pearleus

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

7 เรื่องที่คุณยังไม่รู้เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ / นวัตกรรม…. ทำได้ไง By… Mr. T (ชี้ชัดเจาะลึก เม.ย.61)


นวัตกรรม…. ทำได้ไง
By… Mr. T
7 เรื่องที่คุณยังไม่รู้เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์
 Ai เรียกง่ายๆ ว่าปัญญาประดิษฐ์ ก็คือ คอมพิวเตอร์ที่สามารถคิดและวิเคราะห์สิ่งต่างๆด้วยเหตุและผล จนสามารถตอบโต้การสนทนาได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนั้นยังสามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งที่ผ่านมาเป็นบทเรียนได้อย่างลึกซึ้ง  หลายคนวิตกว่า Ai จะมาครองโลก เบียดอาชีพมนุษย์ อย่างไรก็ตามดูเหมือนโลกกำลังจะต้อนรับการมาของเจ้าปัญญาประดิษฐ์ เสียแล้ว  ในเมื่อหลบเลี่ยงไม่ได้ ก็มาทำความรู้จักกับพวกมันเสียเลย เข้าทำนอง รู้เรารู้เขา รบกี่ครั้งก็ เสมอ …555  
1.โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์โปรแกรมแรกเป็นการจำลองหน่วยประสาทเดี่ยว  สร้างโดย วอร์เรน แมคคัลลอช์ และวอลเธอร์ พิทซ์ โดยใช้ความรู้เรื่องหน้าที่ของสมองในเชิงกายภาพ ตรรกศาสตร์ และทฤษฎีการคำนวณ และภายหลัง โดนัลด์ เฮบบ์ ได้เสนอกฎการเรียนรู้เพื่ออธิบายการเรียนรู้ของโครงข่ายประสาทเทียม
2. มาร์วิน มินสกี และดีน เอ็ดมอนด์ นักศึกษามหา-วิทยาลัยพรินส์ตันได้ร่วมกันสร้างโครงข่ายใยประสาทเทียม โดยใช้หลอดสุญญากาศถึง 3,000 หลอด เพื่อจำลองหน่วยประสาท 40 หน่วยสำหรับการค้นหาทางออกจากเขาวงกต
3.ปี ค.ศ. 1950 อลัน ทัวริง ได้เสนอวิธีการทดสอบที่เรียกว่า Turing test เพื่อใช้ทดสอบความสามารถของเครื่องจักร ซึ่งมีผลอย่างสูงต่อการศึกษาเรื่องปัญญาประดิษฐ์ ต่อข้อถกเถียงสำคัญที่ว่า: เป็นไปได้หรือไม่ที่จะกล่าวว่าเครื่องจักรนั้นมี สำนึก และสามารถ คิด ได้
4.ในปี ค.ศ. 1956 ปัญญาประดิษฐ์กำเนิดอย่างเต็มตัวที่มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน โดย จอห์น แมคคาร์ธี ได้ชวน มาร์วิน มินสกี, คอล็ด แชนนอน, นาธาเนียล โรเชสเตอร์ และนักวิจัยจากสถาบันอื่นรวม 10 คน มาช่วยวิจัยเรื่องทฤษฎีอัตโนมัติ  โครงข่ายใยประสาท และศึกษาเรื่อง ‘ความฉลาด : Intelligence’
5. จอห์น แมคคาร์ธี คือผู้ตั้งชื่อศาสตร์นี้ว่า A.I. : Arti-ficial Intelligence
6.ถ้าเป็นโลกตะวันตก คำว่า Robot หรือหุ่นยนต์เองนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1921 โดย Karel Capek นักเขียนชาวเชค และทำให้เจ้า Robot นั้น มีคำเรียกขานในบรรยายเรื่องแต่งทางวิทยาศาสตร์ ทั้งหลายเรื่อยมา ทว่าเป็นหุ่นยนต์ที่มีลักษณะเหมือนกับคน คือมีความเป็น ไซบอร์ก หรือแอนดรอยด์ มากกว่า ซึ่งต้องถือว่าก้าวหน้ามาก
7.กฎสามข้อของหุ่นยนต์ก็คือการกำหนดว่า หนึ่ง หุ่นยนต์จะทำร้ายมนุษย์ไม่ได้ สอง ต้องเชื่อฟังคำสั่งจากมนุษย์ เว้นแต่ว่าคำสั่งนั้นจะขัดแย้งกับข้อแรก และสามคือหุ่นยนต์ต้องปกป้องตัวเอง ตราบเท่าที่การปกป้องนั้นไม่ขัดแย้งกับข้อที่หนึ่งและข้อที่สอง  






0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น