pearleus

วันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2561

บ.แม่โขงฯรุกหนักงัด”ราชกิจจาฯ”ฟันธงบอร์ด ขสมก.ขี้ฉ้อจัดซื้อเมล์ NGV.คาดผิดแพ่ง-อาญายกกระบิ

ภายหลัง ขสมก.เดินหน้าลงนามสัญญาจัดซื้อรถโดยสาร เอ็นจีวี.489 คัน วงเงิน 4,221 ล้านบาทด้วยวิธีคัดเลือกที่กลุ่มกิจการร่วมค้า SCN-CHO ประกอบด้วย บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน), บริษัท สแกนอินเตอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นเอกชนรายเดียวที่เข้ายื่นเสนอราคาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา ท่ามกลางกระแสทอล์คอ๊อฟเดอะทาวน์กล่าวขานถึงความไม่โปร่งใสของ ขสมก.

ล่าสุดเอกชนเดินสายร้องเรียนคณะกรรมาธิการคมนาคม สนช.จี้เรียกเทปบันทึกเสียงการประชุมบอร์ด ขสมก..ตรวจสอบด่วน ขณะที่บริษัทแม่โขงแฉรายวันคราวนี้โฟนอินออกอากาศรายการวิทยุดัง สืบจากข่าว 100.5 อสมท.เผยหลักฐานเด็ดชี้ชัดบอร์ดบางรายฉ้อฉลปล่อยให้รักษาการผู้อำนวยการ ขสมก.ร่วมโหวตได้ยังไงทั้งๆที่ราชกิจจานุเบกษา ระบุชัดถ้าไม่ใช่ผู้อำนวยการไม่มีสิทธิ์โหวต ร้องให้สอบวินัยร้ายแรงอาจผิดกฏหมายส่อแววทุจริต

ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2561 นายสุรดิษฐ์ ศรีดามาส กรรมการบริษัท แม่โขงเทคโนโลยี จำกัด เปิดเผยกับรายการวิทยุ100.5 อสมท.สืบจากข่าว ดำเนินรายการโดย 2 พิธีกรดัง นายสุวิทย์ บุตรพริ้งและนายจตุพร สุวรรณรัตน์ โดยนายสุรดิษฐ์ ได้เปิดเผยในรายการว่า ตนได้ส่งมอบข้อมูลและเอกสารหลักฐานต่างๆที่ชี้ชัดว่า กระบวนการจัดซื้อรถโดยสาร เอ็นจีวี. 489 คันมูลค่า 4,221 ล้านบาทของ ขสมก.ไม่โปร่งใสและอาจถึงขั้นผิดกฏหมาย ให้คณะกรรมาธิการคมนาคม สนช.เพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดโดยเฉพาะประเด็นหลักๆคือ เทปบันทึกเสียงการประชุมบอร์ดทั้งของวันที่ 18 และ 20 ธันวาคม 2561 ออกมายืนยันว่าตรงกับที่นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานบอร์ด ขสมก.แถลงต่อสื่อมวลชนอ้างว่า บอร์ด ขสมก.ได้มีมติเห็นชอบให้ ขสมก.ลงนามสัญญาจัดซื้อรถเอ็นจีวี.ดังกล่าว ด้วยผลโหวตเห็นชอบ 6 ต่อ 4 เสียงจริงหรือไม่?

รวมทั้งนายประยูร ช่วยแก้ว รักษาการผู้อำนวยการ ขสมก.ได้มีหนังสือชี้แจงสือมวลชนระบุชัดเจนยืนยันผลโหวตเห็นชอบ 6 ต่อ 4 เสียงเป็นลายลักษณ์อักษรอีกด้วย เพราะตามพยานหลักฐานที่ตนและผู้หวังดีแสวงหามานั้นสวนทางกับคำพูดของนายณัฐชาติอย่างแน่นอน

“ คำกล่าวอ้างของนายณัฐชาติและหนังสือที่นายประยูรลงนามชี้แจงต่อสื่อมวลชน เป็นคนละเรื่องกับพยานหลักฐานสำคัญๆที่รวบรวมมาแน่นอน โดยเฉพาะผลโหวตจากการประชุมบอร์ด ขสมก.วันที่ 18 ธันวาคม จริงๆแล้วมีบอร์ดเข้าประชุม  9 คนเพราะพลโทวราห์  บุญญะสิทธิ์   เพิ่งเดินทางกลับ จากประเทศอังกฤษ วันที่ 19 ธันวาคม 2560  จะเข้าประชุมได้ยังไง ปรากฏว่าที่ประชุมบอร์ดกลับปล่อยให้นายประยูร ช่วยแก้ว รองผู้อำนวยการ ขสมก.ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการ ขสมก.ทำหน้าที่เลขานุการกรรมการ(บอร์ด) ร่วมโหวตเห็นด้วยแทนเสียงของ พลโทวราห์ ที่ไม่ได้เข้าประชุม ตรงนี้ถือว่าเป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงเพราะหรือไม่?" ข้อแรก นายประยูร ยังไม่ได้มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ ขสมก.โดยสมบูรณ์ยังเป็นรักษาการเท่านั้น ตามราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 20 สิงหาคม 2519 มาตรา 27 ระบุชัดเจนว่า “เมื่อตำแหน่งผู้อำนวยการว่างลง ให้คณะกรรมการ(บอร์ด)แต่งตั้งผู้รักษาการแทน ให้ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการมีอานาจและหน้าที่อย่างเดียวกับผู้อำนวยการ เว้นแต่อำนาจและหน้าที่ของผู้อำนวยการในฐานะกรรมการ(บอร์ด)ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ” ข้อนี้ตนอยากถามบอร์ดทั้ง 10 ว่า พวกท่านคือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับการคัดสรรจากคณะรัฐมนตรีท่านทราบหรือไม่ว่า รักษาการณ์ ไม่สามารถทำหน้าที่กรรมการบริหาร(บอร์ด) แต่ท่านกลับปล่อยให้นายประยูรร่วมออกเสียงโหวตด้วย ตรงนี้พวกท่านจะรับผิดชอบกันอย่างไร?
นายสุรดิษฐ์ กล่าวต่อไปว่า แต่ก็เชื่อว่า ขสมก.ต้องออกมาชี้แจงยืนยันว่าถึงแม้นายประยูรไม่มีสิทธิ์ร่วมโหวตก็คงต้องตัดผลโหวตออกไป 1 เสียงเหลือมติเห็นชอบ 5 ต่อ 4 เสียงก็ผ่านอยู่ดี ถ้า ขสมก.ออกมาตอบแบบนี้ ตนถามว่าท่านผู้ทรงคุณวุฒิท่านเล่นขายของกันอยู่หรือ? ท่านทำผิดท่านจงใจท่านมีเจตนาอะไรกันแน่ๆท่านกำลังใช้เงินของประชาชน 4 พันกว่าล้านบาทอย่างฉ้อฉลหรือไม่?นายสุรดิษฐ์ กล่าวและว่าที่สำคัญต้องถามนายประยูร ว่าการที่นายประยูรใช้สิทธิ์แทนพลโทวราห์ ท่านรู้ได้อย่างไรว่า พลโทวราห์ จะโหวตเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย? ตรงนี้ต้องถามบอร์ดทุกท่านว่า นายประยูรมีความผิดทางวินัยร้ายแรงหรือไม่?ตนเป็นคนนอกแท้ๆยังรู้มีหรือที่กรรมการบริหาร(บอร์ด)ทุกท่านไม่รู้ เพราะราชกิจจานุเบกษาฉบับดังกล่าวมีให้ท่านอ่านแบบเต็มเล่มในเวปไซต์ของ ขสมก.เอง สรุปคือเมื่อท่านมีเจตนาไม่บริสุทธิ์แต่แรก มติบอร์ดที่ท่านพยายามสอดไส้ลักไก่ออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ย่อมถือว่าเป็นโมฆะโดยปริยายไม่ต้องไปพูดถึงการลงมติหรือการรับรองผลโหวตอีกต่อไป

"ผมว่าความผิดมันชัดเจนแล้วและเรื่องนี้ต้องมีคนรับผิดชอบผมขอยกตัวอย่างจากบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องการนับองค์ประชุมคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย เรื่องเสร็จที่ 877/2547 องค์การจัดการน้ำเสียมีหนังสือที่ ทส1301/423ลงวันที่ 21 กรกฏาคม 2547 ถึงสำนักงานคณะกรรการกฤษฏีกา เรื่องอำนาจของรักษาการฯสรุปข้อเท็จจริงได้ว่า “แม้จะได้มีการตั้งผู้รักษาการแทน แต่มาตรา 26 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสียฯได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งมิให้ผู้รักษาการแทนมีอำนาจในฐานะกรรมการ(บอร์ด)” จึงต้องฝากถาม ขสมก.ว่าตรงนี้ชัดเจนพอแล้วหรือไม่?"

นายสุรดิษฐ์ กล่าวต่อไปอีกว่า ต่อมาในการประชุมวันที่ 20 ธันวาคม 2560 นั้น มีบอร์ดเข้า ประชุมเพียง 7 ท่าน เท่านั้นแถมยังโหวตไม่เห็น ด้วย 4 เสียง เห็นด้วย 3  เสียง หากวันที่ 20 ธันวาคม มีการนับโหวตและรับรองผลโหวต จริงเสียงที่ไม่เห็นด้วย 4 เสียงถึงจะ ถือเป็นมติที่แท้จริง  หากแต่ข้อมูล ที่ ขสมก. ได้นำเสนอออกไป สู่สาธารณชนหลัง การประชุม วันที่ 20 ธันวาคม 2560 นั้น กลับแจ้งผลโหวตของวันที่ 18 ธันวาคม บอร์ดมีมติเห็นชอบ 6 ต่อ 4 เสียง  โดยมีผู้เห็นด้วย 6 เสียง และไม่เห็นด้วยเพียง 4 เสียง ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกิดจากการฉ้อฉลอาจถึงขั้นผิดกฏหมายหรือไม่?มติที่ประชุมถือว่าเป็นโมฆะหรือไม่? และ ขสมก.จะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร?”
สุดท้ายขออนุญาตฝากเตือนไปยังกรรมการบริหาร(บอร์ด)ทุกท่านว่า ท่านกำลังทำผิดกฏหมายหรือไม่?โดยเฉพาะอำนาจการจัดซื้อตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อยากให้ท่านทั้งหลายกลับไปดูข้อ 85 การสั่งซื้อหรือสั่งจ่ายโดยวิธีคัดเลือกครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (1)หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ไม่เกิน 100,000,000 บาท (2)ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น เกิน 100,000,000  บาท”

พร้อมระบุว่า บอร์ดทุกท่านกรุณาทบทวนไตร่ตรองให้ดีว่าท่านได้มีมติเห็นชอบวงเงินและถือปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ถูกต้องแล้วหรือคนเป็นห่วงว่าเรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่มีการกระทำผิดกฏหมายและบอร์ดทุกท่านจะต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่งและอาญาในไม่ช้า
************

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น