วันที่ 25 พฤษภาคม 2563
เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานการประชุมขี้แจงมาตรการด้านสาธารณสุขในการควบคุมโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ในแรงงานต่างด้าว
โดยมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และสถานประกอบการในจังหวัดสมุทรสาครเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก ซึ่งข้อมูลในเบื้องต้นแรงงานต่างด้าวที่จะกลับเข้ามาทำงานในจังหวัดสมุทรสาครประมาณกว่า
5,400 คน
(ข้อมูลจากจัดหางานจังหวัด ณ วันที่ 16 มีนาคม 2563)
600 สถานประกอบการ ได้แก่
สถานประกอบการที่จะมีแรงงานต่างด้าวกลับเข้ามาทำงาน ไม่เกิน 10 คน มี 472 แห่ง 11-30 คน 93
แห่ง, 30-60 คน 22 แห่ง,
61-100 คน 8 แห่ง, และแรงงานต่างด้าวที่จะเข้ามาทำงานมากกว่า
100 คน มี 5 แห่ง
แรงงานต่างด้าวที่จะกลับเข้ามาเป็นแรงงานฯ ที่กลับไปต่อบัตร MOU ครบ 4 ปี อยู่ทำงานในประเทศไทยต่อได้ถึง 31 พฤษภาคมนี้
ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ที่
ครม.ว่าจะเห็นชอบขยายเวลาให้แรงงานต่างด้าวต่อไปอีกหรือไม่
สำหรับ
นายจ้าง/สถานประกอบที่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว
เพื่อเข้ามาทำงานในจังหวัดให้แจ้งชื่อสถานประกอบการ จำนวนแรงงานต่างด้าว เบอร์โทร
และผู้ประสานงานให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร ทราบภายใน 24
ชั่วโมง ทางโทรศัพท์ 034-836223-5 และต้องแจ้งและยื่นคำขอการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวมาอยู่ในพื้นที่กับตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสมุทรสาครไม่เกิน
72 ชั่วโมง นับตั้งแต่ระยะเวลายื่นคำขอ
และให้แรงงานต่างด้าวมอบอำนาจให้สถานประกอบการแจ้งแทน
เพื่อเป็นการดำเนินการตามมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมหรือ social
distancing จากนั้น สำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร
จะแจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อเข้าไปตรวจคัดกรอง วัดอุณหภูมิเช้า-เย็น
ดูเรื่องของสุขลักษณะ สอยถามอาการทุกวัน และจัดให้มีสถานที่กักกัน (Quarantine)
แรงงานต่างด้าวอย่างเพียงพอตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข
เพื่อกักกันแรงงานต่างด้าวเป็นเวลา 14 วัน
สำหรับ การจัดเตรียมสถานที่ Quarantine
14 วัน นายจ้าง/สถานประกอบการ ต้องปฏิบัติตามมาตรการ ดังนี้
เป็นห้องพักเดี่ยว(1 คนต่อ 1 ห้อง)
มีห้องน้ำในตัว ในกรณี ถ้าเป็นห้องพักคู่ ต้องแยกเตียงนอนห่างกันอย่างน้อย 1
เมตร และ มีห้องน้ำในตัว (1 ห้องพักต้องไม่เกิน
2 คน)
มีระบบระบายอากาศที่เหมาะสมเพียงพอและห้ามใช้เครื่องปรับอากาศ
มีถังขยะและถุงขยะแยกแต่ละห้อง มีระบบการจัดการและการรวบรวมขยะ
จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับชีวิตประจำวันและอาหาร อุปกรณ์สำหรับการป้องกันตัว ได้แก่
หน้ากากผ้า หรือ หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ล้างมือ
ผู้ได้รับการกักตัวต้องหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดและรักษาระยะห่างกันอย่างน้อย 1
เมตร จัดให้มี รปภ. หรือ ผู้ดูแลสถานที่กักกัน
ไม่อนุญาตให้ผู้ได้รับการกักกันเข้าทำงานจนกว่าจะกักกันครบ 14 วัน และที่สำคัญผู้กักกันจะต้องถูกต้องทางห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 ในระหว่างเข้าพักในพื้นที่กักกัน คือ ช่วง 5-7 วัน หรือ ช่วง 10-14 วัน หรือ เมื่อมีอาการ
โดยนายจ้าง หรือสถานประกอบการเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
ข้อมูล สนง.ปชส.สค
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น