การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
เขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AEC ในปี 2558 ประเทศไทย ได้เตรียมพร้อมในหลายด้าน
โดยเฉพาะความมั่นคงด้านพลังงาน ปิโตรเลียม ไฟฟ้า ถ่านหิน พลังงานหมุนเวียน ดังนั้น
กระทรวงพลังงานจึงให้ความสำคัญกับความมั่นคงของพลังงานไทย ที่คาดว่าก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะหมดไปในอีกไม่นาน
ส่วนกระแสไฟฟ้าต้องมีการนำเข้าจากสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวบางส่วน ขณะเดียวกันราคาน้ำมันในตลาดโลกอยู่ระดับสูงและมีความผันผวน
ประเทศไทยมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่จำกัด ต้องพึ่งพาการนำเข้า น้ำมันดิบถึงร้อยละ
85 ของการจัดหา ไม่มีการกระจายเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ
ในการผลิตในสัดส่วนถึงร้อยละ 70 รวมถึงประชาชนไม่ยอมรับการพัฒนาโครงสร้างด้านพลังงาน
ส่งผลต่อความมั่นคงด้านพลังงานระยะยาว ซึ่งไทยต้องร่วมกันสร้างความเข้าใจอย่างเร่งด่วน
ดังนั้น กระทรวงพลังงาน จึงได้ทำแผนจัดหาก๊าซเพิ่มเติม ประกอบไปด้วย การเจรจาจัดซื้อก๊าซจากประเทศในอาเซียน
ได้แก่ พม่า และอินโดนิเซีย ซึ่งพม่าจะเปิดสัมปทานครั้งใหม่ภายในปลายปีนี้ คาดว่าจะมีการแข่งขันรุนแรง
และทางกลุ่ม ปตท.จะเข้าร่วมเสนอสัมปทานด้วย ส่วนแหล่งก๊าซที่อินโดนีเซีย
คาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า จะสามารถเริ่มดำเนินการได้ หลังจากปัจุบันทาง
บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. เข้าไปร่วมลงทุนในแหล่งนาทูน่า โดยจะตัองสร้างท่อก๊าซอาเซียนเชื่อมโยงจากอินโดนีเซีย
มาเลเซีย มายังประเทศไทย
นายณอคุณ
สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ขณะนี้ไทยผลิตก๊าซธรรมชาติสูงเต็มกำลังการผลิตแล้ว
และหากไม่ดำเนินการอะไรเพิ่มเติมก๊าซจากอ่าวไทยภายในอีก 20 ปีข้างหน้าจะหมดลง และ จะกระทบต่อประชาชน และภาคอุตสาหกรรม เพราะปัจจุบันไทยใช้ก๊าซผลิตไฟฟ้าสัดส่วนร้อยละ
70 โดยปีนี้ประเทศไทยใช้ก๊าซสูงถึง 4,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็นการผลิตในประเทศร้อยละ 75 และนำเข้าร้อยละ 25 ซึ่งก๊าซในประเทศกำลังการผลิตสูงสุดในปีหน้าจากนั้นจะเริ่มลดน้อยลง
นอกจากนี้
การเป็น AEC ผลกระทบที่มีต่อกิจการพลังงาน
ภาษีการนำเข้าจะเป็นศูนย์ การค้าในอาเซียนจะเป็นเสรีมากขึ้น
ซึ่งไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของตลาดและฐานการผลิตร่วม AEC โดยจะไปทำธุรกิจภาคบริการ
หรือ ไปลงทุนในอาเซียนอื่นๆได้อย่างเสรี ขณะเดียวกันไทยจะต้องเปิดเสรี
ให้อาเซียนอื่นเข้ามาถือหุ้นได้ถึง ร้อยละ 70 ด้วย ทั้งนี้
ผลของ ACE ที่จะเกิดขึ้นมีทั้งได้และเสีย ซึ่งไทยต้องมีการกระตุ้นให้เกิดการปรับตัว
มองหาลุ่ทางใช้ประโยชน์ ทั้งทางด้านภาษา และประสิทธิภาพของบุคลากร
รวมถึงการใช้ยุธศาสตร์เชิงรุก มากกว่าการตั้งรับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น