ดร.นพ.อนุพงค์
สุจริยากุล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดราชบุรี กล่าวถึง สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในต่างประเทศที่มีรายงานพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
ดังนั้นควรมีการเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบและค้นหาการระบาดเป็นกลุ่มก้อนของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบ
รวมทั้งเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบเฉียบพลันรุนแรงหรือปอดอักเสบเสียชีวิตแบบเฉียบพลันในโรง
พยาบาล เก็บตัวอย่างส่งตรวจเพื่อหาเชื้อสาเหตุ
ตลอดจนเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น
ประวัติสัตว์ปีกป่วย/ตายในพื้นที่
ประวัติการเดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค เช่น ประเทศ จีน และกัมพูชา
ประเทศในแถบคาบสมุทรอาระเบียนและอาฟริกาเหนือ
เพื่อค้นหาโรคไข้หวัดนกและโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่
ที่อาจเกิดขึ้นได้ (ที่มา สานักระบาดวิทยา
กรมควบคุมโรค) และจากสถานการณ์ในประเทศ
(สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์กรมปศุสัตว์ ถนนพญาไท เขตราชเทวี กทม.
จากสถานการณ์ ประจำวันที่ 16 เม.ย. 2556 ณ เวลา 16.00
น.) 1.ไม่มีพื้นที่พบโรคไข้หวัดนกในวันนี้ 2. ไม่มีรายงานการเกิดโรค 4
ปี 5 เดือน 3 วัน
(นับจากวันที่ทำลายสัตว์ป่วยรายสุดท้าย วันที่ 12 พ.ย. 2551)
3. ไม่มีสถาณการณ์สัตว์ปีกป่วยตายประจำวัน ดร.นพ.อนุพงค์ สุจริยากุล กล่าวอีกว่า
จากข่าวการระบาดในประเทศจีน และกัมภูชา
ซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านเรามากและการแพร่ระบาดของโรคสามารถติดมาจากการเดินทางติดต่อค้าขายสินค้าที่ประเทศเหล่านั้นนำเขามาค้าขายกับเรา โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเกิดขึ้นเป็นประจำในทุกประเทศทั่วโลก
โดยจะเกิดระบาดใหญ่ทั่วโลกและสร้างความสูญเสียอย่างมหาศาลเป็นระยะๆ ทุกรอบ 10 – 30 ปี
ในภาวการณ์ปัจจุบันหากเกิดการระบาดใหญ่ขึ้น
เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่มีโอกาสแพร่ระบาดไปทั่วโลกได้ในเวลาอันรวดเร็วตามการขยายตัวของการสื่อสารคมนาคม
ซึ่งจะทำให้ประชาชนทั่วโลกเจ็บป่วยและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
โดยที่ไม่สามารถทำนายได้อย่างแน่นอนว่าการระบาดใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อใด
องค์การอนามัยโลกจึงได้แจ้งเตือนประเทศสมาชิกให้เร่งเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่
เนื่องจากเชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดใหญ่แต่ละครั้ง
เชื่อว่าเป็นเชื้อที่กลายพันธุ์จากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสัตว์
เช่นเชื้อไข้หวัดนก ในขณะเดียวกันกับที่ประเทศไทยประสบปัญหาการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
(โรคซาร์ส) ในปี พ.ศ. 2546 ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ก็พบการระบาดของโรคไข้หวัดนกสายพันธ์ H5N1 ในสัตว์ปีก
ทั้งยังติดต่อมาสู่คน
ทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่
อาจกล่าวได้ว่าสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน จัดอยู่ในระยะก่อนการระบาดใหญ่ (Inter-pandemic)
ซึ่งเป็นสภาวะที่มีความเสี่ยงต่อการพัฒนาไปสู่ระยะการระบาดใหญ่ เนื่องจากเป็นโรคใหม่ได้มีการปรับเปลี่ยนนิยามหลายครั้งจากประสบการณ์ที่ผ่านมา
จึงขอกำหนด นิยามแบ่งเป็น 3 ระดับ ผู้ป่วยที่สงสัย
(Suspect) ได้แก่ ผู้ที่มีอาการหรืออาการแสดงต่อไปนี้ ไข้ (อุณหภูมิกายมากกว่า 38
องศาเซลเซียส) ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่งอันได้แก่
ปวดกล้ามเนื้อ , ไอ , หายใจผิดปกติ
(หอบ, ลำบาก) ,หรือ
แพทย์วินิจฉัยสงสัยว่าเป็นปอดบวม หรือไข้หวัดใหญ่ ร่วมกับ
มีประวัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. อาศัยอยู่ในบ้านหรือหมู่บ้านที่มีสัตว์ปีกป่วยตาย
ในระยะ 14 วัน ก่อนวันที่เริ่มป่วย หรือ 2. สัมผัสโดยตรงหรือทางอ้อม กับอุจจาระหรือสิ่งคัดหลั่งของสัตว์ปีกที่ป่วยตาย
ในระยะ 7 วัน ก่อนวันที่เริ่มป่วย หรือ 3. สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยปอดบวมรายอื่น ในระยะ 10 วัน
ก่อนวันที่เริ่มป่วย ผู้ป่วยที่น่าจะเป็น (Probable) ได้แก่
ผู้ป่วยที่สงสัยตามนิยามข้างต้น
ร่วมกับผลการตรวจเบื้องต้นพบว่ามีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่กลุ่ม A แต่ยังบอกไม่ได้ว่าเป็นเชื้อสายพันธ์ของคนหรือของสัตว์ปีก
หรือมีอาการระบบหายใจล้มเหลว หรือเสียชีวิต แนวปฏิบัติการเฝ้าระวังสอบสวนโรค เฝ้าระวังการป่วยด้วยโรคปอดบวมและไข้หวัดใหญ่อย่างเต็มที่
โดยผู้ป่วยทุกรายที่สงสัยว่ามี อาการปอดบวม หรือไข้หวัดใหญ่
ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ขอให้ซักถามประวัติการอาศัยอยู่ในบ้านหรือหมู่บ้านที่มีสัตว์ปีกป่วยตายในรอบ 14 วัน ก่อนเริ่มป่วย การสัมผัสโดยตรงหรือทางอ้อมกับอุจจาระหรือสิ่งคัดหลั่งของสัตว์ปีกที่ป่วยตาย
ในรอบ 7 วัน ก่อนเริ่มป่วย การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยปอดบวมรายอื่น ในรอบ 10
วัน ก่อนเริ่มป่วย หากมีประวัติดังกล่าวเพียงข้อใดข้อหนึ่ง
ให้รายงาน และทำการสอบสวนโรค และควบคุมโรคในชุมชนทันที
โดยไม่ต้องรอผลทางห้องปฏิบัติการ และให้การดูแลรักษาตามแนวทางที่กระทรวงกำหนดไว้ ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากปอดบวมทุกราย
ให้เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาการติดเชื้อไข้หวัดนกด้วยเมื่อมีผู้ป่วยสงสัย
ให้ทำการสอบสวนโรค และควบคุมโรคในชุมชน ซึ่งประกอบด้วย • ตรวจสอบ
และประสาน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ว่ามีการตายของสัตว์ปีกมากน้อยเพียงใด •
มีผู้ป่วยรายอื่นๆ ที่ชวนให้สงสัยว่าเป็นไข้หวัดนก ดร.นพ.อนุพงค์
สุจริยากุล กล่าวเพิ่มติมอีกว่า ดังนั้น
การเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ปัญหาการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คนไทยทุกคนต้องช่วยกันระมัดระวัง
รู้ก่อน รู้ทัน ป้องกันได้ ที่สิ่งสำคัญ คือ ประชาชนต้องไม่ตระหนก แต่
ต้องตระหนัก
และพร้อมใจกันในการให้ความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกไม่ให้เข้ามาระบาดในประเทศไทย
โดยปฏิบัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศอย่าเคร่งครัดแล้วทุกท่านจะปลอดภัยจาก โรคไข้หวัดใหญ่ ด้วยความห่วงใย
อยากเห็น คนไทยมีสุขภาพดี ขอให้ปลอดโรค ปลอดภัยกันทุกคนครับ. สอบถามรายละเอียดได้ที่
1422 กรมควบคุมโรค
รายงานข่าวโดย
วิจิตรา ฤทธิ์ประภา กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่
4 จังหวัดราชบุรี กรมควบคุมโรค
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น