เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.61 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เดินสายอบรม "หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน" ครอบคลุม 9 เขตพัฒนาการท่องเที่ยว ที่จ.อุบลราชธานี โดยเชิญชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำความเข้าใจร่วมกันเรื่องการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ดร. ชูวิทย์ มิตรชอบ รองผู้อำนวยการอพท. เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน (CBT Thailand) ที่ อพท. ได้จัดทำขึ้น และมอบให้ อพท. นำไปใช้เผยแพร่ ดังนั้นจึงได้กำหนดจัด กิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจการท่องเที่ยวโดยชุมชนตาม "หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อชุมชนเชิงบูรณาการ" (Certificate in CBT Integrated) ในรูปแบบการอบรมให้ความรู้กับชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 ครั้ง แบ่งเป็น 8 เขตพัฒนาการท่องเที่ยว (คลัสเตอร์) และอีก 1 พื้นที่พัฒนาการท่องเที่ยวคุ้งบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ
"เราตั้งเป้าหมายตลอดโครงการว่ามีผู้ผ่านการอบรมรวม 500 คน โดยทุกคนจะได้รับความรู้ และ อพท. ยังได้เผยแพร่แนวทางและเครื่องมือการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ภาคส่วน และ ภาคีเครือข่ายต่างๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้และร่วมติดตามประเมินผลการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวต่างๆ ต่อไปอีกด้วย


โดยมีการรวบรวมองค์ความรู้ กรณีศึกษา แนวทางปฏิบัติ และข้อควรระวังในการทำงานร่วมกับชุมชนในหลากหลายบริบท ครอบคลุมตั้งแต่ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน การประเมินศักยภาพชุมชน ทักษะการเป็นนักพัฒนาเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ความเข้าใจมุมมองทางการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ การออกแบบประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่น่าสนใจซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ตามกิจกรรมการอบรมครั้งนี้ดำเนินการภายใต้แนวคิด "เพราะทำท่องเที่ยว เก่งคนเดียวไม่ได้" อพท. จึงได้เชิญทุกหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ชุมชน สถาบันการศึกษา สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพื้นที่ บริษัทประชารัฐร่วมใจ หอการค้า สมาคมโรงแรม สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัด สภาวัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด เป็นต้น มาเข้าร่วมการอบรม เพื่อให้ทุกหน่วยงานนำความเชี่ยวชาญและความเก่งของตัวเองมาบูรณาการเติมเต็มซึ่งกัน ให้ทุกฝ่ายเกิดความเข้าใจและช่วยขับเคลื่อนการท่องเที่ยวร่วมกัน
สำหรับชุมชนเขมราฐธานี มีความพิเศษคือเป็นการรวมกลุ่มของชุมชนใน 4 ตำบลที่เชื่อมโยงกัน มีการพัฒนาวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ให้เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ มีการใช้ทรัพยากรของท้องถิ่นและแบ่งปันรายได้ร่วมกัน ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจของ อพท. ได้คะเนนการประเมินในระดับที่น่าพอใจ ชุมชนมีความพร้อม มีฐานทรัพยากรที่ดีมาก สิ่งที่ อพท. จะเข้าไปช่วยเสริม คือการให้ความรู้เรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน และความรู้เรื่องการตลาด การประเมินศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
พร้อมกันนี้ อทพ.นำสื่อฯลงพื้นที่ท่องเที่ยวของเขมราฐ โดยไกด์ชุมชนนำล่องเรือชมทัศนียภาพความงามของวิถีชุมชนสองฝั่งโขง แวะหาดทรายสูง ชมหว้าคู่อายุกว่าสองร้อยปี ณ บ้านลาดเจริญ ,ถนนคนเดินชมบ้านเรือนและโรงแรมเก่าข้าวของเครื่องใช้และวิถีชีวิตดั้งเดิม ,ชมการจัดการขยะของชุมชนหนองวิไล ,ชมการทอผ้าพื้นเมืองของกลุ่มสตรีพัฒนาบ้านโพธิ์เมืองและบ้านวงศ์ปัดสา

สำหรับหลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชนเชิงบูรณาการ ( Certificate in CBT Integrated )นั้น ดร.ชูวิทย์ และนางสาววัชรี ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงภารกิจของอพท.โดยดร.ชูวิทย์ บอกว่า สืบเนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน (CBT Thailand) ที่ อพท. ได้จัดทำขึ้น และมอบให้ อพท. เผยแพร่จึงเป็นที่มาของหลักสูตรดังกล่าว โดยอบรมให้ความรู้กับชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 ครั้ง แบ่งเป็น 8 เขตพัฒนาการท่องเที่ยว (คลัสเตอร์) และอีก 1 พื้นที่พัฒนาการท่องเที่ยวคุ้งบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ
ดังนั้นจึงต้องมีกลไกที่เรียกว่าประชารัฐขึ้นมา จะได้มีภาคเอกชน ซึ่งมีพลังในด้านของการทำ CSR เราก็ได้แลกเปลี่ยนแนวความคิดไปว่า น่าจะนำเสนอ บริษัทเอกชน เป็นเทรนด์ของ gift economy เศรษฐกิจของขวัญหรือเศรษฐกิจแห่งการให้ ซึ่งที่ผ่านมาเอกชนรายใหญ่ ๆ เช่น บ้านปู มิตรผล เอสซีจี ปตท. ที่ทำ CSR เดิมๆ เช่นปลูกป่าชายเลน หรือบริจาคสิ่งของจึงน่าจะแบ่งส่วนหนึ่งมาพัฒนาชุมชนผ่านรูปแบบของการท่องเที่ยว
รองผอ.อพท.กล่าวด้วยว่า ทางสภานิติบัญญํติแห่งชาติกำลังทบทวนพระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ซึ่งเป็นกฎหมายร่มอันใหญ่ที่ดูแลกิจการเรื่องของการท่องเที่ยวทั้งหมด มีหมวดหนึ่งว่าด้วยเรื่องของคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ท.ท.ช. ซึ่งที่ผ่านมาขาดตัวละครสำคัญอย่างอพท.ที่จะเข้านั่งเป็นกรรมการที่มีสิทธิมีเสียงเต็มรูปแบบ
"ประชุมทุกครั้งเขาเชิญเราไปเป็นผู้ร่วมสังเกตการณ์ แต่เรากลับมีผลงานโดยเฉพาะด้านชุมชนเข้าไปนำเสนอบ่อยครั้ง ด้วยความที่ตกผลึกผลงานในเรื่องของการท่องเที่ยวโดยชุมชน จนท.ท.ช. ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นประธาน และอพท. เป็นเลขานุการ ผมว่าหากปรับปรุง พรบ.นี้แล้ว น่าจะถึงเวลาที่อพทเราจะ.เข้าไปนั่งเป็นคณะกรรมการด้วย”
เมื่อถามถึงแผนงบประมาณในการดำเนินการ ดร.ชูวิทย์ กล่าวว่า ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองไทยประมาณ 35 ล้านคน สร้างรายได้ประมาณ 2.7 ล้านล้านบาท คิดเป็น 20 % ของ GDP ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน ว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะขึ้นมาเป็นพระเอกในเศรษฐกิจ 3 ขา คือ เกษตร อุตสาหกรรม บริการ ท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของการบริการด้วยซ้ำไป แต่เมื่อถามต่อไปว่า 2.7 ล้านล้านบาท ลงไปถึงฐานรากชุมชนเท่าไหร่ ไม่มีใครตอบได้ นี่คือมิติในเรื่องของ Non Economy
สำหรับการทำงานด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน 6-7 ปีที่ผ่าน อพท.เข้าไปปลดล็อคเรื่องที่ว่านี้ 2.7 ล้านล้านบาท อาจตกไปที่โรงแรม ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่เอกชนบริหารจัดการ แต่ชุมชนจะอยู่ที่เท่าไหร่ อพท.จะพยายามตอบให้

อย่างไรก็ตามแผนดังกล่าวขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณากันอยู่ซึ่งการคิดแผนบูรณาการขึ้นมานี้เป็นเรื่องใหญ่ และต้องผ่านกลไกหลายขั้นตอน เริ่มจากคณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ขึ้นไปหา ท.ท.ช.และเข้าสู่ครม.ไป เป็นหนทางที่จะต้องเดินไปจะเกิดความชัดเจน ซึ่ง รองผอ.อพท.ระบุว่า ในปีงบประมาณ2562 คงทำอะไรไม่ได้แล้ว แต่เข้าใจว่า กลางปี 62 จะมีงบประมาณส่วนหนึ่งเข้ามาทำได้ ถ้าแผนบูรณาการ CBT เกิดขึ้น แต่หวังระยะปี 63 ที่จะเป็นผลได้ ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดี เพราะหลายภาคส่วนสนับสนุนแนวคิดว่าน่าจะมีตะกร้าหนึ่งขึ้นมาสำหรับดำเนินการเรื่องนี้
ดร.ชูวิทย์ กล่าวสำหรับอำเภอเขมราฐว่า เป็นตัวอย่างในการทำงานว่า 5 ด้าน 100 ข้อ ใน 5 จังหวัดจะเสริมการทำงานกันอย่างไร แน่นอนว่าชุมชนใดชุมชนหนึ่งไม่สามารถครองแชมป์ได้ทั้งหมดทั้ง 5 ด้าน อาจจะเป็นแชมด้านหนึ่ง เช่นเรื่องของวัฒนธรรม ชุมชนที่เป็นแชมป์เรื่องใดก็จะไปบอกต่อกับชุมชนอื่นว่า ทำอย่างไรถึงเป็นแชม จะเกิดการแลกเปลี่ยนกัน

สีเหลืองค่อนข้างจะดีแต่มีประเด็นปรับปรุงบางส่วน สีส้มต้องปรับปรุงพอสมควร สีแดงต้องปรับปรุงมากที่สุด เมื่อชุมชนนั้นตกอยู่ในหมวดไหน เขาจะได้ตั้งงบประมาณหรือหาคนมาช่วยเหลือจะได้รู้ว่า ตอนนี้เป็นสีแดงอยู่แต่ต้องการจะเป็นสีส้ม สีเหลืองเป็นลำดับต่อไป เราจึงขอรับการสนับสนุนในประเด็นนี้ เพราะฉะนั้นจะไม่ขอสเปะสะปะ แต่จะมีหลักคิดทางวิชาการเป็นระบบ ของบเฉพาะในสิ่งที่ยังเป็นจุดอ่อน
ด้านนางสาววัชรี กล่าวเสริมว่า อำเภอเขมราฐ มีความเข้มแข็งเป็นที่หนึ่งของจ.อุบล มีความโดดเด่นด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมความเป็นอีสาน มีถนนคนเดินให้นักท่องเที่ยวเข้ามา ชมวิถี และมีหาดทรายสูงที่เขมราฐ ริมน้ำโขง จะเห็นภาพวิวทิวทัศน์ที่งดงาม และถนนคนเดินก็ติดตลาดพอสมควร การได้รับการรับเลือกมาเป็นชุมชนนำร่อง มาจาก 1.การบริหารจัดการ มีการรวมกลุ่มกันให้การบริการด้านการท่องเที่ยวในชุมชน ซึ่งมีเขมราฐ เจียด นาแวง รวมกลุ่มเป็นเครือข่ายในชุมชนท่องเที่ยว 2.ด้านการจัดการทางด้านสังคม เศรษฐกิจ มีการพัฒนาของฝาก ของที่ระลึก การทำรายได้ มีระบบบัญชี รายได้จากการที่นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยียน ด้านสังคมมีส่วนร่วมและมีรายได้อย่างโปร่งใสเป็นธรรม มีกฎกติการ่วมกันในการพัฒนาชุมชนร่วมกัน
3.ด้านอนุรักษ์ วิถีวัฒนธรรมความเป็นอีสาน การแต่งกาย การสืบค้นข้อมูล การถ่ายทอดเรื่องราว 4.ด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนมีการจัดการให้หน้าบ้านหน้ามอง มีการจัดการความสวยงาม การดูแลขยะ 5.การบริการด้านความปลอดภัย ชุมชนเมื่อรวมกลุ่มกัน เขาพูดคุยกันจะบอกเลยว่า เป็นเจ้าบ้านที่ดีนั่นเอง ควรดูแลและการบริการ การเป็นหูเป็นตาให้ความปลอดภัยกับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน
ดร.ชูวิทย์ กล่าวถึงเสียงสะท้อนจากชุมชนว่า การที่จะเข้าไปทำงานในชุมชนที่ต้องพบกับผู้นำทางความคิด หรือผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นนั้น การทำงานของอพท. คือ เราทำงานเป็น Time Serie ให้เขามุ่งหวังในระยะยาว และมั่นใจถึงการกลับมาทำงานร่วมกับเขาอย่างต่อเนื่อง ระหว่างการทำงานประสบกับปัญหาจากความคิดของผู้นำ แน่นอนทุกครั้งจะมีแรงต่อต้านเป็นอัตโนมัติของมนุษย์เป็นธรรมดา แต่จะเป็นในระยะแรก หากเราอาศัยภาคี เพื่อนร่วมทางที่เดินไปด้วยกัน จนก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน

นอกจากนี้ ดร.ชูวิทย์ ยังได้พูดในหัวข้อที่ชุมชนนำเสนอการท่องเที่ยว ซึ่งมี 2 รูปแบบคือ Hard กับ Soft ว่า Hard คือ ชุมชนที่มีแหล่งท่องเที่ยวอยู่แล้ว แต่ยังมองไม่ออกว่าจะทำอย่างไรกับแหล่งท่องเที่ยวนั้น อพท.ก็เข้าไปเสริม ความรู้ให้ เพื่อประโยชน์จากการจัดการแหล่งท่องเที่ยว"ไม่ใช่ให้ทัวร์จีนเข้าไปจัดการ เข้ามายึดแล้ว จ่ายค่าบริการให้กับองค์การบริหารจัดการไปแล้วก็มานั่งเก็บค่าตั๋วดังที่เห็นๆกันอยู่"


ทั้งนี้เป้าหมายสูงสุดของอพท. คือเรื่องความสุข ที่ต้องเกิดขึ้นโดยทั้งชุมชนและนักท่องเที่ยว จะก่อให้เกิดความยั่งยืน
*****************
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น