
โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อ”มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพื่อสุขภาพคนไทย” ตอนหนึ่งว่า เห็นรอยยิ้มของบุคคลกรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีความสบายใจมากขึ้น และขอขอบคุณศรัทธาในสิ่งที่ทุกคนได้ทำงานเพื่อคนไทยมาตลอดว่าการครบรอบ 100 ปีไม่ใช่น้อยๆ ซึ่งประเทศไทยมีความเป็นมาที่ยาวนานกว่านั้น วันนี้ประชาชนคนไทยมีอายุที่ยืนขึ้น มีสุขภาพร่างกายที่ดี ส่วนจิตใจอาจจะดีบ้างไม่ดีบ้างตามสถานการณ์และปัจจัยความขัดแย้งที่มีอยู่ ทั้งนี้ทุกอย่างอยู่ที่ตัวเองและใจ ประเทศชาติประกอบด้วย 2 อย่างคือ คนและพื้นที่ ประเทศใดก็ตามที่มีประชาชนเข้มแข็ง ความรู้ มีการศึกษา มีหลักคิดที่ดีงาม ถูกต้อง ประเทศชาติก็จะเจริญและยิ่งถ้ามีจิตใจที่ดีและศรัทธาเพื่อคนอื่นก็จะยิ่งดียิ่งขึ้น
นายกฯ กล่าวว่า ตนได้มีโอกาสพบกับผู้นำหลายประเทศ และบางประเทศมีประชาชนแค่ 5 ล้านคน เขามีความเจริญก้าวหน้า เพราะมีความเจริญด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ แต่ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม รายได้อาจน้อยกว่าเราจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาในทุกด้าน เราจึงจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ถือเป็นวิสัยทัศน์ของรัฐบาล คาดการณ์อนาคตว่าอีก 20 ปี คนไทยจะต้องได้รับการดูแลอย่างไร
โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคง ความมีเสถียรภาพ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีความมั่งคั่งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความยั่งยืน โดยต้องมีภูมิคุ้มกัน มีความรู้คู่คุณธรรม ทุกคนจึงต้องมีมุ่งหวังในการพัฒนา เพื่อสังคมและส่วนรวม รวมทั้งการพัฒนาตนเองซึ่งจะทำให้ด้านใดด้านหนึ่งและทำให้เกิดผลเสียอีกด้านหนึ่งไม่ได้ ยอมรับว่าปัจจุบันหลายอย่างยังมีปัญหา โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของเรา ไปสู่วิสัยทัศน์ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในทุกๆอาชีพ ซึ่งหลายคนเข้าใจว่ายังมีปัญหามากพอสมควร เพราะเราอยู่ในโลกโลกาภิวัตน์ ตลอด 100 ปีที่ผ่านมาการสาธารณสุขไทยมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง แต่เราต้องไปให้ถึงจุดสูงสุดมากกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัคซีน ตัวยาใหม่ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่งทุกอย่างจะพัวพันกับงบประมาณ การแก้ไขปัญหามักจะเกิดผลกระทบ ซึ่งเราพยายามให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด วันนี้ประเทศไทยได้รับการยอมรับเรื่องการดูแลสุขภาพ การดูแลคุณภาพชีวิตประชาชน และการให้บริการกับนานาชาติ ปัจจุบันมีชาวต่างชาติจำนวนมากที่เข้ามาใช้บริการในประเทศไทย แต่ชาวไทยส่วนหนึ่งอาจไม่เข้าใจอาจจะเพราะพบแพทย์ยาก นัดหมายไม่ได้ จนเกิดข้อ
วิจารณ์ว่าเราไปรับคนต่างประเทศมากเกินไป ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดขอให้ทำความเข้าใจด้วย ทั้งนี้รัฐก็ส่งเสริมการแพทย์ปัจจุบันและการแพทย์แผนไทยมาโดยตลอด ทำให้ติดตลาดให้ได้รับการยอมรับทั้งในไทยและต่างประเทศ
นายกฯ กล่าวว่า ที่รัฐบาลทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพราะต้องการมองอนาคตในระยะยาว โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เราต้องเอาทั้งหมดมาเชื่อมโยง การสาธารณสุขเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศเดินต่อไปได้ ทุกคนต้องแข็งแรง ไม่ใช่แค่ไทย ขอให้ทุกคนทำเพื่อไทยและโลก เราต้องมองเป้าหมายที่ใหญ่กว่า เพื่อที่จะได้มีกำลังใจสู้กับปัญหา โดยมียุทธศาสตร์ตามแนวคิดที่ว่า ต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามระบบสุขภาพแนวคิดที่ว่า คนดี มีคุณค่า มีความสุข
"การเป็นคนดีจะต้องดีทั้งร่างกายและจิตใจ เกียรติยศศักดิ์ศรีไม่ใช่ตัวเราเองเป็นผู้กำหนด ไม่ใช่เป็นนายกฯแล้วจะหมายความว่าเป็นคนดี มีเกียรติยศ การที่จะมีเกียรติยศได้คือการที่คนข้างล่างเท่านั้นจะให้มา ถ้าเขาไม่ให้ผมก็มีไม่ได้ หรือถ้าประชาชนไม่ยอมรับ ผมก็อยู่ไม่ได้ เป็นเรื่องธรรมดา เกียรติยศเป็นเรื่องที่คนอื่นมอบให้กับเรา ดังนั้นเราต้องทำตัวให้มีคุณค่า มีความสุขในสิ่งที่ทำวันนี้ไม่ว่าจะทุกข์หรือสุขกับเรา เราก็ต้องมีความสุขกับความสุขของคนอื่น ถือเป็นหน้าที่ของเราทุกคน เราจึงจำเป็นต้องเร่งรัดพัฒนาใน 3 ยุทธศาสตร์ คือ การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความมั่นคง พัฒนาเด็กและผู้สูงอายุ" นายกฯ กล่าว

สำหรับกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมแสดงผลงานวิชาการ ในวาระครบรอบ 100 ปี การสาธารณสุขไทย (พ.ศ.2461-2561) ณ. บู๊ทนิทรรศการกรมการแพทย์ อาคารชาเลนเจอร์ 1 อิมแพค โดยอธิบดีกรมการแพทย์ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ และคณะให้การตอนรับ
ในการนี้กรมการแพทย์ ได้จัดแสดงงานวิชาการและแสดงผลงานกรมการแพทย์ วาระครบรอบ100 ปี การ

ทั้งนี้กรมการแพทย์ ยังจัดรักษ์โลก พกถุงผ้า ใส่ยากลับบ้าน มีการให้บริการจากโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ 17 โรงพยาบาล และ1 กทม. โดยจัดทีมแพทย์และพยาบาลเฉพาะทาง เพื่อรับการบริการและตรวจเช็คสุขภาพให้แก่ประชาชน เช่น 1.การรับบริการตรวจมวลกาย แบบยืน พร้อมปริ้นผล 2. บริการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการ 3. เจาะเบาหวานปลายนิ้ว 4. ตรวจเท้าด้วย โมโนฟิลาเมนต์ 5. คัดกรองไวรัสตับอักเสบ C เบื้องต้น 6. ห้อง Lab พบประชาชน (ตรวจปัสสาวะ+ส่องกล้องจุลทรรศน์) 7. ตรวจวัดความดัน
นอกจากนี้ยังจัดตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกาย (Body composition) ประกอบด้วย การวัด % ไขมันใต้ผิวหนัง,การวัดระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย,การวัด % น้ำ ในร่างกาย, การวัดไขมันที่สะสมที่ช่องท้อง, การวัดมวลกระดูก,การวัดมวลกล้ามเนื้อ,การวัดระดับความสมดุลของร่างกายและตรวจวัดสมรรถภาพปอด เป็นต้น
*****************
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น