เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 นายเตช บุนนาค ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย
ฝ่ายบริหาร
เป็นประธานในงานแถลงข่าว “โครงการรวมใจต้านภัยโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ” เพื่อช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงการป้องกันตนเองและบุคคลรอบข้างต่อการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 อีกทั้งเพื่อให้แรงงานข้ามชาติที่ถูกกักกันโรคและขาดแคลนอาหาร หรือประสบวิกฤติเศรษฐกิจจากโรคโควิด-19
เป็นประธานในงานแถลงข่าว “โครงการรวมใจต้านภัยโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ” เพื่อช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงการป้องกันตนเองและบุคคลรอบข้างต่อการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 อีกทั้งเพื่อให้แรงงานข้ามชาติที่ถูกกักกันโรคและขาดแคลนอาหาร หรือประสบวิกฤติเศรษฐกิจจากโรคโควิด-19
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกลุ่มที่มีความเปราะบาง
ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยมีสภากาชาดไทย
เป็นหน่วยงานหลักในการประสานความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันจัดโครงการนี้ขึ้น โดยมี นางเฮเลเนอ บุดลีเกอร์ อาร์ทิเอดา เอกอัครราชทูต สมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย, นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร, ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน, นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, นายคริสโตเฟอร์ ราสซี หัวหน้าคณะทำงานสนับสนุนกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC),
เป็นหน่วยงานหลักในการประสานความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันจัดโครงการนี้ขึ้น โดยมี นางเฮเลเนอ บุดลีเกอร์ อาร์ทิเอดา เอกอัครราชทูต สมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย, นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร, ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน, นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, นายคริสโตเฟอร์ ราสซี หัวหน้าคณะทำงานสนับสนุนกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC),
นายบรูโน ปอมมิเยร์ รองผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ
คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC), นายโธมัส ดาวิน
ผู้แทนองค์การยูนิเซฟประเทศไทย, นายแพทย์พิชิต
ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย
ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย
คุณคอรีเยาะ มานุแช
ผู้ประสานงานโครงการเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ และคุณกิตติ งามเจตนรมย์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการภูมิภาค – ภาคกลาง เอไอเอส ร่วมแถลงข่าวและร่วมเป็นเกียรติในงาน
ผู้ประสานงานโครงการเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ และคุณกิตติ งามเจตนรมย์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการภูมิภาค – ภาคกลาง เอไอเอส ร่วมแถลงข่าวและร่วมเป็นเกียรติในงาน
“โครงการรวมใจต้านภัยโควิด-19
ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ” เป็นโครงการที่มุ่งเน้นในการให้
ความช่วยเหลือแก่กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดย สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาดจังหวัด และสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย ร่วมกับ สหพันธ์สภากาชาด
และสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ และองค์การยูนิเซฟประเทศไทย ร่วมดำเนินโครงการเพื่อแจกจ่ายและมอบสิ่งของที่จำเป็นในการป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับแรงงานข้ามชาติและเด็กในครอบครัว รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) อาทิ หน้ากากอนามัยแบบผ้า จำนวน 800,000 ชิ้น แอลกอฮอล์เจล จำนวน 50,000 ขวด เครื่องวัดอุณหภูมิ จำนวน 1,400 ชิ้น และมอบชุดธารน้ำใจเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต จำนวนมากกว่า 20,000 ชุด โดยที่ผ่านมาสภากาชาดไทย ได้มอบชุดธารน้ำใจให้กับแรงงานข้ามชาติและครอบครัวที่ว่างงาน เพราะถูกเลิกจ้างและได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจังหวัดต่าง ๆ ไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 5,368 ชุด
ในส่วนของการให้ข้อมูลความรู้ ได้จัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ อาทิ แผ่นพับเรื่อง
เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับภาษาพม่า 80,000 แผ่น ภาษากัมพูชา 50,000 แผ่น และภาษาเวียดนาม 20,000 แผ่น จัดทำโปสเตอร์ เรื่องเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับภาษาพม่า 10,000 แผ่น ภาษากัมพูชา 10,000 แผ่น และ ภาษาเวียดนาม 5,000 แผ่น จัดทำวีดิทัศน์ แปล 3 ภาษา จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ การใช้หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี ขั้นตอนการล้างมือที่ถูกวิธี 7 ขั้นตอน เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และทำอย่างไรเมื่อต้องกักตัว 14 วัน รวมทั้ง
ยังมีการประสานงานเพื่อให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติและครอบครัวในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะการให้ความรู้สำหรับเด็กในครอบครัวของแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ด้วย
ความช่วยเหลือแก่กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดย สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาดจังหวัด และสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย ร่วมกับ สหพันธ์สภากาชาด
และสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ และองค์การยูนิเซฟประเทศไทย ร่วมดำเนินโครงการเพื่อแจกจ่ายและมอบสิ่งของที่จำเป็นในการป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับแรงงานข้ามชาติและเด็กในครอบครัว รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) อาทิ หน้ากากอนามัยแบบผ้า จำนวน 800,000 ชิ้น แอลกอฮอล์เจล จำนวน 50,000 ขวด เครื่องวัดอุณหภูมิ จำนวน 1,400 ชิ้น และมอบชุดธารน้ำใจเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต จำนวนมากกว่า 20,000 ชุด โดยที่ผ่านมาสภากาชาดไทย ได้มอบชุดธารน้ำใจให้กับแรงงานข้ามชาติและครอบครัวที่ว่างงาน เพราะถูกเลิกจ้างและได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจังหวัดต่าง ๆ ไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 5,368 ชุด
ในส่วนของการให้ข้อมูลความรู้ ได้จัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ อาทิ แผ่นพับเรื่อง
เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับภาษาพม่า 80,000 แผ่น ภาษากัมพูชา 50,000 แผ่น และภาษาเวียดนาม 20,000 แผ่น จัดทำโปสเตอร์ เรื่องเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับภาษาพม่า 10,000 แผ่น ภาษากัมพูชา 10,000 แผ่น และ ภาษาเวียดนาม 5,000 แผ่น จัดทำวีดิทัศน์ แปล 3 ภาษา จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ การใช้หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี ขั้นตอนการล้างมือที่ถูกวิธี 7 ขั้นตอน เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และทำอย่างไรเมื่อต้องกักตัว 14 วัน รวมทั้ง
ยังมีการประสานงานเพื่อให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติและครอบครัวในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะการให้ความรู้สำหรับเด็กในครอบครัวของแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ด้วย
นอกจากนี้
“โครงการรวมใจต้านภัยโควิด-19
ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ” ยังได้รับการสนับสนุนจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำประเทศไทย มอบเงินสนับสนุนเพื่อใช้ในโครงการ
จำนวน 330,000 บาท บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) สนับสนุนอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ในงานแอปพลิเคชัน
“พ้นภัย” แก่อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวและแกนนำแรงงานที่ผ่านการอบรมและได้รับสิทธิ์ในการแจ้งข่าว
จำนวน 4,000 คน เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวและแกนนำหอพักแรงงานข้ามชาติ
ให้มีส่วนร่วมในการค้นหาผู้มีอาการของโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
และค้นหาแรงงานข้ามชาติที่เข้าประเทศมาโดยยังไม่ได้ผ่านการกักกันโรค 14 วัน โดยแจ้งข่าวผ่านแอปพลิเคชั่น
“พ้นภัย” เพื่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะได้ไปสอบสวนโรค คัดกรอง และส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุข
โดยมีรางวัลให้แก่ผู้แจ้งข่าว โดยมีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานด้านสาธารณสุขระดับจังหวัด
รวมถึงหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน เป็นหลักในการดำเนินกิจกรรมนี้ร่วมกับเหล่ากาชาดจังหวัด ซึ่งจะเริ่มนำร่องในจังหวัดสมุทรสาคร
และขยายไปยังจังหวัดอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสและระยะเวลาในการแพร่โรคโควิด-19
ในชุมชนแรงงานข้ามชาติ
ทั้งนี้
ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคเงิน 63 บาท
ในโครงการ “63 บาท สู้ COVID-19
ปี’63”
เพื่อสนับสนุนภารกิจของสภากาชาดไทย ด้วยการสแกน QR CODE ผ่านแอปพลิเคชันธนาคารในระบบ
E-DONATION หรือโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาสำนักสีลม ชื่อบัญชี "สภากาชาดไทย เพื่อภัยพิบัติ" ประเภทบัญชี "กระแสรายวัน" เลขที่ 001-1-34567-0 สอบถามเพิ่มเติมโทร.1664
เพื่อสนับสนุนภารกิจของสภากาชาดไทย ด้วยการสแกน QR CODE ผ่านแอปพลิเคชันธนาคารในระบบ
E-DONATION หรือโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาสำนักสีลม ชื่อบัญชี "สภากาชาดไทย เพื่อภัยพิบัติ" ประเภทบัญชี "กระแสรายวัน" เลขที่ 001-1-34567-0 สอบถามเพิ่มเติมโทร.1664
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น