สืบเนื่องจากชาวบ้านในจังหวัดสมุทรสงครามออกมาประท้วงเรื่องปัญหาน้ำเสีย
ทำให้ได้รับความเดือดร้อนหอยแมลงภู่ หอยแครงได้ตายเป็นจำนวนมา จนต้องพากันไปที่ศาลากลางจังหวัดสมุทรสงคราม
เพื่อที่จะได้เจรจาแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ โดยมีนายก จิระ แก้วมณี นายก อ.บ.ต.คลองโคน เป็นแกนนำ แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ยังไม่ยอมลงมาพบกับชาวบ้าน
และปล่อยให้รอตั้งแต่ 9.00 น. ถึง 11.00 น. ก็ยังไม่มีวีแววที่จะออกมาพบ ชาวบ้านจึงมารวมกันที่หอประชุมวัฒนธรรม
และเริ่มตั้งกลุ่มประท้วงแล้วเดินจนไปถึง
ถนนที่จะไปพระราม 2 โดยชาวบ้านมีการทำแผ่นป้ายประท้วง ที่มีคำพูดว่า “ หอยตายจะ 3 เดือนแล้ว ดำเนินการกันอย่างไร
หรือหล่นที่ไหน ช่วยบอกทีจะตามไปเก็บส่งเอง “ ความเสียหายในครั้งนี้มีการประมาณว่าพันกว่าล้าน
ในขณะที่ทางตำรวจก็ได้เตรียมเจ้าหน้าที่กว่า 200 นาย ทั้งจากกรมการปกครอง
ตำรวจจราจร ตำรวจทางหลวง มาควบคุมสถานที่ชุมนุม จนในที่สุด นายธนน เวชกรกานนท์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม พร้อม พ.อ.อ. ปัญญา สระทองอุ่น
รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ก็ออกมารับเรื่อง และได้ข้อสรุปว่าจะมีการยืนหนังสือกับนายกรัฐมนตรี
ซึ่งประชาชนที่มาประท้วงบอกว่าถ้ายังไม่ได้ข้อสรุปก็จะทำการปิดถนนพระราม 2
สะพานพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือสะพานแม่กลองจนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข
ต่อมานางรังสิมา รอดรัศมี ส.ส.
สมุทรสงคราม พร้อมด้วย พ.อ.อ. ปัญญา
สระทองอุ่น รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม , นาย สำราญ ตันเจียมศรี
ปลัดสมุทรสงคราม , นาย จิระ แก้วมณี นายก อบต คลองโคน
และชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่งได้เดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสือถึงนางสาวยิ่งลักษณ์
ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต่อปัญหาดังกล่าว โดยในหนังสือระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้
ด้วยเมื่อราวเดือนตุลาคม
2555 ได้เกิดปรากฎการณ์แพลงบลูม ในทะเลอ่าวไทย ส่งผลต่อผู้เลี้ยงหอยแมลงภู่ในทะเล
หอยตายเป็นจำนวนมาก จากนั้นราวเดือนพฤศจิกายน น้ำเสียกลับทวีคูณความรุนแรงขึ้น
พร้อมกันนั้นเมื่อน้ำทะเลหนุนเข้าฝั่ง ก็ได้นำเอาน้ำเสียไหลเข้าในพื้นที่ชายฝั่ง
ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง สัตว์น้ำ ตายเป็นจำนวนมาก กุ้ง หอย ปู ปลา
ตายเกือบ 100%
น้ำเสียตั้งแต่ปากอ่าวทะเลเข้ามาในแม่น้ำแม่กลองกว่า 10 กิโลเมตร
สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ประมงชายฝั่งและผู้เพาะเลี้ยง
ซึ่งอยู่ตลอดริมฝั่งและคลองซอยต่างๆซึ่งประกอบด้วย ผู้เลี้ยงกุ้ง ผู้เลี้ยงหอยแครง หอยแมลงภู่ หอยกระปุก ผู้เลี้ยงปลากะพง
และปลาทับทิมในกระชัง ผู้เก็บหอยแครง หอยกระปุก หอยกะพง และหยอดหอยหลอด รวมทั้งชาวประมงขนาดเล็ก
ที่ออกทำประมงหาเช้ากินค่ำ ตามชายฝั่งทะเลรวม 2 อำเภอ 9 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมือง
ตำบลแม่กลอง ลาดใหญ่ บ้านปรก บางแก้ว บางจะเกร็ง แหลมใหญ่ คลองโคน และท้ายหาด อำเภออัมพวา ตำบลยี่สาร
ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากสัตว์น้ำที่เลี้ยง และกำลังจะจับขายในช่วงปีใหม่ตายทั้งหมด
ส่วนสัตว์น้ำในแหล่งธรรมชาติ ตั้งแต่ผิวดิน จนถึงกลางน้ำ ตายลงเกือบหมด
คงเหลือเพียงตัวอ่อนสัตว์น้ำที่ลอยผู้ผิวน้ำเท่านั้นชาวบ้านไม่มีหนทางที่จะแก้ไขปัญหาได้เพียงลำพัง
อีกทั้งในอนาคตข้างหน้า จะหากินกันอย่างไร จะหารายได้มาเจือจุนครอบครัวจากไหน
ได้รับความเดือดร้อนเป็นที่สุด จึงได้มารวมกัน เพื่อกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
ได้โปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ ดังนี้
1)
ความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้
นับเป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดในรอบ 40 ปี จึงเห็นควร ฯพณฯ
ได้ประกาศในจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติร้ายแรง โดยเร่งด่วน
พร้อมทั้งขอท่านได้โปรดเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือเยียวยา
แก่ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนทุกกลุ่มอาชีพโดยเร็วต่อไป
2)
ขอท่านพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ชาวบ้าน
ที่อยู่ในชุมชนประมงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการประมงขนาดเล็กที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกันทางราชการ
ที่จะไม่สามารถหาสัตว์น้ำได้ในช่วงนี้จนกว่าท้องทะเลจะฟื้นตัว
ต่อมานาย ไชรัตน์ ไทยเจียมอารีย์
เป็นตัวแทนของนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหนังสือ พร้อมหารือกันเบื้องต้นโดยใช้เวลาประมาณ
2 ชั่วโมง และได้ข้อสรุปว่าจะให้กรมประมงไปตรวจสอบข้อมูลของชาวประมงผู้เสียหายที่ลงทะเบียน
และ ไม่ได้ลงทะเบียน ภายใน 2 อาทิตย์
เพื่อจะได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความช่วยเหลือต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น