pearleus

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2564

สุดงง !! กรมทรัพย์สิน ฯ อนุมัติโลโก้การค้า 2 มาตรฐาน ....หรือเปล่า ?

 








สืบเนื่องจากกลุ่มธุรกิจ SME จิตต์ไฟเบอร์กลาสซัพพลาย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อประธานรัฐสภา ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง การละเมิดและเลียนแบบเครื่องหมายการค้า  “Safe”  ซึ่งประกอบธุรกิจทำและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มาจากไฟเบอร์กลาสและพลาสติกชนิดต่าง ๆ อาทิ ถังน้ำไฟเบอร์กลาส แผ่นไฟเบอร์กลาส  โมลล์ไฟเบอร์ ฯลฯ พร้อมทั้งดำเนินคดีกับผู้กระทำการละเมิดทั้งหมดเครื่องหมายการค้า ที่สร้างความเสียหายให้กว่า 1,000 ล้าน 

ทั้งนี้หนึ่งในบริษัทที่ถูกกลุ่มธุรกิจ SME จิตต์ไฟเบอร์กลาสซัพพลาย ดำเนินคดี ก็คือ บริษัท ปรีชา การช่าง เวนติเลเตอร์ จำกัด  ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ต.แคราย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 

ซึ่งถูกระบุว่ามีเครื่องหมาย คล้ายหรือเลียนแบบ อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้

จากเหตุการณ์ดังกล่าว นายปรีชา ทองยิ่ง ผู้บริหารบริษัท ปรีชา การช่าง เวนติเลเตอร์ จำกัด จึงได้ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ เครื่องหมายการค้า “Safe” ที่กำลังเป็นคดีความอยู่ขณะนี้  โดยนายปรีชา ได้กล่าวถึงความเป็นมาแต่ต้นว่า ก่อนหน้านี้ ตนเองกับจิตต์ไฟเบอร์กลาสซัพพลาย เคยทำธุรกิจร่วมกัน โดยใช้โลโก้ Safe ที่มีลูกโลกอยู่ด้านหลังตัวอักษร Safe เป็นเครื่องหมายการค้า ซึ่งได้ขออนุญาติอย่างถูกต้องจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา จดทะเบียนไว้ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2557 หากแต่มีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดว่า    “ข้าพเจ้าไม่ขอถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมันทั้งหมด”  นั้นก็หมายความว่า  คำว่า  ไม่สามารถนำคำว่า Safe มาจดเป็นลิขสิทธิ์ส่วนตัวได้ เนื่องจากเป็นคำสามัญทั่วไปที่มีมาอยู่ก่อนแล้ว  แต่ที่กรมทรัพย์สิน ฯ อนุญาตนั้นก็เป็นเพียงแค่รูปแบบเท่านั้น 

ต่อมาตนเองได้แยกตัวออกจากการร่วมงานกับบริษัทจิตต์ไฟเบอร์กลาสซัพพลาย  แต่ยังคงใช้เครื่องหมายการค้า Safe ที่มีลูกโลก พร้อม ๆ กับทำเรื่องขออนุญาติโลโก้ใหม่ที่มีชื่อ Safe เช่นกัน แต่มีสัญลักษณ์เป็นลูกหมุนระบายอากาศอยู่ด้านหน้าตัวอักษร Safe เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นภายหน้า  ในขณะที่บริษัท จิตต์ไฟเบอร์กลาสซัพพลาย เองก็ยังคงใช้เครื่องหมายการค้า Safe ที่มีลูกโลกเช่นกัน 

“ผมทำเรื่องขออนุญาติใช้ โลโก้ใหม่เมื่อปี 2561  ตามระเบียบของกรมทรัพย์ทางปัญญาทุกประการอย่างเคร่งครัด ซึ่งก็มีการแก้แบบตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำ แต่ก็ยังไม่ผ่านการอนุญาติให้ใช้งานได้ แต่ผมก็ไม่ละความพยายามน่ะ และที่ยังคงใช้ตัวอักษรคำว่า Safe เพราะเห็นว่าเป็นโลโก้ที่ติดตลาด เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคที่มั่นใจในคุณภาพสินค้าของบริษัท” นายปรีชากล่าว 

นายปรีชาได้แสดงเอกสารถึงเหตุผลที่นายทะเบียนประจำสำนักงานเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญหา ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตัวใหม่ของตนว่า 

เพราะอักษรโรมันคำว่า Safe แปลว่า ปลอดภัย มั่นคง เมื่อนำมาใช้กับสินค้าที่ยื่นของจดทะเบียน อาจสื่อความหมายได้ว่าเป็นสินค้าถังเก็บน้ำซึ่งไม่ได้ทำด้วยโลหะที่ใช้แล้วปลอดภัย นับว่าเล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง   ส่วนรูปประดิษฐ์มีขนาดและสัดส่วนที่ไม่เพียงพอที่จะใช้เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย 

อย่างไรก็ตามระหว่างที่นายปรีชากำลังดำเนินเรื่องขออนุญาติใช้โลโก้ใหม่อยู่นั้น ก็ปรากฏว่า ทางบริษัทจิตต์ไฟเบอร์กลาสซัพพลาย ก็ได้ทำเรื่องขออนุญาตใช้โลโก้ใหม่เช่นกัน โดยมีคำว่า Safe อยู่ในวงรี ซึ่งก็ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา สร้างสงสัยเคลือบแคลงให้กับนายปรีชา ถึงมาตรฐานของกรมทรัพย์สิน ฯ ว่า ทำไมถึงมี 2 มาตรฐานเกิดขึ้น  

“เรื่องนี้ผมงงมาก เพราะก่อนหน้าที่กรมทรัพย์สินเคยบอกว่า คำว่า Safe จดไม่ได้ เพราะเป็นคำกลางสามัญ  ใครจะนำมาเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ได้  แต่ทำไม ทางบริษัท จิตต์ไฟเบอร์ ฯ ถึงจดได้เฉยเลย ทั้ง ๆ ที่มีคำว่า Safe เปล่า ๆ  แต่ Safe ลูกหมุนของผมกลับไม่ได้อนุมัติ ทั้ง ๆ ที่ยื่นขอจดก่อน ตรงนี้แหละครับที่ผมสงสัย และอยากได้เหตุผลจากทางสำนักทรัพย์สิน ฯ” นายปรีชากล่าว

ทั้งนี้ภายหลังจากที่  บริษัทจิตต์ไฟเบอร์กลาสซัพพลาย ได้รับอนุมัติให้ใช้โลโก้ Safe แล้ว นายปรีชา ก็ได้ทำเรื่องขอทราบเหตุผลในการอนุมัติ  ทั้ง ๆ ที่ตนเองก็ทำอักษรลักษณะเดียวกัน แต่กลับไม่ได้รับการอนุมัติ  อีกทั้งทางบริษัทจิตต์ไฟเบอร์กลาสซัพพลาย ก็ได้ดำเนินการฟ้องร้องบริษัทต่าง ๆ ที่มีคำว่า Safe เรียกร้องค่าเสียหาย ซึ่งในส่วนของบริษัทของนายปรีชา ก็ถูกฟ้องทั้งทางอาญาและแพ่งเป็นหลายร้อยล้านบาทด้วยเช่นกัน

คุณปรีชาได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการได้รับอนุมัติโลโก้ Safe ของบริษัทจิตต์ไฟเบอร์กลาสซัพพลาย  รวมถึงการฟ้องร้องบริษัทที่ใช้โลโก้ Safe ลูกโลก ที่ได้รับการอนุมัติจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาอย่างถูกต้องไปก่อนหน้านี้แล้วว่า ทำได้หรือไม่  

ทั้งนี้ตนเองไม่มีเจตนาจะมีปัญหากับทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา หากแต่ต้องการรู้เหตุผลจากการอนุมัติโลโก้ในครั้งนี้ ต้องการทำถูกให้เป็นถูก ไม่ต้องการใส่ร้ายใคร  เพื่อความชัดเจนและใช้เป็นแนวทางปฎิบัติต่อไปเท่านั้นเอง 

 


วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2564

“คนสิทธิ” จับมือ “คนข่าว” ส่งต่อความห่วงใย มอบอาหาร-น้ำ ชุมชนริมคลองบางบัว ช่วยบรรเทาพิษโควิ








เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ที่ผ่านมา ชุมชนริมคลองบางบัวหลังกรมวิทยาศาสตร์ ถนนเกษตรนวมินทร์ นายสมชาย จรรยา อุปนายก สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยตัวแทนนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่น 1 (ปสม.1) สถาบันพระปกเกล้า นำโดย นางถวิล เพิ่มเพียรสิน อดีตรองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นางสาวพรทิพย์ เตชะสมบูรณา กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทในเครือ เวิลด์เมดิคอลซัพพลาย จำกัดนางสุจิตรา แก้วไกร ผู้อำนวยการ กองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และนางสุกัญญา จรรยา ผู้จัดการ มูลนิธิสหชาติ ร่วมกับเวปไซต์ข่าวจั่นเจา Canchaonews.com หนังสือพิมพ์ดีดีโพสต์ นิวส์ ส่งมอบข้าวกล่องพร้อมทาน หน้ากากอนามัย น้ำดื่ม และสเปร์แอลกอฮอล์ ส่งมอบแก่ นางสิริวรรณ กลิ่นหอม ประธานชุมชน เป็นผู้แทนรับมอบเพื่อส่งต่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ที่ดูแล นางสิริวรรณ กลิ่นหอม เปิดเผยว่า ชุมชนแห่งนี้ มีประชาชนพักอาศัย 120 ครัวเรือน ประชากรกว่า 600  คน ในจำนวนนี้ผู้มีความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อโควิด-19 และต้องกักตัว 16 ครอบครัว ขณะนี้รักษาหายแล้ว และกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ แต่ชุมชนยังคงเฝ้าระวัง ช่วยกันดูแลป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด แบบไม่ประมาทการ์ดไม่ตก  ด้านนายสมชาย จรรยา เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดเขื้อไวรัสโควิด-19 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานประจำวัน มียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รวม 20,571 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อใหม่ 20,336 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 235 รายซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของกลุ่มเปราะบาง ที่เป็นทั้งคนไร้บ้าน ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง ที่อาศัยอยู่ในชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะเมืองกรุง ที่จะรอการช่วยเหลือ ในนามพันธมิตรจิตอาสาเป็นอีกหนึ่งกลุ่มองค์กร ที่อาสามาเป็นสะพานบุญ รับข้าวกล่องพร้อมทานจากจุดส่งมอบอาหารโลตัสบางกะปิ ภายใต้โครงการ "ครัวปันอิ่ม ร้อยเรียงใจสู้ภัยโควิด-19" โดยบริษัทในเครือซีพี จัดทำขึ้น โดยมีสิ่งของ อื่นๆ อาทิ สเปรย์แอลกอฮอล์ น้ำดื่ม ได้นำมาสมทบ เพื่อแบ่งปันความสุข และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย เราคนไทยไม่ทิ้งกัน เราต้องก้าวผ่านวิกฤติไปด้วยกันให้ได้ 

โยธิน พรมแตง

0899167848

รายงาน

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2564

จนท.ทำทันที ออกปราม ต่างด้าวเดินเกลื่อนตลาดไทยยูเนี่ยนท่าทราย




 เมื่อวันที่ 7 สค.2564หลังได้รับภาพการร้องเรียนจากสื่อมวลชนว่าบริเวรตลาดไทยยูเนี่ยน ตลาดโรงไม้ มีมอญ-พม่าออกมาเดินจับจ่ายซื้อของอย่างมากมายตามภาพที่ส่งมาให้ดู นายวรชาติ สายน้ำผึ้ง กำนันตำบลท่าทรายจึงได้ประสานไปทาง นายเมธา เอกดำรงกิจ ปลัด อบต.ท่าทราย ปฏิบัติหน้าที่นายกอบต.ท่าทราย สนธิกำลังฝ่ายปกครองตำบลท่าทราย และ นายสิริพงษ์ กลัดเจริญ ปลัดป้องกันอำเภอเมืองสมุทรสาครพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องออกปรามพม่า-มอญที่ออกมาจับจ่ายซื้อของบริเวณตลาดไทยยูเนี่ยน ตลาดโรงไม้ และได้กำชับให้พ่อค้า แม่ขายปฎิบัติการตามมาตรการทางกองควบคุมโรคสมุทรสาครอย่างเคร่งครุด

ทั้งยังขอความร่วมมือจากโรงไม้เจ้าของตลาด การตามมาตรการอย่างเคร่งครัดตามนโยบายของกองควบคุมโรคจังหวัดสมุทรสาครในช่วงที่โควิด 19 ระบาดอย่างหนักในเขตตำบลท่าทรายไปก่อนจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นต่อไป










วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2564

คัดกรองและฉีดวัคซีนให้ผู้สูงวัยและกลุ่มเสี่ยงให้กับชาวตำบลท่าทราย

 คัดกรองและฉีดวัคซีนให้ผู้สูงวัยและกลุ่มเสี่ยงให้กับชาวตำบลท่าทราย 

เมื่อ 6 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา อบต.ท่าทราย ฝ่ายปกครองตำบลท่าทราย เจ้าหน้าที่ของอำเภอเมืองสมุทรสาคร บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข อสม.ตำบลท่าทรายระดมกำลังคัดกรองและฉีดวัคซีนให้ผู้สูงวัยและกลุ่มเสี่ยงให้กับชาวตำบลท่าทราย สมุทรสาคร ทั้งนี้นายวรชาติสายน้ำผึ้งกำนันตำบลท่าทราย สมุทรสาคร ได้กล่าวว่า ต้องผ่านด่านนี้ไปให้ได้ชาวบ้านต้องมาก่อน