pearleus

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ข่าวนครปฐม..สรุปสถานการณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ของจังหวัดนครปฐม (ประจำวันที่ 5 พฤศจิกายน 2554 เวลา 13.00 น.)

นายนิมิต  จันทน์วิมล  รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยวาตภัยจังหวัดนครปฐ  ได้รับแจ้งจาก ร.ต.พงศธร ศิริสาคร หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครปฐม  ว่า จังหวัดนครปฐม  เริ่มมีสถานการณ์อุทกภัยน้ำเอ่อล้นตลิ่ง ในพื้นที่ มาตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2554 เป็นต้นมา   ปัจจุบันมีพื้นที่ประสบอุทกภัยทั้งสิ้น 7 อำเภอ  99 ตำบล 854 หมู่บ้าน และราษฎรได้รับความเดือดร้อน รวม 168,608 คน47,094 ครัวเรือน  มีผู้เสียชีวิต จำนวน 6 ราย ได้มอบเงินช่วยเหลือเป็นค่าจัดการศพเรียบร้อยแล้ว   และด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 23,702 หลัง  รวมมูลค่าในเบื้องต้นประมาณ 472,018,627.00 บาท  ประกอบด้วย อ.บางเลน 34,462 คน 9,510 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 3 คน เนื่องจากจมน้ำ, บ้านเรือน 8,996 หลัง  ,  อ.นครชัยศรี 41,211 คน 12,336 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 2 คน เนื่องจากถูกไฟฟ้าช็อตและจมน้ำ  บ้านเรือน 8,325 หลัง,  อ.สามพราน 22,183 คน 7,995 ครัวเรือน  บ้านเรือน 831 หลัง,  อ.ดอนตูม 1,674 คน 525 ครัวเรือน บ้านเรือน 307 หลัง,  อ.กำแพงแสน 17,544 คน 4,670 ครัวเรือน  บ้านเรือน 268 หลังอ.พุทธมณฑล  16,765 คน  2,487 ครัวเรือน  มีผู้เสียชีวิต 1 คน เนื่องจากถูกไฟฟ้าช็อต  บ้านเรือน 3,831 หลัง  และอ.เมืองนครปฐม 34,769 คน  9,571 ครัวเรือน  บ้านเรือน 1,144 หลัง  สำหรบด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ ที่ได้รับความเสียหาย ได้แก่ ถนน 441 สาย สะพาน 27 แห่ง วัด 72 แห่ง  โรงเรียน 17 แห่ง สถานที่ราชการ 19 แห่ง และโรงงาน 9 แห่ง  
ในขณะนี้ที่ศูนย์พักพิง ณ วันที่ 5 พย.54 มีผู้ประสบอุทกภัยอพยพเข้ามาอาศัยอยู่กันบ้างแล้วทั้งจังหวัด จำนวน 175 แห่ง รวมทั้งสิ้น 18,674 คน 1,884 ครัวเรือน ประกอบด้วยที่ อ.นครปฐม 5 จุด มี 6,022 คน  อ.สามพราน มี 11 จุด จำนวน 1,355 คน 579 ครัวเรือน   อ.นครชัยศรีมี 27 จุด จำนวน 1,657 คน 148 ครัวเรือน   อ.กำแพงแสนมี 3 จุด จำนวน 432 คน   อ.บางเลน มี 116 จุด จำนวน 7,739 คน 814 ครัวเรือน  อำเภอดอนตูม มี 7 จุด จำนวน 266 คน 36 ครัวเรือน  และอ.พุทธมณฑลมี 6 จุด จำนวน 1,203 คน 307 ครัวเรือน    ซึ่งรัฐบาลได้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ครัวเรือนละ 5,000 บาท) เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2554 ประกอบด้วยอำเภอบางเลน มีผู้ที่ได้รับอนุมัติ 1,350 ครัวเรือน จ่ายแล้วจำนวน 1,316 ครัวเรือน คงเหลือ 34 ครัวเรือน,  อำเภอนครชัยศรี  มีผู้ที่ได้รับอนุมัติ 2,052 ครัวเรือน จ่ายแล้วจำนวน 2,027 ครัวเรือน คงเหลือ 25 ครัวเรือน และอำเภอสามพราน มีผู้ที่ได้รับอนุมัติ 83 ครัวเรือน จ่ายแล้วจำนวน 70 ครัวเรือน  คงเหลือ 13 ครัวเรือน  สำหรับผู้ที่ประสบภัยที่เหลือ จำนวน 72 ครัวเรือนยังมิได้ไปรับเงิน จังหวัดได้ประสานไปยังอำเภอให้แจ้งผู้ประสบภัยไปรับเงินที่ ธนาคารออมสินในพื้นที่แล้ว  ปรากฏว่า ขณะนี้ ด้านการเกษตร มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม – 4 พฤศจิกายน 2554 จำนวน 7 อำเภอ   เสียหายสะสมจำนวน 98,738.75 ไร่  เป็นข้าว 59,443 ไร่,  พืชสวน 33,916.75 ไร่,  พืชไร่ 5,379 ไร่  เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน 10,693 ราย   และด้านประมง  ความเสียหายเบื้องต้นเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม – 3 พฤศจิกายน 2554  มี  7 อำเภอ คืออำเภอบางเลน เมืองฯ พุทธมณฑล นครชัยศรี สามพราน กำแพงแสน และดอนตูม  ประกอบด้วย พื้นที่ปลาทุกชนิดในบ่อดิน/นาข้าว กุ้ง  จำนวน 6.278.90 ไร่  7,906 ตารางเมตร เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 998 ราย  ประมาณการมูลค่าความเสียหาย 185,860,953 บาท  ประมาณการวงเงินช่วยเหลือ 17,845,646 บาทและทางด้าน  นายชูชาติ  รักจิตร  ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครปฐม  รายงานว่าสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2554  โดยพิจารณาจากสภาพน้ำท่าเป็นเกณฑ์  ยังต้องเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน ช่วงตั้งแต่ อำเภอบางเลน-อำเภอสามพราน   นอกจากนี้ในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดนครปฐม ก็มีน้ำท่วมขังอยู่   สภาพน้ำท่วมข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมเมื่อวันที่ 2 พย.54 มีพื้นที่น้ำท่วมรวมทั้งสิ้น 569,053 ไร่   สามารถแยกพื้นที่น้ำท่วมเป็นรายอำเภอได้ดังนี้ คือ อำเภอบางเลน จำนวน 322,737 ไร่,  อำเภอดอนตูม จำนวน 51,904 ไร่,  อำเภอกำแพงแสน จำนวน 64,168 ไร่, อำเภอเมืองนครปฐม จำนวน 10,636 ไร่อำเภอนครชัยศรี จำนวน 67,996 ไร่,  อำเภอสามพราน จำนวน 16,406 ไร่, และอำเภอพุทธมณฑล จำนวน 35,206 ไร่
          ส่วนสถานการณ์น้ำ ในวันถัดไป(6 พ.ย.54)  อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งตรวจสอบแนวป้องกัน โดยพิจารณาจากข้อมูลระดับน้ำ ที่สถานีวัดน้ำบ้านบางการ้อง ต.บางเถร อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ระดับน้ำวัดได้ 3.89 เมตร สูงกว่าระดับตลิ่ง 89 เซนติเมตร (ระดับน้ำทรงตัว)
         ปริมาณน้ำที่ไหลบ่ามาจากพื้นที่เกษตรด้านบน (ทุ่งผักไห่และทุ่งเจ้าเจ็ด) ทำให้ระดับน้ำในคลองพระยาบันลือ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะนี้ต่ำกว่าตลิ่งหรือแนวป้องกันที่เสริมใหม่อยู่ 30 เซนติเมตร ระดับน้ำทรงตัว  (ระดับตลิ่งใหม่ครั้งที่ 3 เท่ากับ 4.30 เมตร)  และได้มีการเปิดบานระบาย ที่ประตูระบายน้ำพระยาบันลือเพื่อระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีน และเปิดรับน้ำเข้าพื้นที่เกษตรฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน บริเวณตำบลบัวปากท่า อำเภอบางเลน ซึ่งจะส่งผลถึงอำเภอนครชัยศรี และอำเภอพุทธมณฑล 
สำหรับสภาพน้ำท่าในแม่น้ำท่าจีน  ที่จุดตรวจวัดระดับน้ำและปริมาณน้ำมี 4 จุดเมื่อวันที่ 5 พย.54 เวลา 05.00 น. คือ  ที่สถานีวัดน้ำบ้านบางการ้อง(T13) จังหวัดสุพรรณบุรี  ระดับน้ำท่าจีน 3.89 เมตร
จากระดับตลิ่ง 3.00 เมตร  เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 89 เซนติเมตร  เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 ระดับน้ำเท่าเดิม (เตือนภัย ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน สูงกว่าตลิ่งเกิดสภาวะน้ำท่วม) สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ   สถานีวัดน้ำบางไทรป่า(T15) ระดับน้ำท่าจีน 3.37 เมตรจากระดับตลิ่ง 2.20 เมตร  เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.17 เมตร  เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 ระดับเท่าเดิม(เตือนภัย ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน สูงกว่าตลิ่งเกิดสภาวะน้ำท่วม) สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ       สถานีวัดน้ำนครชัยศรี(T1) ระดับน้ำท่าจีน 2.76 เมตร จากระดับตลิ่ง 1.70 เมตร  เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.06 เมตร  เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 2 ซม.  (เตือนภัย ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน สูงกว่าตลิ่งเกิดสภาวะน้ำท่วม) สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ   และสถานีวัดน้ำบ้านตลาดสามพราน(T14) ระดับน้ำท่าจีน 4.18  เมตร จากระดับตลิ่ง 4.00 เมตร  ระดับน้ำวันนี้(5 พย.54)สูงกว่าตลิ่ง 18 เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554  เพิ่มขึ้น  1 เซนติเมตร  สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ (วันที่ 4 พย.54 เวลา 15.00 น. ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีนสูงกว่าตลิ่ง 41 เซนติเมตร ทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วม)  
ส่วนสภาพน้ำท่าในคลองสายสำคัญ ได้แก่ คลองพระยาบันลือ(G1) ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 30 เซนติเมตร ระดับตลิ่งใหม่ครั้งที่ 3 เท่ากับ 4.30 เมตร  ระดับน้ำทรงตัว  เปิดบานระบายด้านติดแม่น้ำท่าจีน 58.07 ลบ.ม./วินาที  และเปิดบานประตูสถานีสูบน้ำลงสู่แม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณน้ำ 40.85 ลบ.ม.ต่อวินาที,      คลองพระพิมล(G4)  ระดับน้ำวันนี้(5 พ.ย.54)สูงกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 1.49 เมตร ระดับน้ำทรงตัว  เปิดบานระบายด้านติดแม่น้ำท่าจีน 9.42 ลบ.ม./วินาที  จึงต้องเร่งระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงแม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณ 6.00 ลบ.ม.ต่อวินาที มีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง อยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด,   คลองมหาสวัสดิ์(G7)  ระดับน้ำวันนี้(5 พ.ย.54)สูงกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 1.43 เมตร  เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 4 พย.54  เพิ่มขึ้น 2 เซนติเมตร  มีการเปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน 20.96 ลบ.ม./วินาที และเร่งระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงสู่แม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณ 9.00 ลบ.ม.ต่อวินาที และต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด,   คลองบางภาษี(G5)  ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.77 เมตร  เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 4 พย.54 ระดับน้ำทรงตัว  ต้องเปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน 22.18 ลบ.ม./วินาที  ซึ่งมีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง  ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด   คลองลำพญา(G6)  ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.55 เมตร  เปรียบเทียบกับเมื่อวันที่ 4 พย.54 ระดับน้ำทรงตัว  ปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน ซึ่งมีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง  ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และคลองประชาศรัย(G3)  ระดับน้ำวันนี้(5 พย.54) สูงกว่าตลิ่ง 1.29 เมตร  เปรียบเทียบกับเมื่อวันที่ 4 พย.54   ระดับน้ำทรงตัว  มีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง  เปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน  6.70 ลบ.ม/วินาที  อยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
สรุปข้อมูลน้ำ ณ วันที่ 5 พย.54    พื้นที่น้ำท่วมขัง  569,053 ไร่  ปริมาณน้ำท่วมสะสม 1,074.37 ล้าน ลบ.ม. (ค่าความลึกเฉลี่ย 1.18 ม.)อ้างอิงภาพถ่ายดาวเทียม 2 พย.54
และปริมาณน้ำที่ไหลเข้าจังหวัดนครปฐมดังนี้               
1. มาจาก ปตร.โพธิ์พระยา จ.สุพรรณบุรี       ปริมาณน้ำ 28.02 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 324.30 ลบ.ม./วินาที
2. รับเข้าคลองพระยาบันลือ                     ปริมาณน้ำ 69.78 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 807.60 ลบ.ม./วินาที
3. มาจาก จ.นนทบุรี                             ปริมาณน้ำ    5.05 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ  58.40 ลบ.ม./วินาที
4. ปริมาณน้ำ Side Flow จากลำน้ำ           ปริมาณน้ำ    1.81 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ  20.96 ลบ.ม./วินาที  
    สาขาและจากการสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่ที่ท่วมขัง
        รวมปริมาณน้ำที่ไหลเข้า จ.นฐ.ทั้งหมด   ปริมาณน้ำ 104.65 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 1211.26 ลบ.ม./วินาที  
แต่น้ำไหลออกจาก จ.นฐ. ที่ อ.นครชัยศรี  ปริมาณน้ำค่าเฉลี่ย 75.92 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ  878.75 ลบ.ม./วินาที
สรุป ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าในพื้นที่มากกว่าปริมาณน้ำที่ไหลออกจากพื้นที่ จ.นฐ. จำนวน 28.73 ล้าน ลบ.ม./วัน
พื้นที่น้ำท่วมเพิ่มขึ้น 9,844 ไร่(เปรียบเทียบภาพถ่ายดาวเทียม 2 พย.54 กับ 30 ตค.54)
          อนึ่งในวันที่ 5 พย.54   การระบายน้ำจะมีผลกระทบในช่วงน้ำทะเลหนุน ซึ่งเวลาน้ำทะเลหนุนสูง  เวลา 16.00 น.น้ำขึ้นที่บริเวณอำเภอสามพราน  และเวลา 04.00 น.ของวันที่ 6 พย.54 น้ำขึ้นที่บริเวณอำเภอนครชัยศรี
                 ข่าวประชาสัมพันธ์   หากผู้ใดพบเห็นจระเข้ ขอให้แจ้งรายละเอียดสถานที่และเวลาที่พบ ได้ที่คุณมงคล  ขาวเงิน  โทรศัพท์ 082-8736181 / โรงพยาบาลจันทรุเบกษา อ.กำแพงแสน  รับบริจาคโลหิตในวันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2554  และขอเชิญชวนประชาชนที่มีจิตอาสาร่วมกันผลิตก้อนจุลินทร์ย์ชีวภาพ หรือ EM Ball  เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมต่อไป / ศูนย์พักพิง ม.ราชภัฎนครปฐม  ขณะนี้ต้องการเครื่องอุปโภค บริโภค  อาทิ ยารักษาโรค อุปกรณ์ในการปรุงอาหาร  ของใช้เด็กอ่อน และของใช้ประจำวัน  ผู้ประสงค์จะมอบสิ่งของต่างๆ สามารถติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.เกศินี  ประทุมสุวรรณ  โทรศัพท์ 081-5567944 / วัดทุ่งน้อยสามัคคี อ.เมือง จ.นครปฐม   อยู่ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 4 กิโลเมตร  มีความยินดีต้องการเป็นจุดพักพิงสำหรับผู้ประสบอุทกภัย  โดยวัดมีสถานที่รองรับผู้อพยพจำนวน 1,000 คน และสถานที่จอดรถ 500 คัน  รวมทั้งมีอาหาร(เครื่องอุปโภคบริโภค) น้ำ ฯลฯ ไว้พร้อมต้อนรับผู้อพยพ  ติดต่อได้ที่ โทรศัพท์ 081-3999784  และต้องการติดต่อศูนย์พักพิงแรงงานต่างด้าววัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม ได้ที่  080-8200445-9

           ส่วนกรมชลประทานและกรมเจ้าท่าจะเริ่มเดินเครื่องผลักดันน้ำและเรือผลักดันน้ำพร้อมกันโดยเดินเครื่องผลักดันน้ำที่สะพานสำโรง-ลานตากฟ้า, สะพานรวมเมฆ  และใช้เรือผลักดันน้ำ 6 จุด ได้แก่ ต.ทรงคะนอง 5 ลำ, คลองลัดนางแท่น 2 ลำ, สะพานโพธิ์แก้ว 3 ลำ, คลองลัดท่าคา 4 ลำ, สะพานวัดเทียนดัด 5 ลำ, สะพานวัดท่าไม้ 5 ลำ โดยวันที่ 5 พฤศจิกายน 2554 จะเริ่มเดินเครื่องในเวลา 18.00 น. และจะหยุดเดินเครื่องก่อนช่วงเวลาน้ำทะเลหนุนสูงอีกรอบประมาณ 1 ชั่วโมง 

          แขวงการทางหลวงรายงานเส้นทางในความรับผิดชอบที่มีน้ำท่วมขังดังนี้
                    แขวงการทางนครปฐม  โทรศัพท์ 034-258856  คือเส้นทางหลวง
                   1. ทางหลวงหมายเลข 346  สายทางแยกลาดหลุมแก้ว-บางเลน ท้องที่อำเภอบางลน ที่ กม.44-51 น้ำท่วมเป็นแห่งๆ ระดับสูง 40-70 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้และไม่มีสายทางทดแทน
                   2. ทางหลวงหมายเลข 3094  สายทางแยกเข้านครชัยศรี ท้องที่อำเภอบางกระเบาที่ กม.0-2 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถผ่านได้
                   3. ทางหลวงหมายเลข 3097  สายทางพระประโทน-บ้านบ่อ ท้องที่อำเภอนครชัยศรี ที่ กม. 35-36 ระดับน้ำสูง 1ซม. รถผ่านได้
                   4. ทางหลวงหมายเลข 3233  สายนครชัยศรี-วัดสามง่าม ท้องที่อำเภอบางเลน ที่กม. 1-3 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 10 ซม.  รถผ่านได้
                   4. ทางหลวงหมายเลข 3296  สายทางวัดสามง่าม-บางเลน ท้องที่อำเภอบางเลน ที่ กม.7-12 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 15 ซม. รถผ่านได้
                   5. ทางหลวงหมายเลข 3351  สายทางบางเลน-สุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอบางเลน ที่ กม. 3-17 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 10-20 ซม.  รถผ่านได้
                   แขวงการทางสมุทรสาคร  โทรศัพท์  034-311040  คือเส้นทางหลวง
                   1. ทางหลวงหมายเลข 338  สายทางสามพราน-นครชัยศรี ท้องที่อำเอสามพราน ที่ กม.22-23 ระดับน้ำสูง 40-60 ซม. ใช้สาย 4 เพชรเกษม (นครชัยศรี-กรุงเทพ) รถไม่สามารถผ่านได้
                   2. ทางหลวงหมายเลข 3310  สายทางอ้อมน้อย-พุทธมณฑล  ท้องที่อำเภอพุทธมณฑล ที่ กม. 9-10 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 40-50 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้และไม่มีเส้นทางทดแทน
                   3. ทางหลวงหมายเลข 3414  สายทางอ้อมน้อย-เขตการรถไฟ ท้องที่อำเภอพุทธมณฑล ที่ กม. 8-10 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 30-100 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้และไม่มีเส้นทางทดแทน
                   แขวงการทางกาญจนบุรี-สุพรรณบุรีที่ 2   โทรศัพท์ 034-552000 คือเส้นทางหลวง
                   1. ทางหลวงหมายเลข 3422  สายทางบัวปากท่า-สองพี่น้อง ท้องที่อำเภอบางเลน ที่ กม. 12-22 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม.  รถผ่านได้
สำหรับการให้ความช่วยเหลือ  หน่วยงานในจังหวัดนครปฐมได้เข้ามาดูแลและระดมให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย  เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนในหลายๆ ด้านเป็นการเบื้องต้นด้วยความเร่งด่วนแล้ว  และได้จัดหาอาหาร, ยาเวชภัณฑ์ และถุงยังชีพนำไปช่วยเหลือผู้ที่ประสบอุทกภัยที่บริเวณศูนย์พักพิงต่างๆ แล้ว   นอกจากนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม ได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ และจัดทำอาหารแจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยอีกด้วย   ในส่วนด้านกำลังพล ได้มีการจัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยและสนับสนุนกำลังพลช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย  ติดต่อขอกำลังพลเพื่อให้ความช่วยเหลือได้ที่โรงเรียนการบิน กำแพงแสน หมายเลขโทรศัพท์ 0-3499 6502 และ 0-2155 7206,  กรมการสัตว์ทหารบก(ศบภ.กส.ทบ.) ผู้ประสานงาน พ.อ.วิสุทธิ์  โทร.083-1983827  ร่วมกับกรมทหารราบที่ 19 พัน 3 ค่ายสุรสีห์ จังหวัดกาญจนบุรี(ศบภ.ร.19 พัน 3)  โทรศัพท์ 0-3427-1153-5 ต่อ 50523.5  และ ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม  หากต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย จังหวัดนครปฐม  สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครปฐม   โทรศัพท์ 0-3434-0230,0-3434-0000,  0-3434-0334,  0-3434-0158  และ E-mail: dpm_npt@yahoo.com,paladtai@yahoo.com,oatfuture@hotmail.com   Website:http://61.19.100.58/npt/anewweb/indexoold.php 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น