pearleus

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

จะปิดเกมกัน..แบบไหน

7777สถานการณ์การเมืองในวันนี้ บางครั้งดูเหมือนจะถึงจุดแตกหัก ระหว่าง "รัฐบาล-กลุ่มผู้ชุมนุมราชดำเนิน" แต่บางครั้งก็ไม่ต่างจาก "แม่เหล็ก" ขั้วเดียวกันต่างก็ผลักกันออก เมื่อเข้าใกล้กัน แม้ว่าสัปดาห์นี้ มุมมองด้านความมั่นคงจะมองแทบไม่ต่างจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเท่าใดนัก แต่ก็มองเห็นแนวโน้มความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ ภายใต้เงื่อนไขและปัจจัยที่ยังไม่แตกต่างจากที่ผ่านมา สถานการณ์ในขณะนี้จึงเป็นการแก้ไขปัญหาแบบวันต่อวัน และเป็นการยากที่จะคาดเดาได้ล่วงหน้าว่า แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมจะเอาอย่างไร แต่ที่บอกได้แน่ๆ คือ ประชาชนที่มาร่วมชุมนุมที่ต้องยอมรับว่า เกือบ 100% เป็นคนชั้นกลางใน กทม. ซึ่งมีข้อจำกัดมากมายหลายอย่าง การเคลื่อนไหวของกลุ่มราชดำเนินที่มี สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นแกนนำ ยังคงมีสภาพไม่ต่างจากการเล่น "หมากรุก" กับฝ่ายรัฐบาล ผลัดกันเดินคนละตา ตรงตามกติกา "หมากรุก" ถึงแม้ว่า เมื่อรุกเข้าไปแล้วรัฐบาลตัดสินใจถอย อยากจะยึดก็ยึด แต่ไม่ยอมสั่งให้มีการปะทะ ทั้งในแง่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือกระทั่งมวลชนคนเสื้อแดงที่ถูกสั่งเด็ดขาดให้อยู่กันเฉพาะที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน นั่นก็เพราะรัฐบาลมองท่าทีของแกนนำผู้ชุมนุมทะลุแล้วว่า มุ่งที่จะกดดันรัฐบาลด้วยวิธีการสูงสุด ที่ไม่ใช่เพียงแค่การยึด การเรียกร้องให้ประชาชนปฏิเสธอำนาจรัฐบาล มุมมองของฝ่ายความมั่นคงนั้น เห็นว่า การบุกเข้ายึดแล้วพักค้างแรม สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียมวลชนบางครั้งฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ บางครั้งก็เพลี่ยงพล้ำ แต่ยังไปไม่ถึงจุดพลิกผัน หรือจุดวิกฤติที่จะชี้ขาด แพ้-ชนะ ตรงกันข้าม หากเกิดความรุนแรงจนถึงขั้นปะทะกัน ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมวลชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือระหว่างมวลชนกับมวลชนด้วยกัน ทำให้รัฐบาลไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะใช้กฎหมายพิเศษเพื่อมาบริหารราชการแผ่นดินในภาวะฉุกเฉิน สั่งการให้กองทัพออกมาปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้เป็นหมากตัวสุดท้ายที่จะพลิกผันเหตุการณ์ทั้งหมด..ส่วนมวลชนผู้ชุมนุมนั้น ก็ยังเชื่อมั่นว่า ถึงอย่างไรกองทัพก็น่าจะเลือกจัดการรัฐบาล มากกว่าเข่นฆ่าทำร้ายประชาชน....อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในขณะนี้ กองทัพยังคงมีมองว่า เหลือพัฒนาการอีกพอสมควรที่จะก้าวเข้าสู่สถานการณ์วิกฤติเช่นนั้น...ฉะนั้นหากกกองทัพก้าวผิดจังหวะก็จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมประเทศไทย เพราะไปเพิ่มความซับซ้อนปัญหาให้มากยิ่งขึ้น จนสุดท้ายอาจบานปลายออกไปจนไม่ว่าใครก็เกินที่จะแบกรับความรับผิดชอบ...ขณะเดียวกัน การเรียกร้องหรือเคลื่อนไหวของกลุ่มมวลชนในขณะนี้ ก็ยังอยู่ในกรอบของกฎหมาย สถานการณ์ยังไม่ถึงขั้นภาวะฉุกเฉิน การเฝ้าระวังจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด .....คำว่า "จะปิดเกม..กันแบบไหน" ภายในกำหนดวันนั้นวันนี้ หากแกนนำผู้ชุมนุมเลือกที่จะเดินไปที่นั่นที่นี่ การ "จะปิดเกม..กันแบบไหน" ก็น่าจะเป็นเรื่องของการเสร็จสิ้นการเยือนในแต่ละสถานที่ แล้วมีคำถามมาอีกว่า...การชุมนุมละ..มันจะจบลงได้อย่างไร ถ้าทำเช่นนั้น.....นั้นคือคำถามที่หาคำตอบยาก..ถึงยากมากๆ...เห็นได้จากการยึดกระทรวงการคลัง (ไม่ว่าจะยึดหรือได้รับการเชื้อเชิญก็ตาม) เป็นการเดินทางไปเยือนกระทรวงนั้นกระทรวงนี้ แล้วเรียกร้องให้ปฏิเสธอำนาจรัฐและมาร่วมชุมนุม นั่นก็เพราะในเวทีต่างประเทศเขาปฏิเสธการบุกยึดสถานที่ราชการ เพราะจะสร้างความเสียหายไปทั้งระบบ และสุดท้ายความเดือดร้อนจะย้อนกลับไปหาประชาชนคนทั่วประเทศ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น