pearleus

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ผู้ประกอบการรีไซเคิลพลาสติกคลองตันรับแก้ไข ยกเลิกหลอมพลาสติก หลังชาวบ้านร้อง


ผู้ประกอบการรีไซเคิลพลาสติกคลองตันรับแก้ไข
ยกเลิกหลอมพลาสติก หลังชาวบ้านร้อง

หลังจากจากที่ชาวบ้านตำบลคลองตันได้เข้าร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรมเนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากโรงรีไซเคิลพลาสติก ที่ ต.คลองตัน อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร
ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2561 ที่ผ่านมา  มว.รส.จว.ส.ค.(ส.๑) นำโดย ร.อ.อาทิตย์ ภูหวดน้อย ฝอ.๓.มว.รส.จว.ส.ค.(ส.๑) รวมกับ ปลัด อ.บ้านแพ้ว,อุตสาหกรรม จว.ส.ค.,ทสจ.ส.ค. และ จนท.ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าตรวจตามเรื่องร้องเรียนจากประชาชน ในกรณีสถานประกอบกิจการทำให้ประชาชนเดือดร้อน จากกลิ่นเผาพลาสติก   ซึ่งสถานประกอบการดังกล่าวมี  นายชาตรี  ณัตติสิทธิวณิชย์ เป็นเจ้าของ โดยโรงงานตั้งตั้งอยู่ เลขที่ ๖๕/๒๑ ต.คลองตัน อ.บ้านแพ้ว จว.ส.ค.ประกอบกิจการ คัดแยกเศษพลาสติก

ทั้งนี้นายชาตรี ญัตติสิทธิวณิชย์ เจ้าของสถานประกอบการโรงรีไซเคิลพลาสติก  ได้ชี้แจงกับผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ชี้ชัดเจาะลึก ถึงกรณีที่มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้เดินทางไปร้องเรียนที่ศูนย์ดำรงธรรม เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมา ว่าได้รับความเดือดร้อนจากสถานประกอบการแห่งนี้ ความเดือดร้อนที่ได้รับคือ กลิ่นจากการเผาพลาสติกที่มีทั้งกลางวันและกลางคืน โดยกลิ่นจะเหม็นแสบจมูก และบางทีก็มีกลิ่นคล้ายเส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทำให้ชาวบ้านที่อยู่แถวนี้ทนไม่ไหว รวมทั้งมีการปล่อยน้ำเกลือที่ใช้คัดแยกพลาสติกลงในคลองสาธารณด้วย
ทางด้านนายชาตรี ได้ชี้แจงว่า ตนเองได้ทราบแล้วว่า มีชาวบ้านได้รับผลกระทบจากกลิ่น ซึ่งปัญหากลิ่นก็เพิ่งมีมาประมาณปีกว่าๆ เพราะก่อนหน้านั้นไม่ได้ทำเกี่ยวกับพลาสติก จะทำตะกร้ารถจักรยานยนต์ เพิ่งมาทำรีไซเคิลพลาสติกเมื่อปีกว่าๆ โดยยอมรับว่าแต่ก่อนมีการใช้เครื่องหลอมพลาสติก แต่ก็มีการขออนุญาตกับทาง อบต.ถูกต้อง และมีการสอบถามชาวบ้านที่ใกล้เคียง ตอนที่จะทำก็บอกว่าจะมีการเปิดเครื่องหลอมในช่วงเวลา 21.00-02.00 น.เท่านั้น ซึ่งบางวันก็ยอมรับว่ามีกลิ่น เพราะทิศทางลมมีส่วนมาก แต่เมื่อทราบว่ามีชาวบ้านมาร้องเรียนกับ อบต.และทางเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก็เข้ามาตรวจสอบ ก็มีการบอกให้เอาเครื่องหลอมพลาสติกออกโดยให้เลิกการหลอมพลาสติก ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2561  ทางตนเองก็ยกเลิกการหลอมพลาสติกแล้วตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2561 ตามที่ อบต.ได้สั่งการ และหลังจากนั้นอีก 2-3 วันก็ได้นำเครื่องหลอมออก
ส่วนเรื่องการทิ้งน้ำเกลือลงสู่คลองสาธารณะ ยืนยันว่าไม่เป็นจริง เพราะน้ำเกลือที่ใช้แยกพลาสติก ไม่จำเป็นต้องทิ้ง หากน้ำพร่องลงก็เติมน้ำเติมเกลือเข้าไปก็ใช้ได้ ส่วนน้ำที่เห็นว่าปล่อยออกไปนั้น เป็นน้ำธรรมดาที่ล้างทั่วๆไป
และเมื่อวันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2561 หลังจากที่ชาวบ้านไปร้องเรียนที่ศูนย์ดำรงธรรม ก็มีคณะเจ้าหน้าที่พร้อมชาวบ้านเข้ามาตรวจสอบ ซึ่งจากการตรวจสอบก็ไม่พบว่ามีแหล่งที่ทำให้เกิดกลิ่น เพราะเจ้าของได้ยกเลิกการหลอมไปแล้ว เพียงแต่พบเครื่องโม่พลาสติกให้มีขนาดเล็ก แต่กำลังแรงม้าเกินกว่าที่อนุญาตให้ใช้ได้ จึงสั่งให้ไม่มีการใช้เครื่องโม่ดังกล่าว ตอนนี้จึงมีการคัดแยกพลาสติกด้วยแรงคนเท่านั้น









0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น