pearleus

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2561

บก.สส.บช.น. รวบมิจฉาชีพ หลอกลวงให้ทำประกันภัย


 
                กองบัญชาการตำรวจนครบาล ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช ผบช.น  พล.ต.ต.อนุรักษ์ แตงเกษม รอง ผบช.น. , พล.ต.ต.สมพงษ์  ชิงดวง รอง ผบช.น. , พล.ต.ต.นิตินันท์ เพชรบรม รอง ผบช.น. , พล.ต.ต.อิทธิพล  อัจฉริยะประดิษฐ์  ผบก.สส.บช.น. , พ.ต.อ.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบก.สส.บช.น. , กองกำกับการวิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ  ภายใต้การอำนวยการ พ.ต.อ.พรศักดิ์ เลารุจิราลัย ผกก.กก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ , พ.ต.ท.นพดล เจริญทรัพย์ , พ.ต.ท.ธิติพงษ์  สียา , พ.ต.ท.สรรเพชร สุวรรณไตร รอง ผกก. , ร.ต.อ.กิติพัฒน์ ใจอารีรอบ  สว.ฯ , ร.ต.ท.พิชิต สนธิโพธิ์ รอง สว.ฯ พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.วิเคราะห์ข่าวฯ
ได้ร่วมกันจับกุม นางสาวจุฑาภาส อังกาพย์ อายุ 37 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลแขวงเชียงใหม่ ที่ 3/2561  ลงวันที่ 4 มกราคม  2561  โดยกล่าวหาว่า  “ฉ้อโกงทรัพย์  
 จับกุมได้ที่  ลานจอดรถอาคาร เดอะกั๊มคอนโด เลขที่ 567/397 ม.5 ต.คลองตำหรุ อ.เมือง จ.ชลบุรี 
                        พฤติการณ์กล่าวคือ ตามที่ได้มีผู้เสียหายจำนวนมาก ได้รับความเสียหาย จากการถูกกลุ่มคนร้ายหลอกลวง ว่าเป็นโบรกเกอร์ ขายประกันภัย จึงได้มีการรวมตัวกัน เพื่อติดตามคนร้ายรายนี้ และ ได้มีการขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งทาง เทสโก้ โบรกเกอร์ และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ก็ได้รับเรื่องร้องเรียน จากผู้เสียหายกว่า 200 รายทั่วประเทศ ว่าได้รับความเดือดร้อน จากการถูกมิจฉาชีพ ฉ้อโกง โดยหลอกลวงให้ทำประกันภัยจนได้รับความเสียหาย คิดเป็นทุนประกันเกินกว่า 50 ล้านบาท และ คนร้ายได้กระทำความผิดมาตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งต่อมาได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมดำเนินคดี แต่ยังไม่ยอมเลิกกระทำ กลับมาเปิดบริษัทใหม่ เพื่อกระทำความผิดอีกครั้ง โดยครั้งนี้ได้เพิ่มรูปแบบของการกระทำความผิด ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ยากต่อการสืบสวนติดตามจับกุม ทำให้เกิดผู้เสียหายไม่เว้นแต่ละวัน จนกระทั่งได้มีการรวมตัว เพื่อแจ้งเตือนในสื่อสังคมออนไลน์ หน่วยงานต่างๆ ร่วมทั้งขอความช่วยเหลือไปยังผู้สื่อข่าวหลายสำนักนั้น  ผบก.สส.บช.น.ได้ทราบเหตุดังกล่าว จึงได้สั่งการให้ กก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น.  เร่งรัดจับกุมผู้ต้องหารายนี้ โดยเร็วที่สุด เพื่อเป็นการยับยั้ง ไม่ให้ก่อเหตุ และ บรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้เสียหาย  ต่อมา กก.วิเคราะห์ข่าวฯจึงได้สืบสวน ติดตาม จับกุมผู้ต้องหาได้ จากนั้นจึงได้นำส่ง พงส.เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
พฤติการณ์ของผู้ต้องหา กล่าวคือ ผู้ต้องหารายนี้เคยทำงานเป็นตัวแทนขายประกันภัย จึงรู้ช่องทางในการติดต่อ ซื้อ-ขายประกันภัย รวมทั้งมีช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้า ดังนั้น ผู้ต้องหารายนี้จึงได้มีการไปเปิดบริษัทหลายบริษัท และ เปิดบัญชีธนาคารในนามบริษัท เพื่อให้น่าเชื่อถือว่าเป็นโบรกเกอร์ขายประกันภัย จริง ๆ เช่น บริษัท ที.ไอ.เอส ควอลิตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด , บจก.ไอ.ซี.มอเตอร์ เซลล์ เซอร์วิส  จากนั้นจะโทรไปหาลูกค้าที่เคยทำประกันภัย และกำลังหมดอายุ เพื่อให้ต่อประกันภัยกับตน โดยเสนอส่วนลด และ มอบสิ่งของเป็นกล้องถ่ายรูป หรือ โทรศัพท์ เพื่อจูงใจ ทำให้ผู้เสียหาย หลงเชื่อ และ อยากมาทำประกันภัยกับผู้ต้องหา ประกอบกับเห็นว่า เป็นการโอนเงินเข้าบริษัท จึงน่าเชื่อถือและ หลงเชื่อ จนมีการโอนเงินเข้าบัญชีที่ผู้ต้องหาอ้าง  ตกรายละ 10,000 – 25,000 บาท และ กระทำเช่นนี้เกือบแทบทุกวันมาตั้งแต่ปี 2558 ทำให้มีผู้เสียหายหลายร้อยราย และ มีมูลค่าความเสียหายคิดเป็นทุนประกันเกิน 50 ล้านบาท  ซึ่งเมื่อเงินเข้าบัญชีบริษัทดังกล่าวแล้ว ผู้ต้องหานี้จะถอนเงินสดผ่านบัญชีบริษัทดังกล่าว จากนั้นได้นำเงินไปใช้ โดยไม่ได้มีการทำประกันจริงแต่อย่างใด  จนกระทั่งผู้เสียหายได้มีการร่วมตัวเพื่อขอความช่วยเหลือไปยัง หน่วยงานต่างๆ และ สื่อหลายสำนัก จนกระทั่ง บก.สส.บช.น.ได้สืบสวน ติดตามผู้ต้องหานี้รายนี้ได้ เพื่อนำส่ง พงส.เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป










0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น