pearleus

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คุยกับนายไพบูลย์ บุตรเลียบ ผอ.หนังสือพิมพ์ชี้ชัดเจาะลึก




 ถมคลองเป็นถนน
ผมนั่งดูข่าวทางทีวีบ้างอ่านหนังสือพิมพ์หลายหัวบ้างเห็นข่าวน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 นี้นับว่าเป็นน้ำท่วมที่ทำความเสียหายให้กับประเทศไทยครั้งหนึ่ง จนต้องบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ผมว่าประเทศไทยมีแม่น้ำใหญ่หลายสายล่อเลี้ยงวิถีชีวิตของผู้คน ทั่วทุกภาคของประเทศแต่ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย จากสิ่งที่เห็นได้จากสื่อต่างๆที่นำเสนอป่าไม้ที่อยู่ต้นน้ำได้ถูกทำลายจากกลุ่มทุน ในการทำธุรกิจทั้งพืชไร่  รีสอร์ทโรงแรมต่างๆ ทำให้ระบบคุ้มกันน้ำดูแลน้ำสูญเสียไป เราจะเห็นได้จากฝนตกใหญ่ที่เชียงใหม่ แค่ไม่กี่ชั่วโมงน้ำไหลเข้าตัวเมือง หรือในจังหวัดแม่ฮ่องสอนก็เช่นเดียวกัน สะท้อนให้เห็นว่าบนภูเขาไม่เหลือต้นไม้ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์พร้อมกักเก็บน้ำอีกติอไปแล้ว...อีกทั้งมีการพัฒนาชุมชนเมือง ถมคลองเป็นถนน ปลูกบ้าน ปลูกสร้างอาคารขวางทิศทางน้ำ หมู่บ้านจัดสรรต่างๆที่เกิดขึ้นตึกรามบ้านช่อง เส้นทางระบายน้ำที่มีก็ลดน้อยลง แค่ฝนตกน้ำก็ระบายไม่ทันแล้ว เหตุผลต่างๆนานาที่อ้างมานี้เกิดจากความเห็นแก่ตัวทั้งสิ้น...ผมได้ยินชาวอยุธยา พูดกับนักข่าวในทีวี สะท้อนให้เห็นถึงความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่ว่า เวลาจะทำนาขอเปิดน้ำกรมชลประทานไม่ยอมเปิด อ้างว่าน้ำไม่มี แต่พอเวลาไม่อยากได้ เช่นเวลานี้ทำไมน้ำมันมีแถมปล่อยให้อยู่กับน้ำตั้ง 3-4 เดือน นั่นคือประโยคที่บ่งบอกความรู้สึกของชาวนาที่ตกทุกข์ได้ยาก..ระบายความอัดอั้นมาให้ฟังแต่ก็ยังมีอีกประโยคหนึ่งที่น่าฟังพร้อมให้การยกย่องไปพร้อมกัน..ของชาวบ้านหลากหลายพื้นที่ในที่ราบลุ่มภาคกลางในการให้สัมภาษณ์ จากจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง อยุธยา บอกเสมอว่า เรายอมเป็นที่รับน้ำเป็นแก้มลิงและอยู่ทนรับสภาพอยู่กับน้ำท่วมได้เพื่อให้คนกรุงเทพปลอดภัย นี่คือน้ำใจของผู้ที่ประสบภัยของคนบ้านนอกแต่เขาหารู้ไม่คน กทม.ก็โดนไม่น้อยไปจากเขาเหล่านั้นสาเหตุเพราะการสร้างถนนแล้วไปถมคลอง ผมว่า ณ. เวลานี้ น้ำจำนวนมหาศาลยังไม่ได้ลดลง และน้ำได้ เปลี่ยนเส้นทางจากทางเดินตามธรรมชาติ ไหลถาถมไปในเขตพื้นที่ต่างๆ เกิดความเสียหายมากมายทั้งต่อบ้านเรือนประชาชน  ชุมชน  เขตเศรษฐกิจ สาธารณสมบัติและความเสียหายของประเทศ ณ. วันนี้ธรรมชาติแสดงให้เห็นแล้ว และธรรมชาติกำลังลงโทษมนุษย์และเป็นผู้เอาคืนจากมนุษย์อีกด้วยในเวลาเดียวกัน.ผมนั่งอ่านประวัติเก่าๆเรื่องการขุดลอกคลองนั้นพบว่า..ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ถือได้ว่าเป็นยุคที่มีการขุดคลองมากที่สุดยุคหนึ่ง โดยพระองค์ทรงส่งเสริมให้หน่วยราชการและเอกชนขุดคลองขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งขุดคลองใหม่และขุดลอกคลองเก่า เพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูกและเส้นทางคมนาคมระหว่างกรุงเทพฯกับจังหวัดข้างเคียง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ และเป็นเส้นทางลำเลียงข้าวออกสู่ตลาดต่างประเทศ ดังพระราชดำริที่กล่าวไว้ในประกาศเรื่องอนุญาตขุดคลอง ว่ามีความต้องการที่จะใช้คลองช่วยกระจายผู้คนออกไปจากย่านชุมชนเดิม "การขุดคลอง เพื่อที่จะให้เป็นที่มหาชนทั้งปวงได้ไปมาอาศัย แลเป็นทางที่จะให้สินค้าได้บรรทุกไปมาโดยสะดวก ซึ่งให้ผลแก่การเรือกสวนไร่นา ซึ่งจะได้เกิดทวีขึ้นในพระราชอาณาจักร เป็นการอุดหนุนการเพาะปลูกในบ้านเมืองให้วัฒนาเจริญยิ่งขึ้น"แต่กาลเวลาเปลี่ยนไปประเทศพัฒนาขึ้นความสุขสบายตามมาจึงมีการถมคลองเป็นถนนหลายพื้นที่โดยมีการวางท่อระบายน้ำแทนบางครั้งการวางท่อก็ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการที่วางไว้..เช่นหน้าท่อที่วางให้กว้าง 80-100 ซม.มีการซิกแซกในการวางท่อเหลือเพียง 50-60 ซม จากใหญ่ก็ให้เล็กลงหรือจากการมีท่อพักมากๆก็ทำให้น้อยลงแถมบอกว่าขุดลอกท่อทัน..ที่ผมเล่านี้เป็นเรื่องจริงทั้งนั้นหากท่านผู้อ่านย้อนกลับไปดูสมัยก่อนสร้างตึกรามบ้านช่องต่างๆที่ผ่านมาเป็นอย่างที่ผมเขียนหรือเป่าแต่ไม่ต้องไปถามพวกเจ้าของโครงการนะครับหรือไม่ต้องไปถามไอ้พวกที่อนุญาติให้ก่อสร้างนะครับมันไม่พูดความจริงหรอกถ้าจะให้รู้แน่ๆลองแอบเปิดดูตามช่องระบายน้ำดูแล้วจะรู้จะเห็นผมลองทำมาแล้วเห็นจะๆครับยกตัวอย่างหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ อบต.บางน้ำจืด อ.เมืองจ.สมุทรสาคร เคยมีปัญหาที่เจ้าของโครงการถมคลองเป็นถนนโดยที่คลองดังกล่าวเขาใช่เป็นทางผ่านการสันจรทางน้ำตั้งแต่เจ้าของโครงการยังไม่เกิดด้วยซ้ำไปแล้วก็มีการวางท่อเล็กๆความกว้างไม่หน้าเกิน 60 ซม.ขึ้นมาแทนครั้งนั้นก็มีการฟ้องร้องกันมาต่อมาก็มีน้ำท่วมกันจริงท่วมแบบมากมายเสียด้วยแต่พวกเขาลืมคิดถึงต้นตอกัน..ปัญหาเลยเกิดอยู่แบบนั้นตลอด..นี้คือตัวอย่างความมักง่ายของมนุษย์ที่เห็นแก่ได้ ธรรมชาติเลยลงโทษซะแต่ว่าก็ว่าแหละครับมนุษย์ใจสกปรกมันคงไม่สำนึกซักเท่าไรหากยังมีข้าราชการเห็นแก่เงินเพียงเล็กๆน้อยที่พวกมันยื่นให้เป็นเศษอาหารและยังอ้าปากงับเศษอาหารที่มันยื่นให้ชาวบ้านอย่างเราๆท่านก็ต้องเจอทุกข์ภัยกันอย่างนี้ตลอดไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น