ภาคตะวันตก
ซึ่งถูกจัดให้เป็นเขตรับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่
4 จังหวัดราชบุรี จากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2556
พบว่า อุณหภูมิสูงสุด อยู่ที่บริเวณ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 42.7
องศาเซลเซียส และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 39.3 องศาเซลเซียส
(ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา 4 เมษายน 2556
http://www.tmd.go.th/climate/climate.php) ซึ่งส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วย
โรคที่เกิดจากความร้อนที่สำคัญ ได้แก่
1. โรคลมแดด (Heat Stroke) เป็นโรคที่เกิดจากความร้อนที่มีอาการรุนแรงที่สุดอาจทำให้เสียชีวิตได้
2. โรคเพลียแดด (Heat Exhaustion) เป็นโรคที่เกิดในขณะที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีอาการเหงื่อออกมาก หน้าซีด เหนื่อย อ่อนแรง วิงเวียน ปวดหัว อาเจียน เป็นลมกล้ามเนื้อเกร็ง
1. โรคลมแดด (Heat Stroke) เป็นโรคที่เกิดจากความร้อนที่มีอาการรุนแรงที่สุดอาจทำให้เสียชีวิตได้
2. โรคเพลียแดด (Heat Exhaustion) เป็นโรคที่เกิดในขณะที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีอาการเหงื่อออกมาก หน้าซีด เหนื่อย อ่อนแรง วิงเวียน ปวดหัว อาเจียน เป็นลมกล้ามเนื้อเกร็ง
3. โรคตะคริวแดด (Heat Cramps) มักเกิดในคนเสียเหงื่อมากระหว่างทำงานหนัก
หรือออกกำลังกาย ร่างกายจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ส่งผลให้เป็นตะคริว
ผู้ป่วยจะปวดกล้ามเนื้อเกร็งบริเวณหน้าท้อง แขนหรือขา
การช่วยเหลือควรหยุดการใช้แรงทันทีพาเข้าในที่ร่มหรือที่ที่มีเครื่อง ปรับอากาศ
ควรดื่มน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มที่มีเกลือแร่ถ้าอาการไม่ดีภายใน 1 ชั่วโมงให้รีบไปพบแพทย์ทันทีและ
4. ผิวหนังไหม้แดด (Sunburn)
ผู้ป่วยจะมีผิวหนังเป็นรอยแดง ปวดแสบร้อนเล็กน้อย
โดยทั่วไปจะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ ห้ามเจาะตุ่มน้ำที่พอง
ให้ประคบเย็น และทาโลชั่นเพื่อให้ความชุ่มชื้น หากเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี จะมีตุ่มพองน้ำใส ปวดแสบร้อนรุนแรง ให้ไปพบแพทย์เช่นกัน
ดร.น.พ.อนุพงค์ สุจิยากุล กล่าวต่ออีกว่า ยังมีโรคอีก 2 โรคที่สำคัญ ที่ต้องระวังเช่นกัน คือ
ดร.น.พ.อนุพงค์ สุจิยากุล กล่าวต่ออีกว่า ยังมีโรคอีก 2 โรคที่สำคัญ ที่ต้องระวังเช่นกัน คือ
1. โรคจากสัตว์เลี้ยง ต้องระมัดระวังกันเป็นพิเศษ
เพราะมีรายงานว่า พบโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนจำนวนมากถึง 271 โรค
เป็นต้นว่า สัตว์ฟันแทะ 44 โรค การทำปศุสัตว์ 37 โรค โรคจากแมว 34 โรค ลิง 27 โรค
สัตว์เลื้อยคลานและปลา 20 โรค กระต่าย 17 โรค และนก 15 โรค นอกจากนี้ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
ยังมีรายงานว่าพบโรคอุบัติใหม่อย่าง 'พยาธิ หนอนหัวใจ'
ที่ติดจากยุงมากัดสุนัข และยังพบอีกว่า โรคนี้อาจเป็นภัยคุกคามคนเมืองได้เนื่องจากมีราย
งานในต่างประเทศว่ามีการติดต่อจากสุนัขมาสู่คนได้ด้วย ที่สำคัญยังพบโรคจากสัตว์เลี้ยงแสนรักมากถึง
47 โรค โดยเฉพาะร้อนๆ แบบนี้ ต้องระวังพิษสุนัขบ้า ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่อันตรายร้ายแรงโรคพิษสุนัขบ้า
หรือ "โรคกลัวน้ำ" (Hydrophobia) เกิดจากผู้ที่มีบาดแผลถูกสัตว์เลี้ยงที่มีเชื้อ "เลีย" หรือถูก
"กัด" เมื่อได้รับเชื้อแล้ว ผู้ป่วยที่มีอาการจะต้องเสียชีวิตทุกราย ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโลกนี้ไม่ต่ำกว่า
55,000 รายต่อปี ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ประชาคมอาเซียนมีเป้าหมายร่วมกันจะกำจัดโรคนี้ให้หมดไปจากอาเซียน
ภายในปี ค.ศ.2020 หรือ พ.ศ.2563
2. โรคจากอาหารและน้ำ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด อหิวาตกโรค และไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย และโรคตับอักเสบจากไวรัสทางเดินอาหารชนิดเอ จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค โรคติดต่อทางอาหารและน้ำเป็นโรคที่พบบ่อย โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน ในช่วงเกือบ 2 เดือนแรกของปี 2556 นี้ มีรายงานผู้ป่วยทั้ง 6 โรค รวม 146,452 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต โรคที่พบมากอันดับ 1 ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง 128,855 ราย ผู้ป่วยร้อยละ 28 เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป รองลงมาคือ โรคอาหารเป็นพิษ 15,965 ราย โรคบิด 1,197 ราย และโรคตับอักเสบจากไวรัสทางเดินอาหารชนิดเอ จำนวน 43 ราย ส่วนโรคอหิวาตกโรค ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยช่วงหน้าร้อนนี้ หากใครมีโรคประจำตัว นอกจากจะต้องใส่ใจแล้ว อาหารและสัตว์เลี้ยงยังเป็นอีกสองอย่างที่ต้องระมัดระวังเพราะในปัจจุบันเราจะสังเกตเห็นว่าคนชอบหาสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์แปลกๆมาเลี้ยงอย่างใกล้ชิด บางคนถึงกับเอาไปนอนด้วยบนเตียง(ส่วนใหญ่จะเป็น สุนัข อันตรายมากมาย) โบราณว่าสัตว์หน้าขนอย่าไว้ใจมันจะบ้าเมื่อไรเราไม่อาจรู้ได้ ดังนั้น เราต้อง รู้ก่อน รู้ทัน ป้องกันได้ ด้วยความห่วงใย อยากเห็น คนไทยมีสุขภาพดี ขอให้ปลอดโรค ปลอดภัยกันทุกคนครับ.
2. โรคจากอาหารและน้ำ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด อหิวาตกโรค และไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย และโรคตับอักเสบจากไวรัสทางเดินอาหารชนิดเอ จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค โรคติดต่อทางอาหารและน้ำเป็นโรคที่พบบ่อย โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน ในช่วงเกือบ 2 เดือนแรกของปี 2556 นี้ มีรายงานผู้ป่วยทั้ง 6 โรค รวม 146,452 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต โรคที่พบมากอันดับ 1 ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง 128,855 ราย ผู้ป่วยร้อยละ 28 เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป รองลงมาคือ โรคอาหารเป็นพิษ 15,965 ราย โรคบิด 1,197 ราย และโรคตับอักเสบจากไวรัสทางเดินอาหารชนิดเอ จำนวน 43 ราย ส่วนโรคอหิวาตกโรค ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยช่วงหน้าร้อนนี้ หากใครมีโรคประจำตัว นอกจากจะต้องใส่ใจแล้ว อาหารและสัตว์เลี้ยงยังเป็นอีกสองอย่างที่ต้องระมัดระวังเพราะในปัจจุบันเราจะสังเกตเห็นว่าคนชอบหาสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์แปลกๆมาเลี้ยงอย่างใกล้ชิด บางคนถึงกับเอาไปนอนด้วยบนเตียง(ส่วนใหญ่จะเป็น สุนัข อันตรายมากมาย) โบราณว่าสัตว์หน้าขนอย่าไว้ใจมันจะบ้าเมื่อไรเราไม่อาจรู้ได้ ดังนั้น เราต้อง รู้ก่อน รู้ทัน ป้องกันได้ ด้วยความห่วงใย อยากเห็น คนไทยมีสุขภาพดี ขอให้ปลอดโรค ปลอดภัยกันทุกคนครับ.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดราชบุรี กรมควบคุมโรค โทร! 032 310804
081 6124111
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น