


พลเอก ฉัตรชัย กล่าวต่อไปว่า ในช่วงที่ผ่านมา
รัฐบาลได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติอาทิ ส่งเสริมด้านการศึกษาเด็กและเยาวชนให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
12 ปีและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล
ภายใต้โครงการ “อินเทอร์เน็ตประชารัฐ”ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
การเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาความรุนแรงตามโครงการ “ชมรมริบบิ้นขาว”และส่งเสริมผู้ประกอบการสตรี เช่น โครงการ startupเป็นการเปิดโอกาสให้สตรีได้มีโอกาสเริ่มธุรกิจและการช่วยเหลือทางด้านการเงินเป็นต้น
ซึ่งจากการส่งเสริมของรัฐบาลในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา พบว่า
บทบาทของสตรีในการเป็นผู้บริหาร (จากข้อมูลการสำรวจของ Grant Thornton, 2018) ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้บริหารสตรีประจำปี 2561 ขยับสูงขึ้นที่ร้อยละ
42 ถือเป็นอันดับ 3 ของโลก (เพิ่มจากปี 2560 ซึ่งร้อยละ 31) เป็นรองจากฟิลิปปินส์
(ร้อยละ 47) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 43)


ด้านนายเลิศปัญญา
บูรณบัณฑิต อธิบดี สค. กล่าวถึงการจัดงานวันสตรีสากลในปีนี้ว่า สำหรับปีนี้มีสตรี บุคคลหน่วยงาน และองค์กรที่มีผลงานดีเด่นเข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณเนื่องในวันสตรีสากล
จาก พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี จำนวน 15 สาขา รวม 45 รางวัล
ซึ่งท่านเหล่านี้ได้ผ่านเกณฑ์และกระบวนการคัดเลือกโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่าเป็นบุคคลที่มีผลงานการทำงานเพื่อสังคมและเป็นผู้ที่มีส่วนในการพัฒนาศักยภาพสตรี
เครือข่ายซึ่งจะเป็นแบบอย่างในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับสตรี บุคคล และองค์กรอื่นๆ
ในการสร้างสรรค์สังคมที่มีความเสมอภาค เป็นธรรม เท่าเทียม
และสร้างสังคมไทยให้มีความปรองดอง สมานฉันอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
โดยมีหัวข้อเสวนาต่างๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้ 1) หัวข้อ
“สตรีไทยในสังคมยุคใหม่: ความท้าทาย” โดย สมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย2)
หัวข้อ “สังคมไทยไร้ความรุนแรงได้จริงหรือ” โดย
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และ 3) การหัวข้อ“ระบบการคุ้มครองทางสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน”
โดย สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์โดยมี นายปรเมธี วิมลศิริปลัดกระทรวง พม. เป็นวิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนในหัวข้อนี้ด้วย




0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น