pearleus

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

มท.เสนอร่าง พรฎ.กำหนดท้องที่เขตสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ เพื่อควบคุมการกักตุนสินค้า





     เมื่อวันที่ 31 มี.ค.63  พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร มีผลตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคมถึง 30 เมษายน 2563 ซึ่งในปัจจุบันพบว่าเริ่มมีการกักตุนสินค้าที่จำเป็นต่อการเฝ้าระวังและควบคุมติดตามการระบาด การป้องกัน และการรักษาโรค ตลอดจนการกักตุนเครื่องอุปโภคบริโภค และสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่ทุกจังหวัด จึงมีความจำเป็นต้องบังคับใช้พระราชบัญญัติสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2497 อย่างเข้มงวด

     พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดภาวะขาดแคลนอันจะเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน และเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยและการดำรงชีวิตของประชาชน ในวันนี้กระทรวงมหาดไทยได้นำเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดท้องที่เขตสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ตามพระราชบัญญัติสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2497
พ.ศ.... ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ การกำหนดให้เขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรเป็นท้องที่เขตสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ตามพระราชบัญญัติสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2497 นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงได้ขอมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ฯ ขึ้นใหม่ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมสรรพากร อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นกรรมการ และอธิบดีกรมการปกครอง เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมอบหมายให้สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ฯ ดังกล่าว

     พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อป้องกัน ปราบปรามการกักตุนสินค้าที่จำเป็นต่อการเฝ้าระวังและควบคุมติดตามการระบาด การป้องกัน และการรักษาโรค ตลอดจน การกักตุนเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ



วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

ส.ส.จอมขวัญควัก 60,000 บาท ช่วยค่าใช้จ่ายตั้งด่านสกัดโควิด 3 อำเภอในจ.สมุทรสาคร


เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 63 นางสาว จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ ส.ส.สมุทรสาคร เขต3 พรรคพลังประชารัฐ  มอบเงินให้กับนายวุฒิพงษ์ สุภัควนิช นายอำเภอเมืองสมุทรสาคร , นายบรรพต จันทรวงษ์ นายอำเภอกระทุ่มแบน  และร้อยตรี ประพันธ์ ถึกสกุล นายอำเภอบ้านแพ้ว อำเภอละ 20,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตั้งด่านตรวจเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19

ทั้งนี้พื้นที่อำเภอเมืองฯ มีด่าน 2 จุด คือ
1.บริเวณถนนพระรามที่ 2 ณ.จุดบริการตำรวจทางหลวงเอกชัย (มหาชัยเมืองใหม่) อ.เมืองสมุทรสาคร ฝั่งขาออก
2.บริเวณด่านตำรวจทางหลวงนาโคก ถนนพระรามที่ 2 (ฝั่งขาเข้า) โดยนายอำเภอเมืองสมุทรสาคร ร่วมบูรณาการกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขนส่ง กำนัน ผญ. ผช. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการตั้งด่าน หรือจุดสกัดในพื้นที่ เป็นด่าน 24 ชั่วโมง ต้องมีการผลัดเปลี่ยนเจ้าหน้าที่มาอยู่ประจำการ โดยจะมีการตรวจรถที่สุ่มเสี่ยง เช่น รถที่มีการเคลื่อนย้ายคนจำนวนมาก รถโดยสารสาธารณะ มีการตรวจวัดไข้ สอบถามข้อมูลบางอย่างที่จำเป็นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19

ส่วน กระทุ่มแบน ตั้งบริเวณด่านชั่งศรีสำราญ ถนนเพชรเกษม (อ้อมน้อย) และอ.บ้านแพ้ว ที่บริเวณหน้า รพ.บ้านแพ้ว






ส.ส. จอมขวัญ มอบเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ ให้กับอ.บ้านแพ้ว



เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 63 นางสาว จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ ส.ส.สมุทรสาคร เขต3 พรรคพลังประชารัฐ ได้ส่งมอบเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ จำนวน 30 เครื่อง ให้กับร้อยตรี ประพันธ์ ถึกสกุล นายอำเภอบ้านแพ้ว พร้อมด้วยนายฐิติวัชร์ วารีรัตน์ภากร สาธารณสุขอำเภอบ้านแพ้ว ผู้แทนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทั้ง 19 แห่ง ที่ห้องปฏิบัติราชการนายอำเภอบ้านแพ้ว เพื่อให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) นำไปใช้ในการตรวจคัดกรองประชาชนในแต่ละพื้นที่ ตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19)

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2563

สมุทรสาคร จัดพิธีถวายราชสักการะ ร. 5 เนื่องในงานประเพณี 18 มีนา สุขาภิบาลท่าฉลอม (วันท้องถิ่นไทย)

สมุทรสาคร  จัดพิธีถวายราชสักการะ ร. 5 เนื่องในงานประเพณี 18 มีนา สุขาภิบาลท่าฉลอม (วันท้องถิ่นไทย)

เทศบาลนครสมุทรสาคร เปิดโครงการเทศกาลนครแห่งอาหารทะเล

เทศบาลนครสมุทรสาคร เปิดโครงการเทศกาลนครแห่งอาหารทะเล

ประมงจังหวัดสกลนครจัด กิจกรรมขยะคืนฝั่งทะเลสวยด้วยมือเรา

ประมงจังหวัดสกลนครจัด กิจกรรมขยะคืนฝั่งทะเลสวยด้วยมือเรา

สมุทรสาครเปิดอบรม"ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

สมุทรสาครเปิดอบรม"ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

อบจ.สค. ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร สมัยสามัญ สมัยแรก ครั้งที่ 1 ประจำปี 2563

อบจ.สค. ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร สมัยสามัญ สมัยแรก ครั้งที่ 1 ประจำปี 2563

นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานเปิดงานเกษตรและของดีอำเภอบ้านแพ้ว ประจำปี 2563

นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานเปิดงานเกษตรและของดีอำเภอบ้านแพ้ว ประจำปี 2563

หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีเปิดโครงการจัดทำแฟ้มนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์

หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีเปิดโครงการจัดทำแฟ้มนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์ ณ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีนายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ให้การต้อนรับ

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2563

อ. กระทุ่มแบน จัดประชุมคกก.โรคติดต่อ เตรียมเฝ้าระวังไวรัสโควิด 19


เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563 เวลา 09.30 น. นายบรรพต จันทรวงษ์ นายอำเภอกระทุ่มแบน พร้อมด้วย ผอ.รพ.สมุทรสาคร ผอ.รพ.กระทุ่มแบน สสอ.กระทุ่มแบน หัวหน้าส่วนราชการ และ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ อำเภอกระทุ่มแบน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและซักซ้อมแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (covid-19) ณ ห้องประชุมศาลาประชาคม ชั้น 3 อำเภอกระทุ่มแบน




วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563

บช.น. จัดกิจกรรม "จิตอาสา เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ" ตั้งแต่แยกปทุมวันถึงแยกราชประสงค์



 
เ มื่อเวันพฤหัสบดีที่ 19 มี.ค.63 เวลา 01.00 น. พล.อ.ศิวะ ภระมรทัต ราชองครักษ์ในพระองค์ 904 ปฏิบัติหน้าที่ ผบ.ศอญ. , พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช.น. , พล.ต.ต.จิรพัฒน์   ภูมิจิตร รอง ผบช.น. ,   ร่วมพิธีเปิดโครงการ " จิตอาสา เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ ทำความสะอาดฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อชะล้างสิ่งปนเปื้อนบนถนน ทางเดินเท้า ป้ายรถประจำทาง ราวสะพานลอยบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้า ถนนย่านการค้า เเละเเหล่งท่องเที่ยว" เพื่อป้องกันการเเพร่ระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 (Covid-19) ณ บริเวณหอศิลปวัฒนธรรมเเห่ง กรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โดยมีกำลังตำรวจและจิตอาสา สน.ปทุมวัน 40 นาย เจ้าหน้าที่ทหาร 50 นาย , เจ้าหน้าที่เทศเขตปทุมวัน 10 นาย และจิตอาสาภาคประชาชน ร่วมกิจกรรมตั้งแต่แยกปทุมวันถึงแยกราชประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยวที่ใช้บริเวณดังกล่าวในการสัญจรไปมา




















ศาลากลางจ.สมุทรสาคร ตั้งจุดคัดกรองอย่างเข้มงวด













จังหวัดสมุทรสาครมีการตั้งจุดคัดกรองก่อนเข้าศาลาอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ทุกคนต้องใส่เมสตลอดถ้าอยู่ภายในศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563

สมุทรสาคร จัดพิธีถวายราชสักการะ ร. 5 เนื่องในงานประเพณี 18 มีนา สุขาภิบาลท่าฉลอม (วันท้องถิ่นไทย)



 



 สมุทรสาคร  จัดพิธีถวายราชสักการะ ร. 5
เนื่องในงานประเพณี 18 มีนา สุขาภิบาลท่าฉลอม (วันท้องถิ่นไทย)   
เมื่อเวลา 09.40 น. วันที่ 18 มี.ค.2563 ที่ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 วัดสุทธิวาตวราราม (วัดช่องลม) ต.ท่าฉลอม อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร  มี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย  เป็นประธานในพิธีถวายราชสักการะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องในโอกาส วันท้องถิ่นไทยประจำปี 2563  โดยมีผู้เข้าร่วม อาทิ    นายประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร  นายมณฑล ไกรวัตนุสรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร และนายชิงชัย    บุญประคอง ปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีนครสมุทรสาคร เข้าร่วมพิธี
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ขึ้น อันเป็นต้นแบบของการดำเนินงานสุขาภิบาล ครั้นเมื่อ ร.ศ. 123 พระองค์ได้เสด็จประพาสต้นผ่านมา ณ ตำบลท่าฉลอมครั้งหนึ่ง และตำบลมหาชัยอีกครั้งหนึ่ง ทรงเล็งเห็นถึงความพร้อมของตำบลท่าฉลอม ซึ่งถือเป็นชุมชนที่มีความเจริญมากกว่าชุมชนอื่น ๆ ตามที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนอ จึงทรงตัดสินพระทัย ประกาศจัดตั้ง สุขาภิบาลตำบลท่าฉลอม ขึ้น เป็นสุขาภิบาลหัวเมืองนอกมณฑลกรุงเทพฯ แห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2448 (ร.ศ. 124)  
สำหรับความเป็นมาของ วันท้องถิ่นไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2553 เห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอกําหนดให้เป็นวันที่ 18 มีนาคมของทุกปี เพื่อรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงมีพระบรมราชโองการยกฐานะตําบลท่าฉลอมขึ้นเป็นสุขาภิบาลท่าฉลอม นับเป็นจุดเริ่มต้นของการกระจายอํานาจการปกครองให้แก่ประชาชน และเป็นการถือกําเนิดขึ้นของการปกครองส่วนท้องถิ่นครั้งแรกในประเทศไทย โดยกิจกรรมเนื่องในวันท้องถิ่นไทย ประกอบด้วย พิธีทำบุญถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ และทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร   บริเวณสี่แยกตลาดสุขาภิบาล ถ.ถวาย ต.ท่าฉลอม  



นครปฐม จัดกิจกรรมฝึกอบรมการเย็บหน้ากากอนามัยให้แก่วิทยากรต้นแบบ



วันที่ 17 มีนาคม 2563 ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 16 นครปฐม นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมการเย็บหน้ากากอนามัย ให้แก่วิทยากรต้นแบบ หรือ ครู ก โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 16 นครปฐม จัดขึ้น เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะการเย็บหน้ากากอนามัยที่สามารถใช้ป้องกันโรคติดต่ออันตรายและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ให้แก่วิทยากรตันแบบ หรือ ครู ก นำไปขยายผลถ่ายทอดวิธีการเย็บหน้ากากอนามัยให้กับประชาชนในแต่ละตำบล/หมู่บ้าน ให้สามารถทำหน้ากากอนามัยใช้เองในครัวเรือน เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตราย และฝุ่นละออง PM 2.5 ตลอดจนเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนได้อีกด้วย
สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม ทั้ง 7 อำเภอ ๆ ละ 6 คน เข้าร่วมการฝึกอบรม ประกอบด้วย การสร้างแบบตัดเย็บ เทคนิคการเย็บด้วยมือ และเทคนิคการเย็บด้วยจักรเย็บผ้า โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น ๆ ละ 21 คน ระยะเวลาฝึก 18 ชั่วโมง ซึ่งจะทำการฝึกอบรมไปจนถึงวันที่ 19 มีนาคม 2563







มท.1 ประชุมสั่งการผู้ว่าฯ ใช้อำนาจตาม กม. ดำเนินมาตรการป้องกันและสกัดกั้นการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 อย่างเข้มงวด



 
     วันที่ 17 มี.ค.63  เวลา 17:00 น. ที่ห้องประชุมราชสีห์ ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมมาตรการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อโควิด-19 ผ่านระบบวิดีทัศน์ทางไกล (VCS) โดยมี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมการประชุม โดยเป็นการประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย นายอำเภอ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ผ่านระบบ Video Conference
     พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดมีอำนาจเต็มในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในพื้นที่ โดยให้พิจารณาหารือผ่านคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัด ซึ่งมีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับในระดับจังหวัด ประกอบด้วย 2 มาตรการ คือ 1. "มาตรการป้องกัน" ได้แก่ 1) การแยกกักผู้ที่เข้าเกณฑ์ PUI ตั้งแต่ต้นทางเพื่อนำส่งโรงพยาพยาบาล 2) การกักกัน (Quarantine) ผู้เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง 4 ประเทศ เป็นเวลา 14 วัน 3) การคุมไว้สังเกตอาการสำหรับผู้เดินทางมาจากประเทศซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง เป็นเวลา 14 วัน และ 4) การเฝ้าระวังด้วยการ X-ray พื้นที่อย่างต่อเนื่อง 
     2. “มาตรการลดโอกาสการแพร่ระบาด สร้างระยะห่างในสังคม (Social Distancing)” เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ได้แก่ 1) การปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด ที่มีคนแออัดเบียดเสียด ตามมติคณะรัฐมนตรี และ 2) การป้องกันพื้นที่ที่ประชาชนใช้บริการจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อ เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาด สถานที่ราชการ และร้านอาหาร เป็นต้น ต้องมีการควบคุม คัดกรองและทำความสะอาดตามมาตรฐานสาธารณสุข
     นายนิพนธ์ บุญญามณี เน้นย้ำว่า ขอให้จังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านดำเนินการเฝ้าระวัง คัดกรองประชาชน และกักกัน (Quarantine) ตามขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด และ Survilance (ตรวจตรา) ให้เต็มที่
     นายทรงศักดิ์ ทองศรี เน้นย้ำว่า ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้ดุลยพินิจในการใช้อำนาจตามกฎหมาย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง
     พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหารือร่วมกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดดำเนินมาตรการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัด และใช้อำนาจในการตัดสินใจเพื่อป้องกัน สกัดกั้น ควบคุม และเฝ้าระวังสาเหตุอาจทำให้เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด








วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563

สส.จอมขวัญรายงานประชาชน …มาตราดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยงติดไวรัส โควิด 19



นางสาว จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ ส.ส.สมุทรสาคร เขต3 พรรคพลังประชารัฐ  ระบุการ ขั้นตอนตรวจโรคโควิด-19 ฟรี สำหรับประชาชนที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ อาการทางเดินหายใจแม้แค่เล็กน้อย แต่มีประวัติไปในสถานที่แออัด เช่นสนามมวย สนามกีฬา สถานบันเทิง เป็นการขยายการคัดกรองให้ครอบคลุมประชาชนมากยิ่งขึ้น ตรวจฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายที่ รพ.ทุกแห่ง
จากหลักเกณฑ์เดิม.. คนที่มาจากประเทศที่มีความเสี่ยง คนที่ทำงานสัมผัสกับคนต่างชาติ หากมีอาการไข้ ไอเจ็บคอ ทางเดินหายใจ สามารถเข้ามาตรวจได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากตรวจไม่พบเชื้อต้องเสียค่าใช้จ่ายเองนั้น
ในวันที่ 17 มีค.2563 นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แจ้งว่าการตรวจยืนยันโรคโควิด-19 ได้ขยายเพิ่มเติมในกลุ่มประชาชนที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ อาการทางเดินหายใจ แม้แค่เล็กน้อย แต่มีประวัติไปสถานที่แออัด เช่น สนามมวย สนามกีฬา สถานบันเทิง ผับ สามารถมาขอรับการตรวจยืนยันได้ฟรี

เทศบาลต.แคราย เปิดอบรมจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น











เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 ณ อาคารเอนกประสงค์ เทศบาลตำบลแคราย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร  นายธีรพัฒน์ คัชมาตย์ รองผู้ว่าราชการจ.สมุทรสาคร เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมชุดปฎิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รุ่นที่ 2 (เทศบาลตำบลแคราย เทศบาลตำบลดอนไก่ดี และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 – 20 มีนาคม 2563  มีจ่าเอกดิเรก เรียงทอง ปลัดเทศบาลต.แครายปฎิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีต.แคราย เป็นผู้กล่าวรายงาน  โดยมีจิตอาสาภัยพิบัติเข้ารับการอบรม จำนวน 155 คน
            ทั้งนี้วัตถุประสงค์การอบรมครั้งนี้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลตำบล  เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการจัดการสาธารณภัยเบื้องต้น  พัฒนาระบบการปฎิบัติงานกู้ภัยในภาวะฉุกเฉินให้เป็นระบบ รวดเร็ว  และเพื่อสนับสนุนให้โครงการจิตอาสาพระราชทาน ในระดับพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและมีทักษะ ความรู้ ความชำนาญในการจัดการภัยพิบัติ