pearleus

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563

สค. ประชุมการรับรายงานตัวผู้ผ่านการสรรหาเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้บริหารท้องถิ่น


เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องประชุมพันท้ายนรสิงห์ 401 ศาลากลางจ.สมุทรสาคร  นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร  เป็นประธานการประชุมการรับรายงานตัวผู้ผ่านการสรรหาเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้บริหารท้องถิ่น
            สืบเนื่องจากสำนักงาน ก.จ. ก.ท. และก.อบต. ได้แจ้งบัญชีรายชื่อข้าราชการ / พนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ผ่านการสรรหาเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหาร โดยในส่วนของจังหวัดสมุทรสาคร ได้มีมติให้โอน (ย้าย) / รับโอน จำนวน 58 ราย แบ่งเป็นอบจ. 2 ราย เทศบาล 29 ราย และอบต. 27 ราย เป็นต้น












‘ยอดเยี่ยม’ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ยกนิ้ว รง. คัดแยกขยะ ‘ฤตธนารียูส’ บริหารตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง “ก้าวตามพ่อ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”


เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563เวลา 14.00 น. นายประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและคณะ ได้เดินทางมาติดตามการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน และสิ่งแวดล้อม ที่ศูนย์การเรียนรู้การคัดแยกขยะของบริษัท ฤตธนารียูส จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 42 หมู่ที่ 8 ต.บ้านแพ้ว อ.บ้านแพ้วโดย มีนายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร  พร้อมด้วยนายธีรพัฒน์ คัชมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร  นายสุรศักดิ์ ผลยังส่ง  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร  ร้อยตรีประพันธ์ ถึกสกุล นายอำเภอบ้านแพ้ว, นายภัฏ (บอย) สุริวงษ์ ผู้บริหารงาน บริษัท  ฤตธนารียูส จำกัด
ท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร,นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร,นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นที่อำเภอบ้านแพ้วและอปท.ใกล้เคียงที่รวมกลุ่ม ( CLUSTER ) เพื่อการบริหารจัดการขยะมูลฝอย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมให้การต้อนรับ
ทั้งนี้อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้รับฟังแนวคิดและการบริหารจัดการของนายภัฏ (บอย) สุริวงษ์  ผู้บริหารงาน บริษัท  ฤตธนารียูส จำกัดพร้อม เยี่ยมชมการบำบัดน้ำเสียด้วยบ่อบำบัดธรรมชาติทั้ง 12 บ่อ ซึ่งก็เริ่มจากบ่อกรองถ่านที่สร้างเป็นบ่อปูน เพื่อรองรับน้ำเสียจากบ่อพักน้ำเสียของโรงงานคัดแยกขยะ ไม่ให้ไหลออกไปสู่ชุมชน จากนั้นน้ำที่ผ่านการกรองก็จะไหลลงสู่บ่อผักตบชวาบ่อปลา ผ่านไปยังบ่อบัวและสวนมะพร้าว ซึ่งจากบ่อแรกจนถึงบ่อสุดท้ายนั้น ทำให้เห็นได้ว่าธรรมชาติสามารถบำบัดน้ำเสียได้ ถ้ารู้จักวิธีการที่เหมาะสมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ของเสียก็จะไม่เสียของโดยพื้นที่ รอบๆยังมีการเลี้ยงสัตว์ที่จะสามารถนำมูลสัตว์มาเอื้อประโยชน์ต่อการจัดการน้ำเสีย เช่น แพะ แกะ ควาย หมูหลุม ไก่ และกระต่าย เป็นต้น
ด้านอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้กล่าวชมถึงการบริหารจัดการของบริษัท ฤตธนารียูส จำกัดและอยากให้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการธรรมชาติตามคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมอนุญาตให้ใช้สถานที่ฝึกอบรมให้ความรู้
โดยเฉพาะการจัดการขยะชุมชนด้วยวิธีการทางธรรมชาติ ภายใต้แนวคิด ก้าวตามพ่อ การบริหารจัดการขยะแบบพอเพียง เรียบง่าย ประหยัด คุ้มค่า อยู่ร่วมกับชุมชนซึ่งที่ศูนย์ฯ แห่งนี้ เป็นการปรับเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนที่มองว่าขยะเป็นสิ่งสกปรกอันตรายนั้น สามารถจัดการได้อย่างปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม






















วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2563

นอภ.เมืองสค.ลงตรวจรง.ย่านนาโคก ต้องสงสัยเคลื่อนย้ายวัตถุอันตรายที่ถูกอายัด


25 มิถุนายน 2563 เวลา 09.00 น.นายวุฒิพงษ์ สุภัควนิช นายอำเภอเมืองสมุทรสาคร พร้อมหัวหน้าฝ่ายโรงงาน วิศวกรนายตรวจโรงงาน สนง.อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.2 ตำบลนาโคก ลงพื้นที่บริเวณโรงงานแห่งหนึ่ง ซึ่งทางศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเมืองสมุทรสาคร ได้เคยลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงาน และได้กระทำการอายัดกองวัสดุที่อยู่ด้านนอกอาคารโรงงาน เมื่อต้นปี 2562 พร้อมเก็บตัวอย่าง นำไปตรวจสอบ พบว่าเป็นวัตถุอันตราย จึงได้ทำการอายัดกองวัวดุดังกล่าว พร้อมดำเนินคดีการประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และครอบครองวัตถุอันตราย ส่งพนักงานสอบสวน สภ.บางโทรัด
        เนื่องจากเมื่อคืนวันที่ 24 มิถุนายน ได้รับแจ้งว่ามีรถ 18ล้อ เข้ามาในโรงงานและจะทำการขนวัสดุออกนอกโรงงาน จึงได้ประสานนายตรวจอุตสาหกรรม ให้ลงพื้นที่และได้มีคำสั่งให้หยุดการเคลื่อนย้าย พร้อมลงพื้นที่ตรวจสอบในช่วงเช้า พบว่ามีการขนถุงวัสดุออกออกไปจริง แต่เป็นวัสดุที่เป็นเศษวัสดุ พลาสติก ที่เป็นของโรงงาน มิใช่กองวัสดุที่โดนคำสั่งอายัด แต่อย่างใด
ทั้งนี้ นายตรวจฯ ได้แนะนำให้เก็บเศษวัสดุที่เป็นแผ่นปรินทองแดง ให้มากองรวมกับกองวัสดุที่โดนคำสั่งอายัด และห้ามมีการเคลื่อนย้ายกองวัสดุที่โดนคำสั่งอายัดไว้ มิฉะนั้นจะมีความผิดในการขนย้าย







อบจ.สค.จัดบรรยาย "การพัฒนาศักยภาพบุคลากรตามแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน ของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดรูปแบบใหม่"


วันที่ 26 มิถุนายน 2563 นายบรรจง สุทธิคมน์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานเปิดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ "การพัฒนาศักยภาพบุคลากรตามแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน ของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดรูปแบบใหม่" โดยมี อ.อดิศร สุนทรวิภาต หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการและบำเหน็จความชอบบุคลากรท้องถิ่นและฝ่ายการเมือง เป็นผู้บรรยายในครั้งนี้ ณ ห้องประชุมสาครบุรี ชั้น 4 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร








วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563

รมว.มหาดไทยนำคณะผู้บริหาร ฯ ลงนามถวายพระพรสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี



วันที่ 24 มิ.ย.63 เวลา 09:00 น. ที่ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ถวายแจกันดอกไม้หน้าพระรูป สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พร้อมกับลงนามถวายพระพร ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวร และมีพระพลานามัยแข็งแรง











วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563

มท.3 มอบสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค สนับสนุนตู้ปันน้ำใจ “คนมหาดไทย แบ่งปันน้ำใจ สู้ภัยโควิด-19”



วันอังคารที่ 23 มิถุนายน 2563 เวลา 13.00 น. ที่ริมรั้วกระทรวงมหาดไทย นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยคณะทำงานฯ ร่วมสนับสนุนตู้ปันน้ำใจ คนมหาดไทย แบ่งปันน้ำใจ สู้ภัยโควิด-19” มอบสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค ข้าวสารอาหารแห้ง ข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคมและแบ่งปันความสุขระหว่างผู้ให้และผู้รับ โดยมี นายนายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากรของกรมการปกครอง ร่วมกิจกรรม ฯ

ในกิจกรรมนี้ กรมการปกครอง ได้จัดกำลังสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และกำกับดูแลแถวให้เว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) กำชับให้ใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าก่อนรับสิ่งของ และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนหยิบจับสิ่งของ เป็นไปตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุขกำหนด พร้อมขอความร่วมมือให้ หยิบแต่พอดี ถ้ามีก็แบ่งปันไว้เผื่อแผ่คนอื่นๆ อย่างทั่วถึง









สมุทรสาครจัดแถลงข่าว “โครงการรวมใจต้านภัยโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ”



 
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 นายเตช บุนนาค ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายบริหาร
เป็นประธานในงานแถลงข่าว โครงการรวมใจต้านภัยโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เพื่อช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ  ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงการป้องกันตนเองและบุคคลรอบข้างต่อการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 อีกทั้งเพื่อให้แรงงานข้ามชาติที่ถูกกักกันโรคและขาดแคลนอาหาร หรือประสบวิกฤติเศรษฐกิจจากโรคโควิด-19
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกลุ่มที่มีความเปราะบาง ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยมีสภากาชาดไทย
เป็นหน่วยงานหลักในการประสานความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันจัดโครงการนี้ขึ้น โดยมี นางเฮเลเนอ บุดลีเกอร์ อาร์ทิเอดา เอกอัครราชทูต สมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย, นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร, ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน, นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, นายคริสโตเฟอร์ ราสซี หัวหน้าคณะทำงานสนับสนุนกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC),
นายบรูโน ปอมมิเยร์ รองผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC), นายโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟประเทศไทย, นายแพทย์พิชิต
ศิริวรรณ
รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์
 สภากาชาดไทย

คุณคอรีเยาะ มานุแช
ผู้ประสานงานโครงการเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ และคุณกิตติ งามเจตนรมย์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการภูมิภาค – ภาคกลาง เอไอเอส ร่วมแถลงข่าวและร่วมเป็นเกียรติในงาน

            โครงการรวมใจต้านภัยโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เป็นโครงการที่มุ่งเน้นในการให้
ความช่วยเหลือแก่กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดย สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาดจังหวัด และสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย ร่วมกับ
สหพันธ์สภากาชาด
และสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างป
ระเทศ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ และองค์การยูนิเซฟประเทศไทย ร่วมดำเนินโครงการเพื่อแจกจ่ายและมอบสิ่งของที่จำเป็นในการป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับแรงงานข้ามชาติและเด็กในครอบครัว รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) อาทิ หน้ากากอนามัยแบบผ้า จำนวน 800,000 ชิ้น แอลกอฮอล์เจล จำนวน 50,000 ขวด เครื่องวัดอุณหภูมิ จำนวน 1,400 ชิ้น และมอบชุดธารน้ำใจเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต จำนวนมากกว่า 20,000 ชุด โดยที่ผ่านมาสภากาชาดไทย ได้มอบชุดธารน้ำใจให้กับแรงงานข้ามชาติและครอบครัวที่ว่างงาน เพราะถูกเลิกจ้างและได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจังหวัดต่าง ๆ ไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 5,368 ชุด          

            ในส่วนของการให้ข้อมูลความรู้ ได้จัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ อาทิ แผ่นพับเรื่อง
เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับภาษาพม่า 80,000 แผ่น ภาษากัมพูชา 50,000 แผ่น และภาษาเวียดนาม 20,000 แผ่น จัดทำโปสเตอร์ เรื่องเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับภาษาพม่า 10,000 แผ่น ภาษากัมพูชา 10,000 แผ่น และ     ภาษาเวียดนาม 5,000 แผ่น จัดทำวีดิทัศน์ แปล 3 ภาษา จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ การใช้หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี ขั้นตอนการล้างมือที่ถูกวิธี 7 ขั้นตอน เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และทำอย่างไรเมื่อต้องกักตัว 14 วัน รวมทั้ง
ยังมีการประสานงานเพื่อให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติและครอบครัวในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะการให้ความรู้สำหรับเด็กในครอบครัวของแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ด้วย
            นอกจากนี้ “โครงการรวมใจต้านภัยโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ” ยังได้รับการสนับสนุนจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำประเทศไทย มอบเงินสนับสนุนเพื่อใช้ในโครงการ จำนวน 330,000 บาท บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) สนับสนุนอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ในงานแอปพลิเคชัน “พ้นภัย” แก่อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวและแกนนำแรงงานที่ผ่านการอบรมและได้รับสิทธิ์ในการแจ้งข่าว จำนวน 4,000 คน เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวและแกนนำหอพักแรงงานข้ามชาติ ให้มีส่วนร่วมในการค้นหาผู้มีอาการของโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และค้นหาแรงงานข้ามชาติที่เข้าประเทศมาโดยยังไม่ได้ผ่านการกักกันโรค 14 วัน โดยแจ้งข่าวผ่านแอปพลิเคชั่น “พ้นภัย” เพื่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะได้ไปสอบสวนโรค คัดกรอง และส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุข โดยมีรางวัลให้แก่ผู้แจ้งข่าว โดยมีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานด้านสาธารณสุขระดับจังหวัด รวมถึงหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน เป็นหลักในการดำเนินกิจกรรมนี้ร่วมกับเหล่ากาชาดจังหวัด ซึ่งจะเริ่มนำร่องในจังหวัดสมุทรสาคร และขยายไปยังจังหวัดอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสและระยะเวลาในการแพร่โรคโควิด-19 ในชุมชนแรงงานข้ามชาติ
            ทั้งนี้ ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคเงิน 63 บาท ในโครงการ “63 บาท สู้ COVID-19 ปี’63”
เพื่อสนับสนุนภารกิจของสภากาชาดไทย ด้วยการสแกน
QR CODE ผ่านแอปพลิเคชันธนาคารในระบบ
E-DONATION หรือโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาสำนักสีลม ชื่อบัญชี "สภากาชาดไทย เพื่อภัยพิบัติ" ประเภทบัญชี "กระแสรายวัน" เลขที่ 001-1-34567-0 สอบถามเพิ่มเติมโทร.1664













วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563

วันครีษมายัน



วันที่ 21 มิถุนายน เป็นวันครีษมายัน คือวันที่ มีเวลากลางวันยาวนานที่สุดในหลายรอบ10 ปี ทางวิทยาศาสตร์ได้มีการคำนวณทางจักรดวงดาวไว้ ส่วนทางโหราศาสตร์นั้น วัน ครีษมายัน คือ วันที่ พระราหู เปิด ดวง ตามโบราณว่าไว้ สุริยคราสในเวลากลางวัน มีผลต่อผู้เกิดในหลายราศี ท่านพราหมณ์วิมล จึงได้จัดไหว้พระราหู รับและส่งเสริม ดวงตัวเราเอง โดยมีการนำสวดเสริมดวงและมีการ อาบน้ำมนต์ในวันนี้ เพื่อล้างสิ่งไม่ดี เปิดดวงรับทรัพย์ ให้ดีต่อผู้บูชา





วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2563

นอภ.เมืองสค. เข้าตรวจสอบรง.ปล่อยน้ำรั่วลงคลองสี่วา ฯ


เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 เวลา 10.30 น. นายวุฒิพงษ์ สุภัควนิช นายอำเภอเมืองสมุทรสาคร พร้อมนายสิริพงษ์ กลัดเจริญ ปลัดอำเภอเมืองสมุทรสาคร ฝ่ายความมั่นคง สมาชิก อส.ปลัด ทต.บางปลา ผอ.กองสาธารณสุข นายตรวจโรงงาน สนง.อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บางปลา ผู้ใหญ่บ้าน ม.1 บ้านเกาะ ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณคลองสี่วา หน้าประตูน้ำพันธุวงษ์ เนื่องจากได้รับแจ้งจากราษฎรในพื้นที่ ว่ามีน้ำรั่วไหลออกจากประตูน้ำลงคลองสี่วาพาสวัสดิ์ จึงได้ทำการเดินสำรวจบริเวณโดยรอบพื้นที่  พบว่ามีบ่อน้ำของโรงงานปัญจพล ไพเบอร์ คอนเทนเนอร จำกัด จึงได้ทำการตรวจสอบพบว่า คันกั้นน้ำบริเวณรอบบ่อเก็บน้ำของโรงงานมีการพังทลายเนื่องจากน้ำในบ่อล้นออกมา และหลุดออกมาลงคลองสี่วาพาสวัสดิ์ และบริเวณรอบโรงงานมีการวางกองสิ่งปฏิกูล กองเศษเยื่อกระดาษจากกระบวนการผลิต ทางสนง.อุตสาหกรรมจังหวัด และทาง ทต.บางปลา ได้ออกคำสั่งให้ดำเนินการตามกฎหมาย
       ทั้งนี้โรงงานดังกล่าว ถูกดำเนินคดีกรณีน้ำเอ่อล้นออกนอกโรงงาน ซึ่งถือว่าเป็นการ by-pass น้ำ และเก็บน้ำตัวอย่างไปตรวจสอบคุณภาพน้ำ   ดำเนินการ กองสิ่งปฏิกูล กองเศษเยื่อกระดาษจากกระบวนการผลิต บนพื้นที่ที่มีหลังคาปกคลุม กองบนพื้นซีเมนต์  รวมทั้งให้ปรับปรุงคันดินให้มีความมั่นคงแข็งแรง ภายในระยะเวลา 30 วัน  ให้ดำเนินการนำวัสดุมาปิดกั้นชั่วคราวตรงรอยประตูน้ำที่มีการรั่วไหล ภายใน 7 วัน และให้ดำเนินการปิดถาวรต่อไป   ทั้งนี้ ให้รายงานการดำเนินการให้ทาง สนง.อุตสาหกรรมจังหวัด และทต.บางปลา อย่างต่อเนื่อง