pearleus

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เหี้ยสร้างปัญหา..................


 นายไชยผดุง  พรหมสวัสดิ์  ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรสงคราม  เปิดเผยว่า  สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับแจ้งจากประชาชนว่าได้รับความเดือดร้อนจากสัตว์ป่าคุ้มครอง (เหี้ย) มาทำลายทรัพย์สิน โดยเฉพาะบ่อปลา บ่อกุ้ง บ่อปู ฯลฯ  ทำให้มีรายได้ลดลง จึงขอให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของประชาชน สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรสงคราม จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน กิจกรรม แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากสัตว์ป่าคุ้มครอง (เหี้ย) ปีงบประมาณ ๒๕๕๖ โดยดำเนินการสำรวจความเดือดร้อนจากสัตว์ป่าคุ้มครองฯ/สำรวจเส้นทางการเข้าพื้นที่แหล่งที่อยู่อาศัยด้วยการวางแผนในการดักจับเหี้ย/ดำเนินการสร้างแร้ว – วางแร้วดักจับ และขนส่งไปในพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในเบื้องต้นให้กับประชาชนในพื้นที่ และเพื่อลดจำนวนประชากรสัตว์ป่าคุ้มครอง (เหี้ย) และสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่  มีเป้าหมายให้ได้ จำนวน ๔๐๐ ตัว ใน ๑๐ ตำบลของพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรสงคราม(โดยมีเขตห้ามล่าสัตว์ป่าพันท้ายนรสิงห์ สำนักบริการพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๓ (บ้านโป่ง) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหน่วยงานสนับสนุน)  คาดว่าสามารถลดจำนวนประชากรในวัยเจริญพันธุ์ลงได้ และควบคุมอัตราการเกิดของประชากรสัตว์ป่าคุ้มครอง (เหี้ย) รวมทั้งสามารถลดค่าจ้างแรงงานในการเฝ้าระวังพื้นที่ประกอบอาชีพการประมงด้วย ซึ่งได้ดำเนินการวางแร้วดักจับสัตว์ป่าคุ้มครอง (เหี้ย) ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ กำหนดแล้วเสร็จในเดือน สิงหาคม ๒๕๕๖
                                ทั้งนี้ โดยธรรมชาติของจังหวัดสมุทรสงคราม มีแม่น้ำแม่กลองเป็นแม่น้ำสายหลัก และมีลำคลอง ลำน้ำสาขาจำนวนมาก รวมทั้งการมีสภาพแวดล้อมที่ดี น้ำใสสะอาด จึงเป็นแหล่งอาศัยและขยายพันธุ์ของเหี้ย (Varanus Salvator) ซึ่งถูกกำหนดโดยกฎกระทรวงให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกสัตว์เลื้อยคลานลำดับที่ ๙๑ การจับหรือนำออกนอกพื้นที่จึงถือว่าเป็นการล่าสัตว์ต้องได้รับการอนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ในธรรมชาติจึงมีเหี้ย (Varanus Salvator) เพิ่มขึ้นมาก จนเกิดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ การจัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน กิจกรรม แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากสัตว์ป่าคุ้มครอง (เหี้ย) ปีงบประมาณ ๒๕๕๖ ของสำนักงานฯ จึงเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนและควบคุมปริมาณสัตว์ป่าคุ้มครองให้สมดุลกับสภาพพื้นที่ ดังกล่าว

3 ความคิดเห็น:

มึงก็ยกเลิกไปเลยไม่ดีกว่าเหรอครับ ทำเป็นสัตว์เศรษฐกิจไปเลย แล้วสัตว์อะไรที่จะสงวน ช่วยเอาแบบมันเหลือน้อย หรือออกลูกยากๆได้มั้ย ในนั้นมีใครฉลาดๆพอ และมีอำนาจคิดออกมั่งครับ ชาวบ้านเค้าเดือดร้อน

แน่จริงทำพื้นที่สำหรับปล่อยเหี้ยสิครับ ถ้ารักมันนัก ผมจะได้เลิกเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลาแล้วไปรับจ้างจับเหี้ยไปส่งในพื้นที่ที่คุณกำหนดให้ อย่าบอกว่ารักแต่ปาก ช่วยมีผลงานด้วยครับ

ผมมานพ เทียนมณี บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์ชี้ชัดเจาะลึก ขอขอบคุณที่แสดงความคิดเห็นมาครับ

แสดงความคิดเห็น