุ่มช่างศิลปหัตถกรรม ชุมชนหัตถกรรม นักออกแบบ และผู้ประกอบการ สามารถได้รับองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม เครื่องมือ หรือระบบการบริหารการผลิตจากภาคอุตสาหกรรม
                ทั้งนี้รวมถึงการกำหนดทิศทางการนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้สามารถดึงดูดใจผู้บริโภค โดยกลุ่มผู้ประกอบการจะช่วยผลักดันสู่เครือข่ายผู้บริโภคใหม่ๆ เกิดการสร้างโอกาสทางการตลาดได้ในวงกว้างยิ่งขึ้น และนำไปสู่การผลิตสินค้าไปจำหน่ายจริง ณ จุดจำหน่ายของ SACICT หรือภาคเอกชนที่เป็นเครือข่ายพันธมิตรรวมถึงการเข้าร่วมแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ได้อย่างเป็นรูปธรรม

                ส่วนผลิตภัณฑ์หัตถศิลปที่มาร่วมในวันดังกล่าว (3 ก.ย.61) ประกอบด้วย
                BENJAMIN COLLECTION DESIGINED BY DR.KRIS ภาคกลาง (CENTRAL REGION) เป็นแรงบันดาลใจนำมาถ่ายทอดผ่านงานออกแบบให้มีความเรียบง่ายเป็นระเบียบ การวางลวดลายซ้ำๆคล้ายเครื่องจักร แต่ยังคงเทคนิคด้วยการนำองค์ความรู้ดั้งเดิมด้านการทำเบญจรงค์มาต่อยอดสร้างให้เกิดลวดลาย ประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น แต่ยังสะท้อนถึงวิถีชุมชน
                EXOTIC POP COLLECTION DISIGNED BY SARUN ภาคเหนือ ( NORTHERN REGION) นำเสน่ห์ของการทอผ้าพื้นเมือง ผ้าชาวเขา มาดัดแปลงเป็นสินค้าของคนเมืองที่มีชีวิตวุ่นวาย โดยสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
                THAILIEY 2018 COLLECTION DESIGNED BY CHALERMPONG ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NORTHERNEAST REGION) เป็นการนำเอาองค์ความรู้ที่มีอยู่ในภูมิปัญญากลุ่มจักรสานไทเลยมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบให้เข้ากับยุคสมัยและใช้ในชีวิตประจำวัน
ROOT COLLECTION DESIGNED BY SUPACHAI ภาคใต้ (SOUTHERN REGION) เป็นการนำเอาความเป็นรากของหัตถศิลป์พื้นถิ่น เช่น กลุ่มกรงนก, กลุ่มทอหางอวน กลุ่มจักสานใบพ้อ จ.นครศรีธรรมราช มาต่อยอด
               
               

*********************************

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น