ไวรัสซิกา (Zika) พบผู้ติดเชื้อในหลายๆ ประเทศทั่วโลก
จนกระทั่งเริ่มพบผู้ติดเชื้อในประเทศไทย เลยอยากให้ทุกคนอย่านิ่งนอนใจ
มองไวรัสซิกาเป็นเรื่องไกลตัว เพราะถึงแม้จะพบอัตราการเสียชีวิตจากไวรัสซิกาน้อย
แต่ก็เป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
เพราะเป็นโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ และพบว่าหญิงมีครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสซิกา
อาจส่งผลให้เด็กในครรภ์มีความผิดปกติได้
ไวรัสซิกา
เป็นไวรัสซึ่งอยู่ในตระกูลฟลาวิไวรัส จำพวกเดียวกับไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี
ไวรัสเวสต์ไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี
ติดต่อจากผู้ป่วย สู่ผู้ป่วยด้วย “ยุงลาย” ที่เป็นพาหะ มีระยะฟักตัวราว 4-7
วัน
นายแพทย์อรรถพล
ชีพสัตยากร ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี
กล่าวว่า ประเทศไทยมีการดำเนินมาตรการเฝ้าระวัง
ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกาอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง
โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีรายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกา
สำหรับสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสซิกาในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 30 ก.ย. 59
พบผู้ป่วยแล้ว 392 ราย ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
พบผู้ป่วยรายใหม่ 43 ราย
แนวโน้มผู้ป่วยแต่ละสัปดาห์คงที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งสามารถควบคุมโรคได้โดยพบผู้ป่วยในบางอำเภอ
บางจังหวัดเท่านั้น
ส่วนกรณีการพบเด็กศีรษะเล็ก
นั้น เกิดจากการเฝ้าระวัง ติดตามในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิดและเข้มข้นของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งการติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์
ไม่ใช่เป็นสาเหตุหลักเพียงสาเหตุเดียวที่มีโอกาสทำให้ทารกเกิดภาวะศีรษะเล็ก
แท้จริงแล้วสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน
จากข้อมูลทางวิชาการมีโอกาสเกิดได้ใน 40-40-20 คือ 40%
แรกอาจเกิดจากความผิดปกติของยีนตั้งแต่กำเนิด, 40% ต่อมาอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ได้รับสารเคมีบางชนิดขณะตั้งครรภ์ อาทิ
สารโลหะหนัก เป็นต้น และจากภาวการณ์ขาดสารอาหารอย่างรุนแรงในขณะตั้งครรภ์
รวมทั้งการติดเชื้ออื่นๆ ด้วย และอีก 20% ไม่ทราบสาเหตุ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก
พบว่าภาวะศีรษะเล็กมีความเชื่อมโยงกับเชื้อไวรัสซิกา
แต่อาจไม่ได้เป็นเพียงสาเหตุเดียว อาจมีปัจจัยอื่นร่วมด้วยที่ทำให้เกิดศีรษะเล็กทั้งนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและวิจัยต่อไป
นายแพทย์อรรถพล กล่าวต่อไปว่า สำหรับการติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์ นั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดภาวะทารกศีรษะเล็กในทารกในครรภ์ทุกราย แต่หญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องดูแลสุขภาพให้ดีตลอดการตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อย หากมีอาการผิดปกติในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น มีไข้ออกผื่น ให้รีบปรึกษาแพทย์ และไปตรวจพัฒนาการของทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ ป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด และมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัยตลอดการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยโรคติดเชื้อไวรัสซิกายังไม่มีรายงานการติดต่อจากการสัมผัส และไม่สามารถติดต่อทางลมหายใจ (ไม่ติดง่ายเหมือนไข้หวัด) ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ไม่ต้องกลัวหรือรังเกียจผู้ป่วยโรคนี้ ที่สำคัญขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในระบบเฝ้าระวังของประเทศไทย และติดตามข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ประสานใกล้ชิดกับราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับทารกที่สงสัยภาวะศีรษะเล็กหรือทารกที่เกิดจากมารดาที่สงสัยหรือยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสซิการะหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งควรได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยกุมารแพทย์หรือแพทย์ทั่วไป เพื่อติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กอย่างสม่ำเสมอในช่วง 2 ปีแรก ถ้าทารกมีความผิดปกติของการมองเห็นหรือการได้ยินให้รีบส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทางให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีรายงานการตรวจพบไวรัสซิกาในนมแม่ แต่ไม่เคยมีรายงานการติดเชื้อไวรัสซิกาจากการให้การให้นมลูก จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่าการให้นมของแม่มีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสซิกา ดังนั้น แม่ทุกรายที่มีการติดเชื้อไวรัสซิกาขณะตั้งครรภ์สามารถให้นมแม่แก่ทารกได้ซึ่งเป็นไปตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก
สำหรับวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันคือไม่ให้ยุงกัด โดยเร่งดำเนินการควบคุมลูกน้ำยุงลายให้ลดลง ตามมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” ได้แก่ 1.เก็บบ้านให้สะอาด โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นที่เกาะพักของยุง 2.เก็บขยะ เศษภาชนะรอบบ้าน โดยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 3.เก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายไปวางไข่ เพื่อป้องกัน 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา รวมทั้งการกำจัดและควบคุมยุงตัวแก่ เช่น การพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย และการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด เช่น ทายากันยุง นอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวด กำจัดยุงโดยใช้ไม้ช็อตไฟฟ้า จุดสมุนไพรหรือยาจุดไล่ยุง หรือใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น และขอให้ประชาชนเริ่มต้นดำเนินการที่บ้านของตนเองก่อน จากนั้นขยายไปสู่ชุมชน และสถานที่ส่วนรวม เช่น โรงเรียน วัด และสถานที่ทำงาน เป็นต้น
ส่วนผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกาส่วนใหญ่อาการของโรคไม่รุนแรง และส่วนใหญ่ป่วยแล้วหายได้เอง อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ อาการเหล่านี้จะทุเลาลงได้เองภายในเวลา 2-7 วัน จะมีปัญหาเฉพาะกับหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีหลักฐานทางระบาดวิทยาที่บ่งชี้ว่าอาจสัมพันธ์กับอาการศีรษะเล็กในทารกแรกเกิด หากอาการไม่ดีขึ้นขอให้ไปพบแพทย์โดยเร็ว ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422
นายแพทย์อรรถพล กล่าวต่อไปว่า สำหรับการติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์ นั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดภาวะทารกศีรษะเล็กในทารกในครรภ์ทุกราย แต่หญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องดูแลสุขภาพให้ดีตลอดการตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อย หากมีอาการผิดปกติในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น มีไข้ออกผื่น ให้รีบปรึกษาแพทย์ และไปตรวจพัฒนาการของทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ ป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด และมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัยตลอดการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยโรคติดเชื้อไวรัสซิกายังไม่มีรายงานการติดต่อจากการสัมผัส และไม่สามารถติดต่อทางลมหายใจ (ไม่ติดง่ายเหมือนไข้หวัด) ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ไม่ต้องกลัวหรือรังเกียจผู้ป่วยโรคนี้ ที่สำคัญขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในระบบเฝ้าระวังของประเทศไทย และติดตามข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ประสานใกล้ชิดกับราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับทารกที่สงสัยภาวะศีรษะเล็กหรือทารกที่เกิดจากมารดาที่สงสัยหรือยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสซิการะหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งควรได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยกุมารแพทย์หรือแพทย์ทั่วไป เพื่อติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กอย่างสม่ำเสมอในช่วง 2 ปีแรก ถ้าทารกมีความผิดปกติของการมองเห็นหรือการได้ยินให้รีบส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทางให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีรายงานการตรวจพบไวรัสซิกาในนมแม่ แต่ไม่เคยมีรายงานการติดเชื้อไวรัสซิกาจากการให้การให้นมลูก จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่าการให้นมของแม่มีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสซิกา ดังนั้น แม่ทุกรายที่มีการติดเชื้อไวรัสซิกาขณะตั้งครรภ์สามารถให้นมแม่แก่ทารกได้ซึ่งเป็นไปตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก
สำหรับวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันคือไม่ให้ยุงกัด โดยเร่งดำเนินการควบคุมลูกน้ำยุงลายให้ลดลง ตามมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” ได้แก่ 1.เก็บบ้านให้สะอาด โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นที่เกาะพักของยุง 2.เก็บขยะ เศษภาชนะรอบบ้าน โดยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 3.เก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายไปวางไข่ เพื่อป้องกัน 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา รวมทั้งการกำจัดและควบคุมยุงตัวแก่ เช่น การพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย และการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด เช่น ทายากันยุง นอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวด กำจัดยุงโดยใช้ไม้ช็อตไฟฟ้า จุดสมุนไพรหรือยาจุดไล่ยุง หรือใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น และขอให้ประชาชนเริ่มต้นดำเนินการที่บ้านของตนเองก่อน จากนั้นขยายไปสู่ชุมชน และสถานที่ส่วนรวม เช่น โรงเรียน วัด และสถานที่ทำงาน เป็นต้น
ส่วนผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกาส่วนใหญ่อาการของโรคไม่รุนแรง และส่วนใหญ่ป่วยแล้วหายได้เอง อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ อาการเหล่านี้จะทุเลาลงได้เองภายในเวลา 2-7 วัน จะมีปัญหาเฉพาะกับหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีหลักฐานทางระบาดวิทยาที่บ่งชี้ว่าอาจสัมพันธ์กับอาการศีรษะเล็กในทารกแรกเกิด หากอาการไม่ดีขึ้นขอให้ไปพบแพทย์โดยเร็ว ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422
รายงานข่าวโดย
กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี กรมควบคุมโรค
วันที่ 10 ตุลาคม 2559
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น