pearleus

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

ประชาชนร้องทุกข์ ตร.และศูนย์ดำรงธรรมกับนายณัฐพล สุวะดี(อัครพงศ์ปรีชา)

สรุปลำดับเหตุการณ์ คดี:ท่าเรือ อัคร
               
เมื่อปี พ.ศ. 2554 มวลชนชาวสมุทรสาคร จำนวนประมาณ 200 คน ได้ทำการปิดถนนพระราม 2 เพื่อประท้วงการขนถ่ายถ่านหินเป็นเหตุให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น คือ นายจุลภัทร แสงจันทร์ มีคำสั่งให้ระงับการขนถ่ายถ่านหินในจังหวัดสมุทรสาคร ต่อมาเมื่อปี 2555 นายสมเกียรติ กิจพ่อค้า เจ้าของท่าเรือเซ็นจูรี่ ผู้ประกอบการขนถ่ายถ่านหินได้ติดต่อกับ นายณัฐพลฯหรือกอล์ฟ สุวะดี ผ่าน นายปัญญา สร้อยพวง เพื่อจะหาทางให้ผู้ว่าฯ ยกเลิกคำสั่งระงับการขนถ่ายถ่านหิน จากนั้นนายณัฐพลฯ ได้ให้ นายชัยยา กาญจนรัตนพงศ์ โทรศัพท์ติดต่อ นายชาญชัยฯ และนายศรัญณัฐฯ แกนนำกลุ่มผู้ต่อต้านการขนถ่ายหิน โดยข่มขู่ว่า
ตนเป็นลูกท่านแม่พร้อมทั้งแจ้งทั้งสองคนให้มาพบ นายณัฐพลฯ ที่บ้านอัครพงษ์ปรีชา ซึ่งอ้างว่าเป็นเขตพระราชฐานโดยจะให้คนไปรับหรือจะมาพบด้วยตนเอง เมื่อทราบดังนั้น นายชาญชัยฯ จึงขอเดินทางเข้าไปพบเองและชวนนายประจบฯ เดินทางไปเป็นเพื่อนเพื่อไปพบ นายณัฐพลฯ ด้วยตนเอง ที่บ้านดังกล่าว เมื่อไปถึง นายณัฐพลฯได้แจ้งว่า ตนเองต้องการเปิดทำกิจการขนส่งถ่านหินซึ่งเป็นกิจการของครอบครัวอัครพงศ์ปรีชาและขอให้ชาวบ้านยกเลิกการชุมนุมประท้วง  โดยอ้างตนว่าเป็นน้องชายของพระวรชายา (หรือท่านผู้หญิงศรีรัศมีฯในปัจจุบัน) และยังเป็นลูกของท่านแม่อีกด้วย เมื่อทราบดังนั้นทางแกนนำทั้งคู่จึงเกิดความกลัวและไม่ตอบโต้ใดๆจากนั้นจึงเดินทางกลับ ต่อมานายณัฐพลฯ ได้ขอรับเงินจาก นายสมเกียรติ  กิจพ่อค้า เป็นจำนวนเงิน 1.4 ล้านบาท (เป็นค่านกแก้วมาคอร์สีน้ำเงิน 1 คู่) เพื่อเป็นค่าช่วยเหลือดำเนินการให้ได้รับอนุญาตขนถ่านหินของท่าเรือเซ็นจูรี่แต่

จากการประชุมเบญจภาคีครั้งที่ 1 ที่ประชุมลงมติสรุปว่าท่าเรือเซ็นจูรี่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากนั้น นายณัฐพลฯ จึงนัดนายสมเกียรติฯ มาพบที่ร้านอาหารสมุทรสาครเพื่อปรึกษาและขอเปลี่ยนชื่อท่าเรือเซ็นจูรี่เป็นท่าเรืออัครเพื่อให้การดำเนินการต่างๆสามารถได้รับอนุญาตได้ง่ายขึ้น และขอแบ่งผลกำไรตันละ 7 บาทเป็นค่าดำเนินการ จนกระทั่ง เมื่อวันที่  20 ก.ย.2556 จังหวัดสมุทรสาคร ได้มีการประชุมเบญจภาคี ครั้งที่ 2 มี นายชาญชัย และนายณัฐพลฯ เข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งทั้งสองได้ชี้แจงกับที่ประชุมว่า ได้ทำข้อตกลงกับท่าเรือเซ็นจูรี่ และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นท่าเรืออัครโดยจะดำเนินการปรับปรุงท่าเรือให้เป็นระบบปิดเพื่อป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่ผลการประชุมสรุปว่ายังไม่ได้รับอนุญาต
                จนกระทั่งเดือน กุมภาพันธ์ 2557 นายณัฐพล และนายชัยยา ได้เข้าพบ ผู้ว่าฯ (ซึ่งในขณะนั้นคือ ว่าที่ร้อยตำรวจโทอาทิตย์ บุญญะโสภัต ) เพื่อขอให้ ผู้ว่าฯ ยกเลกคำสั่ง ระงับการขนถ่ายหินอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่ได้รับอนุญาต และเมื่อทางกลุ่มผู้ต่อต้านการขนถ่ายหินทราบว่า นายณัฐพลฯเป็นบุคคลผู้ที่แอบอ้างสถาบันเพื่อหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ  จึงได้มีการรวมตัวกันเพื่อมาร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อขอความเป็นธรรมและดำเนินคดีต่อไป










0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น