pearleus

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

“ครวญ”อินโดฯ ปิดน่านน้ำจ่อกระทบกิจการมหาชัย "ตังเกพื้นที่ไม่เดือดร้อน"


ผู้สื่อข่าวรายงาน จากปัญหาหลังสาธารณะรัฐอินโดนีเซีย ได้ออกคำสั่งมาตรการปิดน่านน้ำมาอย่างต่อเนื่อง (ระหว่างเดือนธันวาคม 2557 -เมษายน 2558) เพื่อจัดระเบียบสัมปทานจับสัตว์น้ำทางทะเลงดให้หลายประเทศและไทย เข้าทำประมง ส่งผลให้ในภาคประมงนอกน่านน้ำในพื้นที่และกิจการแปรรูปอาหารเริ่มมีผลกระทบต่อเนื่อง ล่าสุด นายวันชัย แสงสุขเอี่ยม ฐานะสมาชิกประมงนอกน่านน้ำ จ.สมุทรสาคร พร้อมด้วย นายธีรวัฒน์ เจริญสุขโสภณ ประธานชมรมผู้ค้าปลา จ.สมุทรสาคร ได้ร่วมกับตัวแทนผู้ประกอบการ (ล้งแปรรูป) ที่เกี่ยวข้องประมาณ 50 ราย เข้าร้องเรียนขอความช่วยเหลือต่อศูนย์ดำรงธรรม จ.สมุทรสาคร ผ่านไปยังรัฐบาลเพื่อขอให้หามาตรการแก้ไขปัญหารองรับผลขาดแคลนวัตถุดิบสินค้าปลาเพื่อการแปรรูปอาหาร

นายวันชัย แสงสุขเอี่ยม กล่าวว่า ปัญหาหลังสาธารณะรัฐอินโดนีเซียที่มีการออกคำสั่งมาตรการปิดน่านน้ำมาระหว่างเดือนธันวาคม 2557 - เมษายน 2558 ซึ่งมีกระแสข่าวว่าจะปิดไปอย่างต่อเนื่องประมาณ 6 เดือนหรือถึงตุลาคม 2558 เป็นเหตุให้ชาวประมงน่านน้ำไทย และการแปรรูปอุตสาหกรรมต่อเนื่องต้องประสบปัญหาขาดแคลนเรื่องวัตถุดิบโดยเฉพาะปลา แน่นอนทั้งนี้อันจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ในระบบแรงงานของการแปรรูปอาหารส่งออกในพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงจังหวัดแถบชายทะเลที่มีการแปรรูปอาหารกว่า 30 จังหวัด ซึ่งต้องนำเข้าปลาจากอินโดนีเซียอย่างแน่นอนเพราะประมงไทยไม่สามารถออกเรือได้ตามปรกติ

ร.ต.ท.อาทิตย์ บุญญะโสภัต ผวจ.สมุทรสาคร กล่าวว่า หลังรับเรื่องดังกล่าวจะช่วยเร่งส่งผ่านไปยังผู้เกี่ยวข้องส่วนกลางเพื่อไปดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ซึ่งส่วนตนยอมรับว่าด้วยเหตุนี้มองว่าอาจจะมีผลกระทบลักษณะลูกโซ่เรื่องของอุตสาหกรรมต่อเนื่องตั้งแต่ปัญหาต้นทางถึงปลายทาง หรือต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำที่มีภาคส่วนอื่นๆเกี่ยวข้อง ในฐานะเมืองสมุทรสาครเป็นแหล่งผลิตแปรรูปอาหารขนาดใหญ่ตามมาเป็นต้น

ด้านนายกำจร มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมง จ.สมุทรสาคร เผยว่า เกี่ยวกับเรื่องประเทศอินโดฯ ที่มีกฎเหล็กคำสั่งปิดน่านน้ำลงเพื่อจัดระเบียบสัมปทานรักษาทรัพยากรทางทะเลใหม่ล่าสุดนี้ ปรากฏว่าไม่มีผลต่อประมงในประเทศหรือประมงชายฝั่งแต่อย่างใด ทั้งนี้สืบเนื่องที่ผ่านมาชาวประมงใน จ.สมุทรสาคร ไม่ได้ยึดติดหรือออกเรือทำประมงนอกน่านน้ำเป็นหลัก ซึ่งประมงจังหวัดสมุทรสาครเรือของเรา (ไม่เกิน60ตัน) ทำเฉพาะในอ่าวไทยหรืออ่าวตัว ก.เท่านั้น และเพียงบางประเทศอื่นๆ บ้างที่เข้าไปทำประมง อย่างไรก็ตามดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบอินโดฯปิดอ่าวแต่อย่างใด

นายกำจรกล่าวว่า ส่วนเรื่องการแปรรูปสินค้าส่งออกอาหารทะเลของจังหวัดฐานะเป็นแหล่งใหญ่ก็จริง ที่ผ่านมามีการสั่งซื้อวัตถุดิบปลาจากต่างประเทศเข้ามาแปรรูปอาหารส่งขาย โดยเฉพาะปลาโอหรือปลาทูน่ามากที่สุด ขณะที่ชาวประมงสมุทรสาครหาวัตถุดิบ กุ้ง หอย ปู ปลา ได้มานั้นเป็นการขายบริโภคในประเทศเป็นหลักเกือบ 100 % จึงแทบไม่ได้ส่งออกโดยเฉพาะกุ้งและหอย เนื่องจากมีเรื่องราคาค่อนข้างก็สูงกว่าวัตถุดิบนำเข้าเยอะ ดังนั้นต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ได้นิยมและไม่สั่งซื้อไปบริโภคเพราะราคาแพง โดยส่วนใหญ่จะเป็นกุ้งเลี้ยงหรือกุ้งบ่อและปลาเลี้ยง ที่นำเข้านำมาแปรรูปเพื่อจำหน่าย
รายงาน/ มานพ จ.สมุทรสาคร 087-151-2525









              

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น