เปิดตัวหนังสือผู้ป่วยมะเร็ง “น้องสาว” ที่แสนดีพยาบาลในชีวิตจริง ผู้บันทึกประสบการณ์ “พี่สาว” ผู้ป่วยมะเร็งกระดูกวัย 69 ปี ซ้ำโรคลุกลามกัดกินปอด เผยกระบวนการรักษาเพียง 1 ปีสู้จนรอดชีวิตมาได้ ถ่ายทอดเป็นตัวอักษรถอดบทเขียนหวังเป็นทางเลือกส่งกำลังใจช่วยกระตุกคิด “เป็นมะเร็งไม่ตาย รักษาได้”
นับเป็นอีกหนึ่งโรคที่สร้างความกลัวให้เกิดขึ้นได้ เมื่อพูดถึง…โรคมะเร็ง โดยเฉพาะตัวผู้ป่วยเองที่อาจจะเพิ่งทราบว่าตนเองกำลังเผชิญกับโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่เราจะทำอย่างไรให้ความกลัวนั้น กลับกลายเป็นพลังที่เข็มแข็ง เป็นเรื่องที่ท้าทายจิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
ผช.ศ.ดร.กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน อดีตอาจารย์คณะพลศึกษา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นผู้หนึ่งที่คลุกคลีดูแลผู้ป่วยมะเร็งในครอบครัวมากถึง 4 คน ทั้งมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งลำไส้ มะเร็งโพรงจมูก และมะเร็งกระดูก ซึ่งในวันนี้จะมาถ่ายทอดประสบการณ์เปลี่ยนความกลัวของผู้ป่วยมะเร็งให้เป็นพลังที่เข้มแข็ง โดยนำหนึ่งในเรื่องราวจากพี่สาว “ภาณุมาศ วิรัตน์เศรษฐสิน” ในวัย 69 ปี อดีตผู้ป่วยมะเร็งกระดูก ที่มีจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ เพียงแค่อุบัติเหตุเดินหกล้ม แต่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะนำมาสู่โรคที่ทุกคนหวาดกลัว ไม่มีใครอยากพบเจอ และสิ่งที่ร้ายลึกไปกว่านั้นมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่กำลังลุกลามอย่างไม่รู้ตัว กลายเป็นโรคที่ต้องเผชิญอย่างหลีก
เลี่ยงไม่ได้
ย้อนกลับไปในปี 61 โรคที่คนในครอบครัวไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น ได้เข้ามาใกล้ตัวพี่สาวของเธอทุกขณะ โดยก่อนที่จะรู้ว่าพี่สาวป่วยเป็นโรคอะไรกันแน่ น้องสาวคนนี้พาพี่สาวไปตรวจกับแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ แพทย์วินิจฉัยว่ามีอาการเคล็ดขัดยอก ข้อยึด หรือข้อติด จึงสั่งจ่ายยาบรรเทาอาการปวด เพื่อรักษาอาการที่ไม่สามารถเดินทิ้งน้ำหนักลงขาทั้ง 2 ข้างได้ ซึ่งมักจะรู้สึกเจ็บที่บริเวณสะโพกตลอดเวลา แต่ด้วยอายุ รูปร่างเล็ก และเป็นคนที่มวลกระดูกน้อย จึงไม่ได้สังหรณ์ใจว่าจะมีโรคภัยร้ายใดเข้ามาในชีวิต
กระทั่งอาการปวดทวีความรุนแรงมากขึ้น พี่สาวของเธอแทบจะเดินไม่ไหว สุดท้ายตัดสินใจทำ MRI ตรวจจนแพทย์ยอมรับว่า “หมอ…น่าจะวินิจฉัยผิดพลาดในตอนแรก” เพราะผลการตรวจปรากฏว่าพี่สาวของเธอป่วยเป็น “โรคมะเร็งกระดูก” ซึ่งถ้าเป็นคุณได้ฟังแบบนั้น คุณจะรู้สึกอย่างไรและแย่แค่ไหน?
ใช่แล้ว…ทางครอบครัวเลือกที่จะไม่บอกและไม่พูดถึงคำว่า “มะเร็ง” ให้ผู้ป่วยได้ยิน แม้จะถูกถามว่า “พี่ป่วยเป็นมะเร็งใช่ไหม” และคำตอบก็มีเพียงระหว่าง “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” แต่ก็ไม่มีใครยอมปริปากพูด กลั้นความรู้สึกอันแสนเจ็บปวดเอาไว้ข้างใน บอกไปเพียงว่า…“พี่เป็นหนักนะ ต้องรักษากับแพทย์หลายสาขา”
เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา โรงพยาบาลได้เตรียมแพทย์อยากหลายสาขามาก และสำรองเลือดไว้ 15 ถุง เนื่องจากสิ่งที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ…มะเร็งได้ลุกลามไปที่ปอดเรียบร้อยแล้ว แพทย์แจ้งว่าอาจจะต้องตัดขาทิ้งเพื่อรักษาชีวิตคนไข้ แต่จะพยายามให้เป็นทางเลือกสุดท้าย
“เรารู้ดีเพราะตัวเราเป็นพยาบาล การรักษาไม่จบที่การผ่าตัด ยังต้องดูแลหลังจากนั้นอีกมาก ในเมื่อรู้ว่าสุดท้ายแล้วไม่มีวิธีไหนจะรักษาคนที่เรารักได้ เราก็เลยตัดสินใจไม่บอก เพราะอยากให้พี่สาวมีความสุข อีกอย่างธรรมชาติของมะเร็ง ถ้าลุกลามไปจนถึงอวัยวะอื่น ก็คือเป็นระยะสุดท้าย ระยะที่ 4 แล้ว โอกาสหายขาดก็มีน้อยลงทุกที” ผช.ศ.ดร.กมลมาลย์ กล่าวให้ฟัง
ในขณะนั้นในหัวของเธอกลัวว่าพี่สาวจะเสียชีวิตไป แต่เธอก็รับไม่ได้ที่จะต้องเห็นพี่สาวทนทุกข์ทรมานจากการรักษาจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต วิธีใดที่คิดว่าดีและสามารรักษาชีวิตเอาไว้ได้ จึงเลือกที่จะทำ…หนึ่งวิธีคือ การหยดสารบางอย่างใต้ลิ้น วันละ 10 หยด แต่ผ่านไปได้ไม่นาน หลานคนหนึ่งนำข้อมูลของโรงพยาบาลจีนมาเล่าให้ฟัง จึงตัดสินใจข้าพบแพทย์ที่สำนักงานในประเทศไทย ที่อาคาร CW TOWER ย่านรัชดาภิเษก เธอจึงทราบว่าเป็น ‘โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวสแตมฟอร์ด’ และในวันรุ่งขึ้นแพทย์ได้เข้ามาพบพี่สาวเพื่อดูอาการเบื้องต้นที่บ้าน และขอประวัติการรักษากลับไป จากนั้นไม่นานตอบรับพี่สาวเธอเป็นคนไข้ของโรงพยาบาล
เธอบันทึกไว้ว่า วันที่ 30 ก.ย. 61 เป็นวันที่พี่สาวจะต้องเดินทางไปรักษาที่ประเทศจีน โดยมีหลาน 3 คนเดินทางไปดูแลในเบื้องต้น เพราะขณะนั้นเธอยังไม่เกษียณอายุงาน ทั้งนี้การรักษาในระยะแรกแบ่งออกเป็น 2 วิธี 1.การผ่าตัดด้วยเทคนิคความเย็น คือ การผ่าตัดด้วยมีดฮีเลียมอาร์กอนบาดแผลเล็ก และ 2.เคมีบำบัดเฉพาะจุด ผ่านทางหลอดเลือดแดง รวมระยะเวลาทั้งสิ้นภายใน 1 เดือน จากนั้นพักฟื้นร่างกายจึงกลับไปมารักษาต่อด้วยวิธีเคมีบำบัดเฉพาะที่ผ่านหลอดเลือดแดง
ผช.ศ.ดร.กมลมาลย์ พูดกับตัวเองว่า เราเลือกถูกทางแล้วใช่ไหม ที่พาพี่สาวมารักษาที่นี่ นึกไปจนถึงหากพี่สาวเสียชีวิตก็จะจัดงานศพที่นี่ ประกอบกับขณะนั้นผลการรักษาในช่วงแรกยังไม่ออกมา ครอบครัวจึงยึดติดกับคำตอบของแพทย์ที่ประเทศไทย
เมื่อผลการรักษาในรอบแรกออกมา ปรากฏว่ามะเร็งได้หยุดลุกลามและผลเป็นที่น่าพอใจของแพทย์ และเป็นสัญญาณทำให้ทุกคนในครอบครัวที่ทราบข่าวมีรอยยิ้มขึ้นมาอีกครั้ง สีหน้าของคนไข้ก็กลับมาสดใส แต่แพทย์แจ้งว่า…อย่าได้เบาใจไป เพราะเซลล์มะเร็งยังอยู่รอบเส้นประสาทบริเวณกระดูกสะโพก
จากนั้นแพทย์ลงความเห็นแล้วว่า จะรักษาด้วยวิธีผสมผสานแบบแพทย์แผนปัจจุบันจำนวน 3 ครั้ง แต่ละครั้งจะต้องพักฟื้นที่ประเทศจีนนาน 2 สัปดาห์ ซึ่งผลการรักษา 1 ครั้ง จะสามารถควบคุมเซลล์มะเร็งได้ราว ๆ 2 เดือน และภายหลังเมื่อครบระยะ 6 เดือน ผลการตรวจหาค่ามะเร็งครั้งล่าสุดในวันที่ 18 พ.ค. 62 แพทย์แจ้งว่าเซลล์มะเร็งไม่มีเหลือแล้ว โรคได้สงบลง ซึ่งจะครบกำหนดพบแพทย์อีกครั้งในวันที่ 28 ธ.ค. 62
อย่างไรก็ตามเรื่องราวทั้งหมด ตลอดจนวิธีการดูแลผู้ป่วย นับเป็นแรงบันดาลใจที่ ผช.ศ.ดร.กมลมาลย์ ได้นำมาร้อยเรียงเขียนเป็นหนังสือที่มีชื่อว่า “เทคโนโลยีใหม่ อาหาร ความเข้มแข็ง และมะเร็ง” ซึ่งอาศัยความรู้พื้นฐานศิษย์เก่าจากคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประสบการณ์การทำงานจนเกษียณอายุงาน จึงอยากแชร์ไอเดียและแบ่งปันความรู้ให้แก่ผู้อ่านได้เป็นทางเลือกหนึ่งในการตัดสินใจ
ไม่เพียงเท่านี้หนังสือเล่มดังกล่าวยังสอดแทรก เรื่อง อาหารอินทรีย์และสมุนไพรต่าง ๆ ที่ช่วยป้องกันเซลล์มะเร็ง อาทิ “เปลือกต้นคัดเค้า” ที่จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ หรือจะเป็น “งาขี้ม้อน” พืชตระกูลสะระแหน่ที่มีโอเมก้าสูงกว่าปลาแซลมอน และพืชอีกชนิดคือ “งวงตาล” เป็นตาลตัวผู้ มีฤทธิ์กระตุ้นความอยากอาหาร จึงเหมาะกับผู้ป่วยที่เบื่ออาหาร ส่วนสมุนไพรอีกอย่างทางภาคเหนือที่ชื่อว่า “พลูคาว” พืชพื้นเมืองเป็นผักกินแกล้มกับลาบทางเหนือ มีสรรคุณช่วยป้องกันเชื้อโรค แบคทีเรียและไวรัสได้
แต่สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากก็คือ…การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ป่วยได้มีกำลังใจที่จะสู้ต่อไป ด้วยการมองชีวิตอย่างรู้คุณค่าในตัวเอง เมื่อความเข้มแข็งเกิดขึ้นจากตัวของ “ผู้ป่วย” มองเห็นคุณค่าในตัวเอง ถึงแม้ความรักจากคนรอบข้างจะมีมากเพียงใด แต่ถ้าผู้ป่วยยังไม่เข้มแข็งออกมาจากหัวใจตัวเอง กำลังใจจากคนรอบข้างก็จะเป็นเพียงแรงสนับสนุนเท่านั้น สุดท้ายไม่อาจทำให้คนไข้เชื่อได้ว่า…จะหายจากโรคได้จริง ฉะนั้นอะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับตัวของผู้ป่วยเอง เพราะพื้นฐานความเข้มแข็งเริ่มต้นด้วยความเข้าใจในตัวเอง
โดยหนังสือ “เทคโนโลยีใหม่ อาหาร ความเข้มแข็ง และมะเร็ง” มีวางจำหน่ายที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ หรืออ่านเรื่องราวผู้ป่วยมะเร็งได้ที่เว็บไซต์ https://www.moderncancerthai.com/patients-story/
1 ความคิดเห็น:
การนำเจ้ที่แค่นอนนิ่งๆก็ปวด ลำเลียงขึ้นเครื่องบินไม่ใช่เรื่องง่าย การใช้ stretcher เป็น outsource ของสายการบินค่าใช้จ่ายสูงมาก เจ้แกร่งมาก นั่ง wheelchair ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี
ขอขอบคุณหมอที่รักที่เขียนคำรับรองแพทย์ ปรับแก้เพิ่มเติมจนวินาทีสุดท้ายเพื่อเปิดทางให้เจ้ขึ้นเครื่องได้
...นี่คือจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่กวางโจ
ขอขอบคุณกวางโจ Prof.Huang Deliang และ Dr. Hu Ying ที่นำมาสู่จุดนี้
แสดงความคิดเห็น