อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน"นิสิต
จันทร์สมวงศ์"นำทีมสื่อลงพื้นที่เยือนชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว ในเส้นทางที่

ทั้งนี้เป็นไปตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการเข้าถึงบริการของรัฐ
เน้นการ
สร้างโอกาส อาชีพและการมีรายได้ที่มั่นคงโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง
โดยการพัฒนาเส้น
ทางการท่องเที่ยว 8 เส้นทาง 31 จังหวัด 125
หมู่บ้าน บนพื้นฐานของอัตลักษณ์และภูมิปัญญาพื้นถิ่น วัฒนธรรมและ
ประเพณีดั้งเดิมของชุมชน
สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชนเพื่อสร้างรายได้สร้างความเข้ม
แข็งให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน

นายนิสิต จันทร์สมวงศ์
อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับมอบหมายจากกระทรวงมหาดไทย
ภายใต้การนำของ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ให้จัดทำโครงการหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว
ตามเขตพัฒนาการท่องเที่ยว 8 เส้นทาง 31 จังหวัด 125 หมู่บ้าน
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง
โดยใช้อัตลักษณ์ของท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าและคุณค่า
ภายใต้การบูรณาการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนนั้นที่ผ่านมาประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง
สามารถส่งเสริมให้ชุมชนเกิดการตื่นตัวและเกิดการรวมพลังในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทรัพยากรของชุมชนให้มีคุณค่า
ช่วยสร้างงานและสร้างรายได้ โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการต่อยอดโครงการฯ
ด้วยการจัดกิจกรรมสื่อมวลชนเยี่ยมชมหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว
(Press Tour) เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ชุมชนเพื่อการเผยแพร่ไปยังสื่อต่างๆดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปยังหมู่บ้านโอทอปเพื่อการท่องเที่ยว
ซึ่งได้นำร่องเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณา ชุด OTOP Village..ไปแล้วจะรัก สื่อแนวคิด “เที่ยว-หา-เรื่อง”
โดยมี “เต๋อ-ฉันทวิชช์ ธนะเสวี” เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์
ไปแล้ว
โดยเส้นทางที่ 6 ระหว่างวันที่ 24-26 ตุลาคม 2561 เป็นเส้นทาง อันดามัน"สตูล ตรัง กระบี่ ภูเก็ต"

ไปยังอ่าวโต๊ะบ๊ะ
เกาะเขาใหญ่ ที่มีจุดชมวิวที่สวยที่สุด
ชมแหล่งฟอสซิลได้ท้องทะเลในยุคออโดวิเชียนเมื่อสี่ร้อยล้านปี
พร้อมกับรับประทานอาหารเที่ยงพื้นถิ่น อิ่มท้องแล้วค่อยล่องเรือคายัคถ้ำลอดพบรัก ,ถ้ำโล๊ะพางของโจรสลัด
ระหว่างทางชมความงามของจันผาพันปี
ชมประติมากรรมธรรมชาติสรรค์สร้างความมหัศจรรย์ของหินคล้ายปราสาทที่มียอดแหลมนับพัน
หนึ่งในนั้นคือ ปราสาทหินพันยอด ที่ต้องพายเรือคายัคลอดผ่านช่องแคบเข้าไป
ชมผาใช้หนี้ หินตาหินยายและสันหลังมังกร
เยี่ยมบ้านบ่อเจ็ดลูก หรือที่ภาษามาลายูเรียกว่า
“ลากาตูโยะ” มีตำนานเล่าว่าบุคคลกลุ่มแรกที่เข้าไปอาศัยอยู่เป็นพวกชาวเลหรือชาวน้ำที่อพยพมาจากเกาะซึ่งอยู่ห่างไกลออกจากฝั่งไปมาก
เมื่ออพยพมาอยู่นั้น พวกเขาได้ขุดบ่อน้ำบ่อแล้วบ่อเล่าก็ไม่มีน้ำจนถึงบ่อที่ 7
ถึงจะมีน้ำออกมา ใช้เป็นน้ำดื่มน้ำใช้ โดยหลักฐานยังมีปรากฏถึงทุกวันนี้
จึงได้ชื่อว่า “บ้านบ่อเจ็ดลูก”
*********************
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น